กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่านั่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวแบบมีส่วนร่วม ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่านั่ง

ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่านั่ง

ภายในตำบลท่านั่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยได้รับการพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น วิถีการดำรงชีวิตของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ขณะที่มีความเจริญเพิ่มขึ้นแต่กลับมีปัญหาทางสังคมตามมาเช่น ผู้สูงอายุขาดคนดูแลหรือถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ผู้สูงอายุแม้จะเป็นวัยที่หลายคนนิยามว่าเป็น “ไม้ใกล้ฝั่ง”แต่ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่งเนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก ได้เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความ มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญ ในการยกย่องให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิต สุขภาพกายเป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขจากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ระบุว่าโครงสร้างอายุของประชากรไทยได้เปลี่ยนไปอย่างมากในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาจากประชากรเยาว์วัยมาเป็นประชากรสูงวัย ซึ่งสถานการณ์ผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2564 จนถึงปี พ.ศ.2566 ในจังหวัดพิจิตร พบว่าจากประชากรในจังหวัดพิจิตรทั้งหมดในปีพ.ศ.2564 มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 24.24 ต่อมาในปีพ.ศ. 2565มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 24.49 และในปีล่าสุดพ.ศ. 2566 มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 26.29 (Health Data Center : HDC) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องจากปี2564อาจสามารถบอกได้ว่าในจังหวัดพิจิตร กำลังกลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์”เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งอัตราการพึ่งพิง ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ พบว่า ประชากรวัยทำงาน ๑๐๐ คน จะต้องรับภาระประชากรสูงอายุและวัยเด็ก ๕๑ คน และคาดว่าเพิ่มเป็น ๖๔ คน ในปี พ.ศ. ๒๕๗๐ จากรายงานการประเมินและคัดกรองสุขภาพจำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ โดยกระทรวงสาธารณสุข ผ่านระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 พบว่า เป็นกลุ่มติดสังคม ร้อยละ 92.77 ติดบ้าน ร้อยละ 2.41 และติดเตียง ร้อยละ 4.82 ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุที่พบ มักเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด , โรคเบาหวาน , โรคความดันโลหิตสูง , ภาวะสมองเสื่อม และภาวะหก (กรมควบคุมโรค, เมษายน 2562) และจากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ 9 ด้าน พบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิมซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต นอกจากนี้สภาพครอบครัวไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต จากที่มีคนหลายรุ่นอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่กันตามลำพังขาดผู้ดูแล และอาจเกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย สถานการณ์ของผู้สูงอายุไทย จึงน่าวิตก การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงควรดำเนินการควบคู่กับมาตรการอื่น ๆของรัฐเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ สมาชิกในครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่นที่มีภารกิจโดยตรงในการดูแลผู้สูงอายุรวมทั้งส่งเสริมสนับสนุน และแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีพื้นที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้การถ่ายทอดภูมิปัญญาหรือการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นการยกระดับการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อให้ผู้สูงอายุมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของตนเอง และชุมชนประจักษ์ในศักยภาพ และพลังของผู้สูงอายุส่งผลให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีและมีความสุขเพื่อให้การดำเนินการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรมและเกิดการร่วมใจกัน ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่านั่งจึงได้จัดทำ“โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวแบบมีส่วนร่วม ปี2567” จัดให้มีการประชุมสมาชิกผู้สูงอายุ เพื่อกำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ โดยศึกษาถึงสภาพปัญหาและความต้องการ มีการรับสมัครเข้าเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีการอบรมบรรยายในด้านการดำรงชีวิตโดยวิถีพุทธและส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร ส่งเสริมการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยแนะนำให้ผู

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ (กลุ่มติดสังคมและบ้าน)
เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองADL, ข้อเข่าเสื่อม, ภาวะซึมเศร้า, ภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง,สุขภาพช่องปาก,ภาวะสมองเสื่อม,คัดกรองตา,ภาวะหกล้ม,ภาวะกลั้นปัสสาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองADL, ข้อเข่าเสื่อม, ภาวะซึมเศร้า, ภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง,สุขภาพช่องปาก,ภาวะสมองเสื่อม,คัดกรองตา,ภาวะหกล้ม,ภาวะกลั้นปัสสาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำฐานข้อมูลตรวจคัดกรองในผู้สูงอายุ แยกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มติดสังคม ติดบ้าน และติดเตียง

ชื่อกิจกรรม
จัดทำฐานข้อมูลตรวจคัดกรองในผู้สูงอายุ แยกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มติดสังคม ติดบ้าน และติดเตียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความรู้ พัฒนาสุขภาพจิต อารมณ์ สังคม อย่างต่อเนื่อง จำนวน 5 ครั้งๆละ 50 คน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความรู้ พัฒนาสุขภาพจิต อารมณ์ สังคม อย่างต่อเนื่อง จำนวน 5 ครั้งๆละ 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม  50  คน คนละ 500.00  เป็นเงิน 25,000.00 
    2  ค่าสัมนาคุณวิทยากร  3  ครั้ง ครั้งละ 2 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600.00
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการดูแลสุขภาพกายและใจ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการดูแลสุขภาพกายและใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุตำบลท่านั่งมีสมรรถนะกายใจที่ดียืดระยะเวลาการเจ็บป่วย
ผู้สูงอายุมีทักษะการดูแลสุขภาพร่างกายและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี
ทุกภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ


>