กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวแบบมีส่วนร่วม ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 28,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนงคลาญ ท้องน้อย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 ม.ค. 2567 26 ม.ค. 2567 28,600.00
รวมงบประมาณ 28,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้รับการพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น วิถีการดำรงชีวิตของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ขณะที่มีความเจริญเพิ่มขึ้นแต่กลับมีปัญหาทางสังคมตามมาเช่น ผู้สูงอายุขาดคนดูแลหรือถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ผู้สูงอายุแม้จะเป็นวัยที่หลายคนนิยามว่าเป็น “ไม้ใกล้ฝั่ง”แต่ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่งเนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก ได้เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความ มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญ ในการยกย่องให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิต สุขภาพกายเป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขจากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ระบุว่าโครงสร้างอายุของประชากรไทยได้เปลี่ยนไปอย่างมากในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาจากประชากรเยาว์วัยมาเป็นประชากรสูงวัย ซึ่งสถานการณ์ผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2564 จนถึงปี พ.ศ.2566 ในจังหวัดพิจิตร พบว่าจากประชากรในจังหวัดพิจิตรทั้งหมดในปีพ.ศ.2564 มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 24.24 ต่อมาในปีพ.ศ. 2565มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 24.49 และในปีล่าสุดพ.ศ. 2566 มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 26.29 (Health Data Center : HDC) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องจากปี2564อาจสามารถบอกได้ว่าในจังหวัดพิจิตร กำลังกลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์”เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งอัตราการพึ่งพิง ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ พบว่า ประชากรวัยทำงาน ๑๐๐ คน จะต้องรับภาระประชากรสูงอายุและวัยเด็ก ๕๑ คน และคาดว่าเพิ่มเป็น ๖๔ คน ในปี พ.ศ. ๒๕๗๐ จากรายงานการประเมินและคัดกรองสุขภาพจำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ โดยกระทรวงสาธารณสุข ผ่านระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 พบว่า เป็นกลุ่มติดสังคม ร้อยละ 92.77 ติดบ้าน ร้อยละ 2.41 และติดเตียง ร้อยละ 4.82 ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุที่พบ มักเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด , โรคเบาหวาน , โรคความดันโลหิตสูง , ภาวะสมองเสื่อม และภาวะหก (กรมควบคุมโรค, เมษายน 2562) และจากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ 9 ด้าน พบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิมซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต นอกจากนี้สภาพครอบครัวไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต จากที่มีคนหลายรุ่นอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่กันตามลำพังขาดผู้ดูแล และอาจเกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย สถานการณ์ของผู้สูงอายุไทย จึงน่าวิตก การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงควรดำเนินการควบคู่กับมาตรการอื่น ๆของรัฐเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ สมาชิกในครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่นที่มีภารกิจโดยตรงในการดูแลผู้สูงอายุรวมทั้งส่งเสริมสนับสนุน และแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีพื้นที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้การถ่ายทอดภูมิปัญญาหรือการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นการยกระดับการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อให้ผู้สูงอายุมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของตนเอง และชุมชนประจักษ์ในศักยภาพ และพลังของผู้สูงอายุส่งผลให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีและมีความสุขเพื่อให้การดำเนินการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรมและเกิดการร่วมใจกัน ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่านั่งจึงได้จัดทำ“โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวแบบมีส่วนร่วม ปี2567” จัดให้มีการประชุมสมาชิกผู้สูงอายุ เพื่อกำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ โดยศึกษาถึงสภาพปัญหาและความต้องการ มีการรับสมัครเข้าเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีการอบรมบรรยายในด้านการดำรงชีวิตโดยวิถีพุทธและส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร ส่งเสริมการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยแนะนำให้ผู

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,600.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมคัดกรองADL, ข้อเข่าเสื่อม, ภาวะซึมเศร้า, ภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง,สุขภาพช่องปาก,ภาวะสมองเสื่อม,คัดกรองตา,ภาวะหกล้ม,ภาวะกลั้นปัสสาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 31 มี.ค. 67 จัดทำฐานข้อมูลตรวจคัดกรองในผู้สูงอายุ แยกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มติดสังคม ติดบ้าน และติดเตียง 0 0.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 ส.ค. 67 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความรู้ พัฒนาสุขภาพจิต อารมณ์ สังคม อย่างต่อเนื่อง จำนวน 5 ครั้งๆละ 50 คน 0 28,600.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมการดูแลสุขภาพกายและใจ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้สูงอายุตำบลท่านั่งมีสมรรถนะกายใจที่ดียืดระยะเวลาการเจ็บป่วย ผู้สูงอายุมีทักษะการดูแลสุขภาพร่างกายและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี ทุกภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2567 00:00 น.