2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease, CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก รวมถึงประเทศ ไทย ภาวะไตเรื้อรังมักมีการดำเนินโรคไปสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End-Stage Renal Disease, ESRD) ที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตหรือการปลูกถ่ายไต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ทำให้สูญเสียสุขภาวะ เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ประกอบกับสถานการณ์ปัญหาของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในประเทศไทยในปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อประเทศไทยในอนาคต เพราะต้องแบกรับ ค่าใช้จ่ายในการรักษาซึ่งมีราคาสูงโดยเฉพาะในระยะที่เข้าสู่การบำบัดทดแทนไต การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตเรื้อรังและชะลอความเสื่อยมของไต จึงเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะการค้นหา คัดกรอง เพื่อการเฝ้า ระวังรวมถึงการติดตามดูแลให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทาน อาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาอย่างเหมาะสม ตั้งแต่การดูแลตนเองที่บ้านจนถึงเกิดการกระตุ้นให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพในการดูแลตนเองและดูแลผู้อื่น จนทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีจำนวนลดลงได้ในอนาคต ซึ่งเริ่มจากการดูแลคนในชุมชน ดังนั้น เพื่อให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพในกลุ่มประชาชนที่มีความ เสี่ยง และเกิดการชะลอการเสื่อมของไตในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแรต จึงจัดทำโครงการลดโรคNCDs. ชะลอไตเสื่อม เพื่อลดผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรายใหม่ ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น
จากการเก็บข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแรต พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในเขตรับผิดชอบ จำแนกตาม Stage (Coverage) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564- 2567 จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มจะเกิดกลุ่มป่วยโรคไตวายเรื้อรังเพิ่มขึ้นในอนาคต Stage (Coverage)
ปีงบประมาณ2564Stage 4 คิดเป็นร้อยละ 6.90 Stage 5 คิดเป็นร้อยละ6.90
ปีงบประมาณ2565 Stage 4 คิดเป็นร้อยละ 5.56 Stage 5 คิดเป็นร้อยละ5.56
ปีงบประมาณ2566 Stage 4 คิดเป็นร้อยละ 17.39Stage 5 คิดเป็นร้อยละ 4.35
ปีงบประมาณ2567Stage 4 คิดเป็นร้อยละ 33.33Stage 5 คิดเป็นร้อยละ0.00
จากการคัดกรอง/ค้นหาเสี่ยงป่วยโรคไตเรื้อรังรายใหม่ (Coverage) ของผู้ป่วย DM และ HT ร้อยละที่ได้รับการค้นหาและคัดกรองโรคไตเรื้อรังตำบลหนองแรต (KPI:80) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564- 2566 พบว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองน้อยลง ส่งผลให้ไม่มีการเฝ้าระวังในการดูแลตนเอง และเมื่อมีการคัดกรองซ้ำในปีถัดไปทำให้พบผู้ป่วยไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นได้ (https://ptn.hdc.moph.go.th/)
ปีงบประมาณ2564เป้าหมาย( 267คน) /ตรวจคัดกรอง(117คน) คิดเป็นร้อยละ43.82 โรคไตเรื้อรังรายใหม่ (16คน)คิดเป็นร้อยละ 13.68
ปีงบประมาณ2565เป้าหมาย(264คน) /ตรวจคัดกรอง(110คน)คิดเป็นร้อยละ41.67 โรคไตเรื้อรังรายใหม่ (15คน)คิดเป็นร้อยละ13.64
ปีงบประมาณ2566เป้าหมาย(267คน) /ตรวจคัดกรอง(129คน)คิดเป็นร้อยละ48.31 โรคไตเรื้อรังรายใหม่ (18คน)คิดเป็นร้อยละ13.95
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแรตจึงได้จัดการทำโครงการลดโรคNCDs. ชะลอไตเสื่อม เพื่อลดผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรายใหม่ปีงบประมาณ 2567 ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้เรียนรู้ถึงวิธีการป้องกัน ดูแลตนเองไม่ให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง ตลอดจนการดูแลรักษาและชะลอไม่ให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย โดยให้การดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นอย่างมีคุณภาพอันจะส่งผลให้ประชาชนและผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดค่าใช้จ่ายที่สูงของภาครัฐในการรักษาพยาบาลโรคไตวายระยะสุดท้าย
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/05/2024
กำหนดเสร็จ 25/09/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจยืนยันเพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรค และได้รับการส่งต่อเพื่อป้องกันการเกิดโรคได้ทันท่วงที
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของโรค และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันการเกิดโรคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเกิดความตระหนัก และมีความรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็นสามารถปฏิบัติดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเพิ่มขึ้น