กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ปี2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านปิเหล็ง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านปิเหล็ง
1.นางสมทรงเย็นใจ
2.น.ส.ซูไมดะห์ ปะจูเล็ง
3.นางนิศารัตน์ รักนุ้ย
4.นางนูรียะห์ อิแม
5.นางแวแอเสาะ วาพา

เขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว มีความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว

 

80.00

ปัจจุบันระบบสุขภาพไทยกำลังเผชิญกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุการเปลี่ยนจากสังคมชนบทสู่สังคมเมืองตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ประชาชนมีความคาดหวังต่อคุณภาพของระบบบริการมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเครือข่ายกำลังคนด้านสุขภาพในภาคประชาชนให้เข้มแข็ง เพื่อให้มีกำลังคนด้านสุขภาพในชุมชนที่มีศักยภาพและเป็นแกนหลักในการดูแลและจัดการด้านสุขภาพของประชาชน ประกอบกับพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชนที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable diseases : NCDs) มากขึ้น รวมถึง มีผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงเพิ่มขึ้น
เป้าหมายการพัฒนาสุขภาพมุ่งหวังให้เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง (Self Care) ให้ประชาชนได้เลือกวิธีการหรือกิจกรรมที่ใช้ประพฤติปฏิบัติในการดูแลสุขภาพของประชาชนด้วยกันเอง ในการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ ระวังรักษาร่างกายให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค ภัย อันตรายที่อาจจะทำให้บาดเจ็บ ป่วย เสี่ยงหรือพิการ การดูแลจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสโดยการใช้องค์ความรู้ ภูมิปัญญา เทคโนโลยีและทรัพยากรพื้นฐานในครอบครัว ชุมชนและสังคม
ดังนั้นในการพัฒนาสุขภาพของประชาชนเพื่อประชาชนสุขภาพดี จึงต้องขยายเครือข่ายการสร้างความรู้ให้ประชาชนจากชุมชนไปสู่ถึงครัวเรือนด้วยการกำหนดให้มีแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ด้วยการให้นำบุตรหลาน ญาติ สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลมาเข้ารับการอบรมหรือเรียนรู้ร่วมกับญาติที่ป่วยว่าควรจะดูแลอย่างไรและจะทำอย่างไรให้คนในครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อเสริสร้างศักยภาพของครอบครัวในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างกระบวนการให้ประชาชนดำเนินการตามหน้าที่ของพลเมืองในการมีความรู้ ความเข้าใจและประพฤติปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองอย่างรับผิดชอบด้วยความรู้สึกว่า “สุขภาพเป็นของเรา” ในทุกครอบครัว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวในการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว

1.ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว  มีความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว

80.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของการดูแลสุขภาพประจำครอบครัวของประชาชน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของการดูแลสุขภาพประจำครอบครัวของประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

8.30 น- 9.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม 9.00 น - 10.30 น. แนวคิด ความจำเป็นในการดูแลสุขภาพของแต่ละกลุ่มวัย (ตามช่วงชีวิตและ กลุ่มโรคที่เจ็บป่วยของกลุ่มเป้าหมายสมาชิกในครอบครัวที่ต้องไปดูแล) 10.30น- 10.45น.พักรับประทานอาหารว่าง 10.30น- 12.00 น.วิธีการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของตนเองและผู้ที่ต้องดูแลทั้งการดูแลสุขภาพครอบครัวในภาวะปกติและการดูแลสุขภาพครอบครัวในภาวะฉุกเฉิน 12.00 น - 13.00น.พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น - 14.30น. การประเมินความเสี่ยง ภัยสุขภาพ ความก้าวหน้าของโรคและการจัดการการบันทึกข้อมูล 14.30น - 14.45น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.45น- 16.30น. บทบาท อาสาสมัครประจำครอบครัว และการเชื่อมโยงเครือข่าย อสม.คุณธรรม จริยธรรม ของอาสาสมัครประจำครอบครัว 16.30 น.พิธีปิดโครงการ 1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 75 คน เป็นเงิน 4,500บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 75 คน เป็นเงิน 3,750บาท 3.ค่าไวนิล ขนาด 1 x 2 เมตร เป็นเงิน 500บาท 4. ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 5. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 3,375 บาท -สมุด75 เล่ม x 15 บาท เป็นเงิน 1,125 บาท -ปากกาลูกลื่น 75 ด้าม x 5 บาท เป็นเงิน 375 บาท - แฟ้มกระดุม 75 ใบx 25 บาท เป็นเงิน 1,875 บาท รวม เป็นเงิน15,125บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว  มีความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15125.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,125.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวมีความรู้ เจตคติ ทักษะและความสามารถในการปฏิบัติตนเองด้านสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง
2. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวมีทักษะและประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพให้กับครอบครัวที่เหมาะสมกับโรค วัยความเสี่ยง ภัยสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจสามารถดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวได้


>