กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ปี2567
รหัสโครงการ 67-L2480-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านปิเหล็ง
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมทรง เย็นใจ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว มีความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันระบบสุขภาพไทยกำลังเผชิญกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุการเปลี่ยนจากสังคมชนบทสู่สังคมเมืองตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ประชาชนมีความคาดหวังต่อคุณภาพของระบบบริการมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเครือข่ายกำลังคนด้านสุขภาพในภาคประชาชนให้เข้มแข็ง เพื่อให้มีกำลังคนด้านสุขภาพในชุมชนที่มีศักยภาพและเป็นแกนหลักในการดูแลและจัดการด้านสุขภาพของประชาชน ประกอบกับพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชนที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable diseases : NCDs) มากขึ้น รวมถึง มีผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงเพิ่มขึ้น เป้าหมายการพัฒนาสุขภาพมุ่งหวังให้เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง (Self Care) ให้ประชาชนได้เลือกวิธีการหรือกิจกรรมที่ใช้ประพฤติปฏิบัติในการดูแลสุขภาพของประชาชนด้วยกันเอง ในการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ ระวังรักษาร่างกายให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค ภัย อันตรายที่อาจจะทำให้บาดเจ็บ ป่วย เสี่ยงหรือพิการ การดูแลจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสโดยการใช้องค์ความรู้ ภูมิปัญญา เทคโนโลยีและทรัพยากรพื้นฐานในครอบครัว ชุมชนและสังคม ดังนั้นในการพัฒนาสุขภาพของประชาชนเพื่อประชาชนสุขภาพดี จึงต้องขยายเครือข่ายการสร้างความรู้ให้ประชาชนจากชุมชนไปสู่ถึงครัวเรือนด้วยการกำหนดให้มีแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ด้วยการให้นำบุตรหลาน ญาติ สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลมาเข้ารับการอบรมหรือเรียนรู้ร่วมกับญาติที่ป่วยว่าควรจะดูแลอย่างไรและจะทำอย่างไรให้คนในครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อเสริสร้างศักยภาพของครอบครัวในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างกระบวนการให้ประชาชนดำเนินการตามหน้าที่ของพลเมืองในการมีความรู้ ความเข้าใจและประพฤติปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองอย่างรับผิดชอบด้วยความรู้สึกว่า “สุขภาพเป็นของเรา” ในทุกครอบครัว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวในการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว

1.ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว  มีความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว

80.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,125.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของการดูแลสุขภาพประจำครอบครัวของประชาชน 0 15,125.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวมีความรู้ เจตคติ ทักษะและความสามารถในการปฏิบัติตนเองด้านสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง
  2. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวมีทักษะและประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพให้กับครอบครัวที่เหมาะสมกับโรค วัยความเสี่ยง ภัยสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจสามารถดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2567 00:00 น.