กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าธง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการน้ำมันไพลเพื่อสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าธง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจารังตาดง

นางนูรูไซด์ ยะโต๊ะ
นางฮาสนา อาแด

หมู่ที่ 1,2,3 และ ม.7 ตำบลท่าธง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยด้วยโรคปวดกล้ามเนื้อ

 

100.00

อาการปวดกล้ามเนื้อ เป็นกลุ่มอาการที่มักพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวัยทำงาน ทุกสาขาอาชีพ มักมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ชัดเจนได้ โดยความรุนแรงจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนอาจมีอาการปวดเพียงเล็กน้อย เป็นครั้งคราว หายเองได้หรือปวดรุนแรงกระทั่งขยับไม่ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นๆหายๆ เรื้อรังไม่รุนแรง แต่สามารถบั่นทอนสุขภาพจิตของผู้ป่วยได้มาก จากข้อมูลผู้รับบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจารังตาดง ในปี 2566 พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคปวดกล้ามเนื้อ สูงสุดเป็นอับดับ 2 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานและผู้สูงอายุ ซึ่งมีปัญหาทางด้านสุขภาพเกี่ยวกับอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกายทำให้เกิดความไม่สุขสบายทางกาย ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจารังตาดง จึงเล็งเห็นความสำคัญของการนำสมุนไพรและวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ง่าย มาประยุกต์ใช้ ให้สามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบรรเทาอาการ ปวดเมื่อย โดยทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร นั้นก็คือ น้ำมันไพล ห่างไกลปวดเมื่อย ซึ่งสมุนไพรที่ใช้ได้แก่ ไพล และขมิ้นชัน มีสรรพคุณช่วยในการลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ลดอาการอักเสบ ทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น และเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นศาสตร์ด้านการแพทย์แผนไทย นับเป็นภูมิปัญญาอันล้ำค่าของไทย ที่ได้รับการยอมรับและถ่ายทอดกันมาอย่างต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้กับคนในชุมชนได้ ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจารังตาดงจึงเห็นถึงความสำคัญ และจัดทำโครงการ “การทำน้ำมันไพลเพื่อสุขภาพ” เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพเองได้ ช่วยส่งเสริมให้คนในชุมชน มีความเข้าใจในการแพทย์แผนไทย มองเห็นคุณค่าของสมุนไพรที่มีอยู่มากมายในชุมชนของตนเอง และรู้จักเลือกสรรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ มีแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยในการรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อ

1.เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยในการรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อ  ร้อยละ 80

100.00 80.00
2 2.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถผลิตน้ำมันไพลด้วยตนเอง เพื่อรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อ

2.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถผลิตน้ำมันไพลด้วยตนเอง เพื่อรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 70

100.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อบรมให้ความรู้ เรื่องสมุนไพรไทยรักษาอาการปวดเมื่อยในระบบกล้ามเนื้อ(จำนวน 2 รุ่นๆละ 50 คน)

1.ค่าวิทยากร... 600..บ.x5 ชม. x 2 รุ่น = 6,000 บ.

2.ค่าอาหารกลางวัน....60...บ.x.50.บ.. x 2รุ่น= 6,000บ.

3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม....25....บ.x…50..คน.x 2มื้อ x 2รุ่น = 5,000 บาท

4..ค่าวัสดุในการอบรม
4.1 ค่าแฟ้มเอกสาร จำนวน 100 แฟ้ม X 35 บาท =3,500 บาท

4.2 ค่าปากกา จำนวน 100ด้าม X 10 บาท =1,000 บาท

4.3 ค่าสมุด จำนวน 100 เล่ม X 15 บาท =1,500 บาท

รวมเป็นเงิน 23,000 บาท กำหนดการอบรม
โครงการ ทำน้ำมันไพลเพื่อสุขภาพ

................................................................

08.30 น. - 09.00 น.ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม

09.00 น. - 12.00 น. บรรยายให้ความรู้เรื่อง สมุนไพรไทยรักษาอาการปวดเมื่อยในระบบกล้ามเนื้อ

12.00 น .- 13.00 น. รับประทานอาหารว่าง

13.00 น. - 15.00น.บรรยายและฝึกปฏิบัติการผลิตน้ำมันไพล ลดอาการปวดเมื่อย

15.00 น.- 16.00 น.บรรยายให้ความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ลดอาการปวดเมื่อยทางแผนปัจจุบัน และผลิตภัณฑ์ลดอาการปวดเมื่อยทางแพทย์แผนไทย

16.00 น.- 16.30 น. อภิปราย ซักถาม ข้อสงสัย


…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

หมายเหตุ รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มระหว่างการอบรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยในการรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อ อย่างน้อย 80 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ การทำน้ำมันไพล

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ การทำน้ำมันไพล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุในการทำน้ำมันไพลจำนวน 12,200 บาท

  • ค่าสารสกัดไพล

    • การบูร

    • เมนทอล

    • น้ำมันระกำ

    • น้ำมันยูคาลิปตัส

    • ค่าขวดบรรจุน้ำมันไพล

    • ค่าสติกเกอร์ฉลากน้ำมันไพล

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถผลิตน้ำมันไพลด้วยตนเอง เพื่อรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อ อย่างน้อย70คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,200.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถ้วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยในการรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ80
2.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถผลิตน้ำมันไพลด้วยตนเอง เพื่อรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 70


>