กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการนักเรียนโรงเรียนบ้านกาเนะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงเรียนบ้านกาเนะ

1.นางอรุนา ตาเดอิน เบอร์โทรศัพท์ 0899784233
2.นายวาศิล ใบสาเม๊าะ เบอร์โทรศัพท์ 0898694469
3.นางยัสมี พันหวัง เบอร์โทรศัพท์ 0817987409
4.นางสาวสุไลลา ปังหลีเส็น เบอร์โทรศัพท์ 0932622550
5.นางสาวบิสมิลลา พันสกุล เบอร์โทรศัพท์ 0950233147

โรงเรียนบ้านกาเนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์และเสี่ยงต่ำ

 

32.00
2 นักเรียนที่เสี่ยงในบริโภคผักที่ปนเปื้อนสารเคมี

 

54.20
3 ร้อยละของนักเรียนมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง

 

51.02
4 ร้อยละของนักเรียนที่ไม่มีความรู้ในการคัดแยกขยะ

 

54.27

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย จากการประเมินพัฒนาการเด็กทุกด้านของนักเรียนโรงเรียนบ้านกาเนะ พบเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 32 คน จากเด็กนักเรียนทั้งหมด 125 คน คิดเป็นร้อยละ 25.60 ทางโรงเรียนบ้านกาเนะจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยการจัดกิจกรรมสนับสนุนกระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า และจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้มีการคัดแยกขยะ ให้นักเรียนได้มีการขยับร่างกายคัดแยกขยะในโรงเรียน นำขยะที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มาผลิตของเล่นกระตุ้นพัฒนาการเด็ก และกระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) โดยการได้บริโภคอาหารปลอดภัย ผักที่ปลอดสารเคมี โดยการจัดกิจกรรมปลูกผักกินเอง กรณีเด็กผอม เพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 60 นาที(ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐาน

นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำ และเสี่ยงตำ่กว่าเกณฑ์จำนวน 32คน

93.00 104.00
2 เพื่อให้นักเรียนบริโภคผักปลอดสารเคมี

ร้อยละนักเรียนชั้นอนุบาล 2-ประถมศึกษาปีที่6 ได้บริโภคผักปลอดสารเคมี

76.00 90.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการคัดแยกขยะ

ร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1-ประถมศึกษาปีที่6 มีความรู้และทักษะในการคัดแยกขยะ

60.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 125
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (สุขภาพสมบูรณ์ด้วยไข่ต้ม)
1.1 ครูร่วมกับผู้ปกครองเฝ้าระวังประเมินพัฒนาการเด็กทุกเดือน หากสงสัยพัฒนาการล่าช้าให้ส่งพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อคัดกรอง
1.2 ครูร่วมกับผู้ปกครองกระตุ้นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าอย่างต่อเนื่อง 1 เดือน และประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจคัดกรองซ้ำ หากยังมีพัฒนาการล่าช้าได้รับการส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่สูงกว่า
1.3 จัดทำฐานพัฒนาการเด็กอายุ 5-12 ปี
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก
2.1 ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก ทุก 3 เดือน
2.2 บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสมุดทะเบียนเด็ก พร้อมแจ้งผู้ปกครองทราบ
2.3 จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ พบว่ามีจำนวน 32 คน
2.4 ให้ความรู้นักเรียน
- ความสำคัญของอาหาร อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน อาหารที่ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอม และอาหารที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย
- วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก
3. ครูร่วมกับผู้ปกครองในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย
3.1 ที่โรงเรียน
- ครูกระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่งโดยการจัดกิจกรรมสุขภาพดี โดยการบริโภคอาหารปลอดภัย ผักที่ปลอดสารเคมี โดยการจัดกิจกรรมปลูกผักกินเอง และกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะและออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
- กรณีเด็กผอม โรงเรียนเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 60 นาที(ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)

รายละเอียดงบประมาณ
1.จัดซื้อไข่ต้ม วันละ 32 ฟองๆ ละ 6 บาท จำนวน 100 วัน เป็นเงิน 19,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำและเสี่ยงต่ำกว่าเกณฑ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการ ร้อยละ 90.00
2.นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำและเสี่ยงต่ำกว่าเกณฑ์มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ ร้อยละ 85.00

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมขยับลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมขยับลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมขยับลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง โดย
1. ให้ความรู้ เรื่อง
1.1 ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลัง
1.2 วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง โดยการจัดกิจกรรม
-สุขภาพดี บริโภคอาหารปลอดภัย ผักปลอดสารเคมี
-โรงเรียนปลอดขยะ
กิจกรรมสุขภาพดี บริโภคอาหารปลอดภัย ผักปลอดสารเคมี งบประมาณ 2,000 บาท
รายละเอียดงบประมาณ
- เมล็ดผัก 500 บาท
- มูลสัตว์ 500 บาท
- แกลบเผา 300 บาท
- ขุยมะพร้าว 200 บาท
- วัสดุในการทำปุ๋ยหมัก 500 บาท

กิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะ เป็นเงิน 6,175 บาท
1.ให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับการจัดการขยะ
- เอกสารการอบรม จำนวน 105 เล่ม ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 1,575 บาท
- ป้ายโครงการ ขนาด 1x3 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท
- อาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ ๆ ละ 30 บาท จำนวน 105 คน เป็นเงิน 3,150 บาท
- ค่าวัสดุอปกรณ์อื่น ๆ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนได้บริโภคผักปลอดสารเคมีในอาหารมื้อกลางวัน ร้อยละ 80
  2. นักเรียนได้เพิ่มกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ร้อยละ 100
  3. นักเรียนสามารถคัดแยกขยะได้ สามารถนำขยะนำกลับไปใช้ประโยชน์ ทำของเล่นส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ลดปริมาณขยะในโรงเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8175.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,375.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนที่มีภาวะโภชนาต่ำและเสี่ยงต่ำจำนวน 30 คน มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 90
2. นักเรียนบริโภคผักปลอดสารเคมี ร้อยละ 80
3. นักเรียนมีความรู้และทักษะในการคัดแยกขยะ สามารถนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ ร้อยละ 90
4. โรงเรียนบ้านกาเนะสะอาดปลอดขยะ


>