กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการประเมินภาวะโภชนาการ และแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลหนองแรต ปี2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองแรต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประเมินภาวะโภชนาการ และแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลหนองแรต ปี2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองแรต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแรต

ตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด้กอายุ0-5ปี ที่มีภาวะ เตี้ย

 

22.33
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ทีมีภาวะผอม

 

7.23

การเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการของเด็ก เป็นรากฐานที่สำคัญของการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพที่ดีทางด้านร่างกาย และจิตใจ และเป็นเครื่องบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เด็กที่มีภาวะโภชนาการที่ไม่ดี ไม่ได้รับการดูแลหรือส่งเสริมที่ถูกวิธีกลายเป็นเด็กขาดสารอาหาร จะก่อให้เกิดผลเสียในทุกช่วงอายุ ส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการทางด้านสมองและโครงสร้างของร่างกาย ทำให้พัฒนาการและการเจริญเติบโตไม่สมวัย เด็กที่มีภาวะเตี้ย เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะมีรูปร่างเล็ก นอกจากนี้ยังส่งผลให้การสร้างภูมิต้านทานโรคลดลง เป็นผลให้เจ็บป่วยบ่อย
จากรายงานการสำรวจขององค์การ UNICEFในปี พ.ศ. 2559 พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ถือเป็นพื้นที่ที่มีความชุกของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการสูงที่สุดในประเทศไทย โดยจังหวัดปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส มีค่าเฉลี่ยของเด็กทุพโภชนาการอยู่ที่ร้อยละ 19.3, 21.2 และ 29.0 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยเด็ก
ทุพโภชนาการของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 10 เท่านั้น จากประชุมหารือแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงาน
ทุพโภชนาการเด็ก ช่วงอายุ 0-4 ปี ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2562 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการวิเคราะห์สถานการณ์ทุพโภชนาการเด็กที่อยู่ในพื้นที่พิเศษของจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ภาวะทุพโภชนาการเด็กเกิดจากปัจจัยร่วมหลายประการ คือ 1) ปัจจัยกายภาพของเด็ก พบว่า น้ำหนักแรกเกิดของเด็กต่ำกว่าเกณฑ์ เด็กมีภาวะเตี้ยแคระแกร็น และผอมลง ถึง 4 เท่า 2) ปัจจัยครอบครัว พบว่า แม่ที่ตั้งครรภ์มีภาวะซีดเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เข้าไม่ถึงการฝากครรภ์ตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก ประกอบกับครอบครัวมีฐานะยากจนทำให้ไม่มีค่าเดินทางไปรับบริการที่โรงพยาบาล และยินดีคลอดกับหมอตำแยในชุมชน 3) ปัจจัยสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมพบว่า คนในพื้นที่มีค่านิยมและความเชื่อเรื่องการดูแลแม่หลังตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรไม่ถูกต้อง และไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์สมัยใหม่ และ 4) ปัจจัยจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ พบว่า เด็กในครอบครัวที่โดนหมายค้น หรือมีบุคคลในครอบครัวโดนหมายจับคดีความมั่นคงมีภาวะทุพโภชนาการ เพราะครอบครัวหวาดระแวงจนไม่สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้ มีการย้ายถิ่นฐานและหลายครอบครัวนำเด็ก ช่วงอายุ 0 - 3 ปี ติดตามไปด้วย ส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้รับวัคซีนตามกำหนด และยังพบว่าเด็กจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้งให้ผู้สูงอายุดูแลหรือให้พี่เลี้ยงน้อง (เด็กเลี้ยงเด็ก) ซึ่งขาดทักษะการเลี้ยงดู เด็กจึงถูกเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ขาดภูมิคุ้มกันโรค และมีภาวะเจ็บป่วยง่าย ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ ยังส่งผลให้เกิดภัยคุกคามทางสุขภาพ ซึ่งในปี 2561 พบว่า มีอัตราการสูญเสียชีวิตของเด็กจากการป่วยด้วยโรคหัด จำนวน 34 ราย และยังพบว่าเด็กมีภาวะทุพโภชนาการร่วมด้วย
ตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนใน พื้นที่พบว่าปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กเป็นหนึ่งปัญหาด้านอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่ที่จะต้องรีบดำเนินการแก้ไขยังเร่งด่วน เนื่องจากพบเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี มีภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 30.55 ซึ่งภาวะทุพโภชนาการจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านร่างกายและสมองของเด็กที่กำลังเจริญเติบโตให้หยุดชะงัก มีผลต่อระดับสติปัญญาไม่ดี และทำให้เกิดการเจ็บป่วยบ่อย (Singhasame, Suwanwaha, & Sarakshetrin, 2017) ภาวะโภชนาการที่ดีจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก ซึ่งมีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ป้องกันปัญหาสุขภาพ และวางพื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนได้อย่างเต็มที่ การได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอ จึงมีความสำคัญมากต่อพัฒนาการและสติปัญญาของเด็ก ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญในการให้ความรู้พ่อแม่เกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการในเด็ก เพื่อให้พ่อแม่สามารถเลือกชนิดของอาหารที่เหมาะสมกับลูก และสามารถจัดจานอาหารที่สวยงามเพื่อเพิ่มความต้องการอยากรับประทานอาหารของเด็ก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างนักจัดการแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาวะโภชนาการในตำบลหนองแรต อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ให้มีศักยภาพในการทำงานร่วมกับการเชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่

มีนักจัดการแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาวะโภชนาการในตำบลหนองแรต อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ให้มีศักยภาพในการทำงานร่วมกับการเชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่

0.00 6.00
2 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดการแก้ไขปัญหาภาวะการกินยากของเด็ก ให้กับผู้ปกครองที่บุตรมีภาวะทุพโภชนาการ

ผู้ปกครองที่บุตรมีภาวะทุพโภชนาการ มีองค์ความรู้และทักษะในการจัดการ แก้ปัญหาการกินยากของเด็ก

70.00 90.00
3 เพื่อปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก อายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี ในตำบลหนองแรต

เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการปกติ ร้อยละ 75

70.45 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานให้แก่คณะทำงานทราบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าสาธารณสุข อสม. และผู้ดูแลเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าสาธารณสุข อสม. และผู้ดูแลเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าสาธารณสุข อสม. และผู้ดูแลเด็ก ประเด็นโภชนาการในเด็ก มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
2.1.1 ความรู้โภชนศาสตร์ในเด็กเล็ก
2.1.2 เมนูอาหารเพื่อพัฒนาโภชนาการ
2.1.3 สำหรับการกระตุ้นโภชนาการโดยใช้ความรู้การแพทย์แผนไทยเบื้องต้น 2.1.4 การใช้หลักการพฤติกรรมบำบัด สำหรับแก้ไขปัญหาเด็กที่มีภาวะกินยาก

รายละเอียดค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 30 ชุดๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท
2. ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 750บาท
3. คู่มือสูตรอาหาร จำนวน 30 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 600บาท 4. ค่าวิทยากร จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าสาธารณสุข อสม. และผู้ดูแลเด็ก ประเด็นโภชนาการในเด็ก จำนวน 3 ชม.ๆละ600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองที่บุตรมีภาวะทุพโภชนาการ มีองค์ความรู้และทักษะในการจัดการ แก้ปัญหาการกินยากของเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3900.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สนับสนุนอาหารเสริมที่อุดมด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตคุณภาพสูงแก่เด็กที่เข้าร่วมโครงการ
1. ค่านม จำนวน 15 คนๆละ 2 กล่องๆละ 10 บาท จำนวน 100 วัน เป็นเงิน 30,000บาท
2. ค่าไข่ จำนวน15 คนๆละ 2 ฟองๆละ 4 บาท จำนวน 100 วัน เป็นเงิน12,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการปกติ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42000.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามและประเมินการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี โดยติดตาม โดย อสม และ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี โดยติดตาม โดย อสม และ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามและประเมินการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี โดยติดตามเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร คุณภาพของอาหาร น้ำหนัก ส่วนสูงของเด็กที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งมีการติดตามทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยมีการติดตามดังนี้
1. ติดตามโดย อสม. ทุก 1 สัปดาห์ ใน 1 เดือนแรก
2. ติดตามโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ใน 2 เดือนหลัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี โดยติดตามเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร คุณภาพของอาหาร น้ำหนัก ส่วนสูงของเด็กที่เปลี่ยนแปลงไปได้รับการติดตามโดย
1 .ติดตามโดย อสม. ทุก 2 สัปดาห์ ใน 1 เดือนแรก
2. ติดตามโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ใน 2 เดือนหลัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กได้รับการตรวจประเมินภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ และเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาได้รับการแก้ไข ทุกคน


>