กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองแรต รหัส กปท. L3050

อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการประเมินภาวะโภชนาการ และแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลหนองแรต ปี2567
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแรต
3.
หลักการและเหตุผล

การเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการของเด็ก เป็นรากฐานที่สำคัญของการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพที่ดีทางด้านร่างกาย และจิตใจ และเป็นเครื่องบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เด็กที่มีภาวะโภชนาการที่ไม่ดี ไม่ได้รับการดูแลหรือส่งเสริมที่ถูกวิธีกลายเป็นเด็กขาดสารอาหาร จะก่อให้เกิดผลเสียในทุกช่วงอายุ ส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการทางด้านสมองและโครงสร้างของร่างกาย ทำให้พัฒนาการและการเจริญเติบโตไม่สมวัย เด็กที่มีภาวะเตี้ย เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะมีรูปร่างเล็ก นอกจากนี้ยังส่งผลให้การสร้างภูมิต้านทานโรคลดลง เป็นผลให้เจ็บป่วยบ่อย จากรายงานการสำรวจขององค์การ UNICEFในปี พ.ศ. 2559 พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ถือเป็นพื้นที่ที่มีความชุกของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการสูงที่สุดในประเทศไทย โดยจังหวัดปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส มีค่าเฉลี่ยของเด็กทุพโภชนาการอยู่ที่ร้อยละ 19.3, 21.2 และ 29.0 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยเด็ก ทุพโภชนาการของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 10 เท่านั้น จากประชุมหารือแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงาน ทุพโภชนาการเด็ก ช่วงอายุ 0-4 ปี ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2562 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการวิเคราะห์สถานการณ์ทุพโภชนาการเด็กที่อยู่ในพื้นที่พิเศษของจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ภาวะทุพโภชนาการเด็กเกิดจากปัจจัยร่วมหลายประการ คือ 1) ปัจจัยกายภาพของเด็ก พบว่า น้ำหนักแรกเกิดของเด็กต่ำกว่าเกณฑ์ เด็กมีภาวะเตี้ยแคระแกร็น และผอมลง ถึง 4 เท่า 2) ปัจจัยครอบครัว พบว่า แม่ที่ตั้งครรภ์มีภาวะซีดเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เข้าไม่ถึงการฝากครรภ์ตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก ประกอบกับครอบครัวมีฐานะยากจนทำให้ไม่มีค่าเดินทางไปรับบริการที่โรงพยาบาล และยินดีคลอดกับหมอตำแยในชุมชน 3) ปัจจัยสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมพบว่า คนในพื้นที่มีค่านิยมและความเชื่อเรื่องการดูแลแม่หลังตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรไม่ถูกต้อง และไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์สมัยใหม่ และ 4) ปัจจัยจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ พบว่า เด็กในครอบครัวที่โดนหมายค้น หรือมีบุคคลในครอบครัวโดนหมายจับคดีความมั่นคงมีภาวะทุพโภชนาการ เพราะครอบครัวหวาดระแวงจนไม่สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้ มีการย้ายถิ่นฐานและหลายครอบครัวนำเด็ก ช่วงอายุ 0 - 3 ปี ติดตามไปด้วย ส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้รับวัคซีนตามกำหนด และยังพบว่าเด็กจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้งให้ผู้สูงอายุดูแลหรือให้พี่เลี้ยงน้อง (เด็กเลี้ยงเด็ก) ซึ่งขาดทักษะการเลี้ยงดู เด็กจึงถูกเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ขาดภูมิคุ้มกันโรค และมีภาวะเจ็บป่วยง่าย ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ ยังส่งผลให้เกิดภัยคุกคามทางสุขภาพ ซึ่งในปี 2561 พบว่า มีอัตราการสูญเสียชีวิตของเด็กจากการป่วยด้วยโรคหัด จำนวน 34 ราย และยังพบว่าเด็กมีภาวะทุพโภชนาการร่วมด้วย ตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนใน พื้นที่พบว่าปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กเป็นหนึ่งปัญหาด้านอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่ที่จะต้องรีบดำเนินการแก้ไขยังเร่งด่วน เนื่องจากพบเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี มีภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 30.55 ซึ่งภาวะทุพโภชนาการจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านร่างกายและสมองของเด็กที่กำลังเจริญเติบโตให้หยุดชะงัก มีผลต่อระดับสติปัญญาไม่ดี และทำให้เกิดการเจ็บป่วยบ่อย (Singhasame, Suwanwaha, & Sarakshetrin, 2017) ภาวะโภชนาการที่ดีจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก ซึ่งมีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ป้องกันปัญหาสุขภาพ และวางพื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนได้อย่างเต็มที่ การได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอ จึงมีความสำคัญมากต่อพัฒนาการและสติปัญญาของเด็ก ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญในการให้ความรู้พ่อแม่เกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการในเด็ก เพื่อให้พ่อแม่สามารถเลือกชนิดของอาหารที่เหมาะสมกับลูก และสามารถจัดจานอาหารที่สวยงามเพื่อเพิ่มความต้องการอยากรับประทานอาหารของเด็ก

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อสร้างนักจัดการแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาวะโภชนาการในตำบลหนองแรต อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ให้มีศักยภาพในการทำงานร่วมกับการเชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่
    ตัวชี้วัด : มีนักจัดการแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาวะโภชนาการในตำบลหนองแรต อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ให้มีศักยภาพในการทำงานร่วมกับการเชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 6.00
  • 2. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดการแก้ไขปัญหาภาวะการกินยากของเด็ก ให้กับผู้ปกครองที่บุตรมีภาวะทุพโภชนาการ
    ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองที่บุตรมีภาวะทุพโภชนาการ มีองค์ความรู้และทักษะในการจัดการ แก้ปัญหาการกินยากของเด็ก
    ขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 90.00
  • 3. เพื่อปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก อายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี ในตำบลหนองแรต
    ตัวชี้วัด : เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการปกติ ร้อยละ 75
    ขนาดปัญหา 70.45 เป้าหมาย 80.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชุมชี้แจงการดำเนินงาน
    รายละเอียด

    จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานให้แก่คณะทำงานทราบ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าสาธารณสุข อสม. และผู้ดูแลเด็ก
    รายละเอียด

    จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าสาธารณสุข อสม. และผู้ดูแลเด็ก ประเด็นโภชนาการในเด็ก มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
    2.1.1 ความรู้โภชนศาสตร์ในเด็กเล็ก
    2.1.2 เมนูอาหารเพื่อพัฒนาโภชนาการ
    2.1.3 สำหรับการกระตุ้นโภชนาการโดยใช้ความรู้การแพทย์แผนไทยเบื้องต้น 2.1.4 การใช้หลักการพฤติกรรมบำบัด สำหรับแก้ไขปัญหาเด็กที่มีภาวะกินยาก

    รายละเอียดค่าใช้จ่าย
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 30 ชุดๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท
    2. ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 750บาท
    3. คู่มือสูตรอาหาร จำนวน 30 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 600บาท 4. ค่าวิทยากร จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าสาธารณสุข อสม. และผู้ดูแลเด็ก ประเด็นโภชนาการในเด็ก จำนวน 3 ชม.ๆละ600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

    งบประมาณ 3,900.00 บาท
  • 3. ส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
    รายละเอียด

    สนับสนุนอาหารเสริมที่อุดมด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตคุณภาพสูงแก่เด็กที่เข้าร่วมโครงการ
    1. ค่านม จำนวน 15 คนๆละ 2 กล่องๆละ 10 บาท จำนวน 100 วัน เป็นเงิน 30,000บาท
    2. ค่าไข่ จำนวน15 คนๆละ 2 ฟองๆละ 4 บาท จำนวน 100 วัน เป็นเงิน12,000 บาท

    งบประมาณ 42,000.00 บาท
  • 4. ติดตามและประเมินการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี โดยติดตาม โดย อสม และ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.
    รายละเอียด

    ติดตามและประเมินการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี โดยติดตามเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร คุณภาพของอาหาร น้ำหนัก ส่วนสูงของเด็กที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งมีการติดตามทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยมีการติดตามดังนี้
    1. ติดตามโดย อสม. ทุก 1 สัปดาห์ ใน 1 เดือนแรก
    2. ติดตามโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ใน 2 เดือนหลัง

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 5. สรุปผลการดำเนินโครงการ
    รายละเอียด

    ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 8 ส.ค. 2567 ถึง 8 ส.ค. 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 45,900.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

เด็กได้รับการตรวจประเมินภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ และเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาได้รับการแก้ไข ทุกคน

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองแรต รหัส กปท. L3050

อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองแรต
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองแรต รหัส กปท. L3050

อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 45,900.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................