กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเล้าเป็ด ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

รพ.สต.บ้านควนเล้าเป็ด ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง

1.นายสมมิตรเสือกลับ
2.นายปรีชา แสงเกื้อหนุน
3.นาง อาภรณ์ แสงเกื้อหนุน
4.นายโกมล สุวรรณรัตน์
5.นาง สุทธิรัตน์ ศรีชูทอง

หมู่ที่ 6,7 ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

50.00

ปัจจุบันระบบนิเวศวิทยาทั่วโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เชื้อโรคมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด จึงมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคติดต่อใหม่ๆ เกิดขึ้นตามมาอีกหลายโรค สำหรับประเทศไทยปัญหาโรคติดต่อประจำถิ่นก็ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญ เนื่องจากสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่นการเปลี่ยนแปลงของประชากร ลักษณะหรือรูปแบบการแพร่ระบาดของโรค ปัญหาโรคติดต่อไม่ใช่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขเพียงด้านเดียวแต่ส่งผลกระทบทั้งต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม โรคติดต่อที่เป็นปัญหาทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่นที่สำคัญได้แก่ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก โรคเลปโตสไปโรซีส และโรคอุจจาระร่วง เป็นต้น
สถานการณ์โรคติดต่อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเล้าเป็ด ในปี ๒๕๖6 มีรายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 11 รายโรคมือเท้าปาก จำนวน 4 รายและโรคอุจจาระร่วง จำนวน 12 รายและโรคมือเท้าปาก จำนวน 2 ราย ดังนั้น จากเหตุผลข้างต้น การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อจึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความครอบคลุมรวดเร็วทันต่อสถานการณ์รวมถึงให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยการส่งเสริมให้เครือข่ายในชุมชนมีการเฝ้าระวังโรคอย่างมีคุณภาพและมีทักษะในการดำเนินงานได้อย่างทันต่อสถานการณ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเล้าเป็ดจึงได้จัดทำ โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเล้าเป็ด ปี 2567 เพื่อพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายในการเฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อในชุมชน และประชาชน ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1. เพื่อให้ความรู้ ทักษะและสร้างความเข้าใจกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ข้อ 2. เพื่อป้องกันควบคุมการระบาดและลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ ข้อ 3. เพื่อให้ผู้รับการอบรมมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน

ข้อ 1. การประเมินผลความรู้ก่อน – หลังการอบรม (ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70) ข้อ 2. อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ.2562 –
2566)
ข้อ 3. เครือข่ายควบคุม ป้องกันโรคติดต่อที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างน้อยหมู่บ้านละ 5 คน

50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคประจำถิ่น

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคประจำถิ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันในการจัดการประชุม จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500  บาท 2. ค่าอาหารว่างในการจัดการประชุม จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500  บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 4. ค่าป้ายโครงการอบรมฯ  จำนวน 1 ป้าย  500 บาท เป็นเงิน 500 บาท 5. ค่าป้ายสื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์การป้องกันโรคติดต่อ ฯ   จำนวน 4 ป้ายๆละ  500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท รวมทั้งสิ้น 9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่ายควบคุม ป้องกันโรคติดต่อที่สามารถปฏิบัติงานด้านควบคุม ป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างน้อยหมู่บ้านละ 5 คน (รวม 10 คน)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่ถูกต้อง
2. ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะและให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคระบาดในชุมชน
3. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถป้องกันและควบคุมโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ


>