กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรค และชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอน ปี ๒๕๖๗

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรค และชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอน ปี ๒๕๖๗

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอน

๑. นางหทัยกาญจน์ สันมาหมีน
๒. นางสาววนิดา ยาพระจันทร์

พื้นที่รับผิดชอบ ม.๑, ม.๒, ม.๓, ม.๖ และ ม.๗ ต.นาทอน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

***ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าโรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็น โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสเหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง และทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า ๖๐ ปี โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปี ละ ๓ แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
***ปัจจุบันโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในคือ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ถ้าไม่รับการดูแลรักษาและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมามากมาย โดยเฉพาะโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมากถึงร้อยละ ๑๗.๕ ของประชากรที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอน มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียน จำนวนทั้งหมด ๔๗๕ ราย ผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียน จำนวน ๑๖๖ คน (ข้อมูลจาก HDC ปีงบประมาณ 2566) และจากการตรวจร่างกายประจำปีของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวาน ในปี งบประมาณ ๒๕๖๖ พบว่ามีภาวะเสี่ยงโรคไตเรื้อรังระยะ ๓ ขึ้นไป จำนวน ๑๔ ราย ,ผู้ป่วยต้องล้างไตทางหน้าท้อง จำนวน ๑ ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อโรคดำเนินเข้าสู่ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (end stage renal disease ERSD) จะต้องได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง การผ่าตัดปลูกถ่ายไต เมื่อเป็นโรคไตเรื้อรังในระยะสุดท้ายจะส่งผลต่อคุณภาพของผู้ป่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และประเทศจะต้องสูญเสียงบประมาณด้านสาธารณสุขเป็นเงินจำนวนมหาศาล เป็นสาเหตุการป่วย พิการและเสียชีวิตอันดับต้นๆ ส่งผลให้เกิดภาระและสูญเสียในทุกมิติทั้งกาย จิต สังคม เศรษฐกิจต่อทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศชาติ โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักที่สำคัญต่อการเกิดโรคดังนี้ ภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานควบคุมโรคไม่ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วนลงพุง
***ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลบ้านนาทอนได้ตระหนักถึงความสำคัญ เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงสูง เกิดอุบัติการณ์มีภาวะไตเสื่อมเพิ่มขึ้นและเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มป่วยและผู้ดูแล รวมทั้งแกนนำหมู่บ้าน มีความตระหนัก เล็งเห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนสุขภาพในการป้องกันโรค ลดโรค ซึ่งประกอบกับเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานคือ เครื่องวัดความดันโลหิตที่มีอยู่ในชุมชน ชำรุดและมีไม่ครบทุกหมู่บ้าน และแพทย์ให้มีการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน ทางรพ.สต.บ้านนาทอนจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรค และชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑ เพื่อให้กลุ่มป่วย ผู้ดูแล ได้รับความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม

ผู้ป่วย ผู้ดูแล ที่ผ่านการอบรมมีความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม ร้อยละ ๑๐๐

0.00
2 ข้อที่ ๒ เพื่อให้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อภาวะไตเสื่อมได้รับการดูแลติดตาม

ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อภาวะไตเสื่อมได้รับการดูแลติดตาม ร้อยละ ๑๐๐

0.00
3 ข้อ ๓ เพื่อให้อสม.แกนนำมีความรู้และทักษะการดูแลกลุ่มป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะไตเสื่อมในชุมชนได้อย่างถูกต้อง

อสม.แกนนำมีความรู้และทักษะการดูแลกลุ่มป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะไตเสื่อม ร้อยละ ๑๐๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ

ชื่อกิจกรรม
๑.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ๒.ประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่ ม.1, ม.2, ม.3, ม.6 และ ม.7 ต.นาทอน

ชื่อกิจกรรม
๒.ประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่ ม.1, ม.2, ม.3, ม.6 และ ม.7 ต.นาทอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ จนท.และอสม.

ชื่อกิจกรรม
3.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ จนท.และอสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ๔. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไตและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม

ชื่อกิจกรรม
๔. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไตและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

*** ๔. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไตและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม
๔.๑ อบรมให้ความรู้แก่ - ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน ๖ ราย - โรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๖ ราย
- ผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อม ระยะ ๓ ขึ้นไป และผู้ดูแล จำนวน ๒๘ ราย - ค่าอาหารกลาง จำนวน ๕๐ คน คนๆละ ๕๐ บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน ๕๐ คน จำนวน ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท - ค่าวัสดุในการจัดอบรมจำนวน ๕๐ ชุด ๆละ ๗๐ บาทเป็นเงิน ๓,๕๐๐ บาท - ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน ๕๐๐ บาท - ค่าวิทยากรในการอบรม๑ คน จำนวน ๕ ชม.ๆละ ๓๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บาท ๔.๒ อบรมให้ความรู้แก่อสม. จำนวน ๖๓ คน - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน ๖๓ คน จำนวน ๑ มื้อๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๑,๕๗๕ บาท - ค่าวัสดุในการจัดอบรมเป็นเงิน ๑,๙๓๕ บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรในการอบรม๑ คน จำนวน ๓ ชม.ๆละ ๓๐๐ บาท เป็นเงิน ๙๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14900.00

กิจกรรมที่ 5 ๕. จัดตั้งแกนนำอสม.ที่ผ่านการอบรมเพื่อติดตาม ดูแล ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
๕. จัดตั้งแกนนำอสม.ที่ผ่านการอบรมเพื่อติดตาม ดูแล ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ๖. ติดตามประเมินผลซ้ำโดยการตรวจ ระดับน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต ภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
๖. ติดตามประเมินผลซ้ำโดยการตรวจ ระดับน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต ภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล-ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอลจำนวน ๕ เครื่อง ๆ ละ ๒,๕๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๒,๕๐๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

กิจกรรมที่ 7 ๗.สรุปและรวบรวมผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
๗.สรุปและรวบรวมผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ผู้ป่วย ผู้ดูแล ที่ผ่านการอบรมได้รับความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม ร้อยละ ๑๐๐
๒. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อภาวะไตเสื่อมได้รับการดูแลติดตาม ร้อยละ ๑๐๐
๓. ผู้ป่วยป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเสื่อม สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ร้อยละ ๘๐
๔. อสม.แกนนำมีความรู้และทักษะการดูแลกลุ่มป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะไตเสื่อม ร้อยละ ๑๐๐


>