กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอน ปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล

๑.นางหทัยกาญจน์สันมาหมีน
๒.นางสาววนิดายาพระจันทร์

รพ.สต.บ้านนาทอนและพื้นที่ ม.๑, ม.๒, ม.๓, ม.๖ และ ม.๗ ต.นาทอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในยุคปัจจุบันโรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากคนสู่คน หรือจากสัตว์สู่คนมีมากมายหลายโรครวมถึงการระบาดของโรคติดเชื้อต่าง ๆหรือโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วในปัจจุบันนั้นนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศและจากภาวะอากาศแปรปรวนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่(Influenza)และโรคติดต่ออื่นๆในเด็กและผู้ใหญ่ที่ป้องกันด้วยวัคซีน เช่นวัคซีนป้องกันโรควัณโรค (BCG) ,โรคไวรัสตับอักเสบบี (HB) ,โรคโปลิโอ (OPV) ,โรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR), โรคคอตีบ-ไอกรน โรคบาดทะยัก-ตับอักเสบบี-ฮิบ (DTwP-HB-Hib) ,โรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิด (LAJE) ,โรคติดเชื้อไวรัสโรตา (ROTA) และโรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี (HPV) รวมทั้งการไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคระบาด เนื่องจากประชาชนยังขาดความตระหนักในการป้องกันโรค คิดว่าไม่มีความสำคัญ แต่เมื่อโรคเกิดขึ้นทำความสูญเสียให้กับประชาชนและภาพรวมของประเทศ ดังนั้นการป้องกัน ควบคุม และสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีน เป็นการป้องกันโรค ลดการป่วยที่รุนแรงและลดการเสียชีวิตในประชากรกลุ่มเป้าหมายได้ จึงจำเป็นที่บุคลากรทางสาธารณสุขควรตระหนักให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญต่อการกำจัดโรคและป้องกันไม่ให้ประชาชนได้รับโรคติดต่อโดยเฉพาะกลุ่มโรคที่ป้องกันได้โดยวัคซีนและโรคที่ป้องกันได้ด้วยตนเอง
จากรายงานสถานการณ์โรคของศูนย์ระบาดวิทยา อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ปี พ.ศ.๒๕๖๖ พบจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๓๑ รายคิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ๑๓๔.๓๙ จากรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกของรพ.สต.บ้านนาทอน ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ พบจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีจำนวน ๑๑ รายคิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร เท่ากับ ๒๔๔.๔๕และพบผู้ป่วยโรควัณโรครายใหม่ในทุกๆปีดังนี้ปี ๒๕๖๒ ๒ ราย,ปี ๒๕๖๓ ๑ ราย, ปี ๒๕๖๔ ๒ ราย, ปี ๒๕๖๕ ๑ ราย,ปี ๒๕๖๖ ๒ ราย และในปี ๒๕๖๗ (ไตรมาสแรก) พบ ๑ รายซึ่งนับว่าเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังและต้องค้นผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงเพื่อรับการรักษาให้ทันถ่วงทีเพื่อลดการติดต่อ ร่วมทั้งโรคติดต่ออื่นๆที่พบได้ในทุกๆปีเช่น ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรคในเด็กที่ป้องกันด้วยวัคซีน แล้วยังพบว่าเกิดจากสภาวะแวดล้อมของชุมชนร่วมทั้งการรับรู้เรื่องโรคของประชาชนยังน้อยซึ่งเป็นปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรค ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคติดต่อต่างๆ เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคโรคต่างๆจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชนตระหนักและเพื่อเป็นการดูแลผู้ป่วยและเฝ้าระวังโรคติดต่อที่สำคัญแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอน
ดังนั้นเพื่อให้การป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดต่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลบ้านนาทอนจึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อและโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เพื่อเป็นการสร้างกระแสและกระตุ้นให้ประชาชนได้รับทราบและเกิดความพร้อมในการป้องกันโรค รวมทั้งให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้และมีความตระหนักถึงความสำคัญของการรับวัคซีนเนื่องจากมีวัคซีนชนิดใหม่ๆเพิ่มขึ้นที่สามารถป้องกันโรคได้ พร้อมทั้งให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑ เพื่อให้อสม.และกลุ่มเสี่ยงวัณโรคมีความรู้และวิธีป้องกันโรคได้ถูกต้อง

อสม.และกลุ่มเสี่ยงวัณโรคที่ผ่านการอบรมได้รับความรู้และวิธีป้องกันโรค ร้อยละ ๑๐๐

0.00
2 ข้อที่ ๒ เพื่อให้อสม.มีความรู้และทักษะการปฏิบัติในการค้นหาคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนได้ถูกต้อง

อสม.มีความรู้และทักษะการปฏิบัติในการค้นหาคัดกรองผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ร้อยละ ๑๐๐

0.00
3 ข้อที่ ๓ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยด้วยด้วยโรควัณโรคได้รับการดูแลติดตาม

กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยด้วยด้วยโรควัณโรคได้รับการดูแลติดตาม ร้อยละ ๑๐๐

0.00
4 ข้อที่ ๔ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่และวิธีป้องกันโรค

กลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่และวิธีป้องกันโรค ร้อยละ ๙๕

0.00
5 ข้อที่ ๕ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่ได้รับวัคซีนไม่น้อยว่าร้อยละ ๙๕

0.00
6 ข้อที่ ๖ เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก ๐-๕ ปี ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคที่ป้องกันด้วยวัคซีนที่จำเป็นต้องได้รับตามเกณฑ์และการดูแลหลังรับวัคซีนต่างๆอย่างถูกต้อง

ผู้ปกครองเด็ก ๐-๕ ปี ที่ผ่านการอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคที่ป้องกันด้วยวัคซีนที่จำเป็นต้องได้รับตามเกณฑ์และการดูแลหลังรับวัคซีนต่างๆอย่างถูกต้อง ร้อยละ ๑๐๐

0.00
7 ข้อที่ ๗. เพื่อให้เด็กอายุ ๐-๕ ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

เด็ก ๐-๕ ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆตามเกณฑ์อายุ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕

0.00
8 ข้อที่ ๘. เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (HI) ไม่เกิน ๑๐ อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (HI) ไม่เกิน ๑๐ อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

0.00
9 ข้อที่ ๙. เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.นาทอน

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (CI) ให้เป็น ๐ ในเขต

0.00
10 ข้อที่ ๑๐. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย ลดลง กว่าปีที่ผ่านมา และอัตราป่วย ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ

ชื่อกิจกรรม
๑.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ๒.ประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่ ม.๑, ม.๒, ม.๓, ม.๖ และ ม.๗ ต.นาทอน

ชื่อกิจกรรม
๒.ประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่ ม.๑, ม.๒, ม.๓, ม.๖ และ ม.๗ ต.นาทอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ๓.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ จนท.และอสม.

ชื่อกิจกรรม
๓.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ จนท.และอสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ๔. กิจกรรมควบคุมโรควัณโรค

ชื่อกิจกรรม
๔. กิจกรรมควบคุมโรควัณโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

***๔.๑ จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม.,กลุ่มเสี่ยง ( ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค,ผู้ป่วยเบาหวาน , ผู้ป่วยโรคHIV และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป)จำนวน 50 คน เกี่ยวกับการ การดูแล ป้องกัน และควบคุมโรควัณโรคในกลุ่มเสี่ยง ***๔.๒ คัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค ***๔.๓ ออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคพร้อมการกำกับการกินยาแบบ Dot
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๕๐ คน คนๆละ ๕๐ บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน ๕๐ คน จำนวน ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท - ค่าวัสดุในการจัดอบรมจำนวน๕๐ ชุด ๆละ ๗๐ เป็นเงิน ๓,๕๐๐ บาท - ค่าเอกสารในการคัดกรองจำนวน ๑,๐๐๐ ชุด ๆละ ๒ บาท เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท - ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน ๕๐๐ บาท - ค่าวิทยากรในการอบรม๑ คน จำนวน ๕ ชม.ๆ ละ ๓๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

กิจกรรมที่ 5 ๕. กิจกรรมการดำเนินงานโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ชื่อกิจกรรม
๕. กิจกรรมการดำเนินงานโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๕. กิจกรรมการดำเนินงานโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ***๕.๑ โรคไข้หวัดใหญ่ - กิจกรรมอบรมให้ความรู้ก่อนการให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 300 คน
- บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๓๐๐ คนๆ ละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๗,๕๐๐ บาท (แบ่งเป็น ๓ รุ่นๆละ ๑๐๐ คน) -ค่าเอกสารคักกรอง/ใบซักประวัติผู้รับบริการฉีดวัคซีนจำนวน ๓๐๐ ชุดๆละ ๒ บาท เป็นเงิน ๖๐๐ บาท ***๕.๒ อบรมผู้ปกครองเด็กอายุ ๐ - ๕ ปี เกี่ยวกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่จำเป็นต้องได้รับตามเกณฑ์และการดูแลหลังรับวัคซีนต่างๆ จำนวน ๕๐ คน - ออกติดตามพร้อมทั้งรณรงค์การฉีดวัคซีนในพื้นที่ ม.๑,ม.๒,ม.๓,ม.๖,ม.๗ ต.นาทอน - ค่าอาหารกลาง จำนวน ๕๐ คน คนๆละ ๕๐ บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน ๕๐ คน จำนวน ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม จำนวน ๕๐ ชุดๆละ ๗๐ บาท เป็นเงิน ๓,๕๐๐ บาท - ค่าวิทยากรในการอบรม1 คน จำนวน ๕ ชม.ๆ ละ ๓๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18100.00

กิจกรรมที่ 6 ๖.กิจกรรมรณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกย้ำยุงลายพร้อมการจัดการสิ่งแวดล้อม ในมัสยิด โรงเรียน และสถานที่ราชการใน ม.๑,ม.๒,ม.๓,ม.๖,ม.๗ ต.นาทอน

ชื่อกิจกรรม
๖.กิจกรรมรณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกย้ำยุงลายพร้อมการจัดการสิ่งแวดล้อม ในมัสยิด โรงเรียน และสถานที่ราชการใน ม.๑,ม.๒,ม.๓,ม.๖,ม.๗ ต.นาทอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าป้ายไวนิลความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกป้องกันได้โดยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยใช้มาตราการ ๕ ป ๒ ข จำนวน ๕ ป้ายๆละ ๔๐๐ บาท เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 7 ๗.กิจกรรมควบคุมโรคโรคไข้เลือดออก โดยจนท.รพสต.และ จนท.จาก อบต.นาทอน

ชื่อกิจกรรม
๗.กิจกรรมควบคุมโรคโรคไข้เลือดออก โดยจนท.รพสต.และ จนท.จาก อบต.นาทอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 8 ๘.สรุปและรวบรวมผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
๘.สรุปและรวบรวมผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. อสม.และกลุ่มเสี่ยงต่อโรควัณโรคที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และวิธีป้องกันโรค ร้อยละ ๑๐๐
๒. อสม.มีความรู้และทักษะการปฏิบัติในการค้นหาคัดกรองผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ร้อยละ ๑๐๐
๓. กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยด้วยด้วยโรควัณโรคได้รับการดูแลติดตาม ร้อยละ ๑๐๐
๔. กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่และวิธีป้องกันโรค ร้อยละ ๙๕
๕. กลุ่มเสี่ยงได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ร้อยละ ๙๕
๖. ผู้ปกครองเด็ก ๐-๕ ปี ที่ผ่านการอบรม ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคที่ป้องกันด้วยวัคซีนที่จำเป็นต้องได้รับตามเกณฑ์และการดูแลหลังรับวัคซีนต่างๆอย่างถูกต้อง ร้อยละ ๑๐0
๗. เด็กอายุ ๐-๕ ปีได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ร้อยละ ๙๕
๘. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่าHI) ไม่เกิน ๑๐ อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
๙. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (ค่าCI) เป็น 0 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
๑๐. อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายลดลง ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร


>