กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรู้จักตัวเอง รู้จักปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงบ้านบุโบย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านบุโบย

1.นายดาแนน โกบเม็ง
2.นางสาวฆอดีญะฮ์ พูนขาว
3.นางวารีรัต เกนุ้ย
4.นางมิหยน เกนุ้ย
5.นางมรีหนี จิมาร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่นกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจโดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นมีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกิน
การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
จากสถานการณ์การคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในประชากร 35 ปีขึ้นไป ในหมู่บ้านหมู่ 3 บ้านบุโบย ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2566 จำนวนประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 445 คน ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงฯ 429 คน คิดเป็นร้อยละ 96.40 พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 22.84 กลุ่มสงสัยป่วยจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 2.09 พบผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ 3 คน และ กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 31.23 กลุ่มสงสัยป่วยจำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 6.76 พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงใหม่ 6 คน
ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านบุโบย จึงเล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการรู้จักตัวเอง รู้จักปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงบ้านบุโบย โดยให้เกิดการวิเคราะห์ตัวเอง หาจุดดี จุดด้อย พร้อมปรับเปลี่ยนแก้ไข ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชนเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ มากกว่าร้อยละ 50

50.00
2 เพื่อให้มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชุมชน

มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชุมชน อย่างน้อย 1 คน

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่

ผู้เข้าร่วมโครงการมีอัตราการเกิดผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ น้อยกว่าร้อยละ 5

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมกิจกรรมรู้จักตัวเอง รู้จักปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ให้กับกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมกิจกรรมรู้จักตัวเอง รู้จักปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ให้กับกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน คนละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน คนละ 80   บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าวัสดุจัดทำเอกสารคู่มือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 50 เล่ม เล่มละ 40 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
    เป็นเงินทั้งสิ้น 8,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

กิจกรรมที่ 2 2.ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กิจกรรมให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมอบรม ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แลกเปลี่ยนปัญหา อุปสรรค แรงบันดาลใจที่ทำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้สำเร็จ เดือนละ 1 ครั

ชื่อกิจกรรม
2.ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กิจกรรมให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมอบรม ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แลกเปลี่ยนปัญหา อุปสรรค แรงบันดาลใจที่ทำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้สำเร็จ เดือนละ 1 ครั
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน คนละ 25 บาท 3 มื้อ เป็นเงิน 3,750 บาท
    เป็นเงินทั้งสิ้น 3,750 บาท
    • ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยจัดกิจกรรมให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมอบรม ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แลกเปลี่ยนปัญหา อุปสรรค แรงบันดาลใจที่ทำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้สำเร็จ เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำเอกสารรูปเล่ม จำนวน  2 เล่ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเอกสารสรุปผลการดำเนินกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
240.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,490.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกิดผลลัพธ์เปลี่ยนแปลงเป็นกลุ่มปกติ
2. มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในชุมชน
3. อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง


>