กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้จักตัวเอง รู้จักปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงบ้านบุโบย
รหัสโครงการ 2567-L5314-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านบุโบย
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 12,490.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นายดาแน็น โกบเม็ง 2. นางสาวฆอดีญะฮ์ พูนขาว 3. นางวารีรัต เกนุ้ย 4. นางมิหยน เกนุ้ย 5. นางมริหนี จิมาร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่นกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจโดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นมีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกิน
การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่ จากสถานการณ์การคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในประชากร 35 ปีขึ้นไป ในหมู่บ้านหมู่ 3 บ้านบุโบย ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2566 จำนวนประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 445 คน ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงฯ 429 คน คิดเป็นร้อยละ 96.40 พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 22.84 กลุ่มสงสัยป่วยจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 2.09 พบผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ 3 คน และ กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 31.23 กลุ่มสงสัยป่วยจำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 6.76 พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงใหม่ 6 คน ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านบุโบย จึงเล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการรู้จักตัวเอง รู้จักปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงบ้านบุโบย โดยให้เกิดการวิเคราะห์ตัวเอง หาจุดดี จุดด้อย พร้อมปรับเปลี่ยนแก้ไข ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชนเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ มากกว่าร้อยละ 50

50.00
2 เพื่อให้มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชุมชน

มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชุมชน อย่างน้อย 1 คน

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่

ผู้เข้าร่วมโครงการมีอัตราการเกิดผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ น้อยกว่าร้อยละ 5

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,490.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 23 ก.พ. 67 จัดอบรมกิจกรรมรู้จักตัวเอง รู้จักปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ให้กับกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 1 วัน 0 8,500.00 -
1 พ.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 2.ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กิจกรรมให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมอบรม ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แลกเปลี่ยนปัญหา อุปสรรค แรงบันดาลใจที่ทำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้สำเร็จ เดือนละ 1 ครั 0 3,750.00 -
1 - 30 ก.ย. 67 สรุปผลกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ 0 240.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกิดผลลัพธ์เปลี่ยนแปลงเป็นกลุ่มปกติ
  2. มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในชุมชน
  3. อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2567 14:04 น.