กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะในพื้นที่ตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

กลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน

1.นางฮอดีย๊ะ ตะหวัน ตำแหน่ง ประธานกลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน เบอร์ติดต่อ 090-7122360
2.นางยามีล๊ะ ยะโกบ ตำแหน่ง รองประธานกลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน เบอร์ติดต่อ 083-1838783
3.นายสุทัศน์ หาบยูโซ๊ะ ตำแหน่ง เหรัญญิกประธานกลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน เบอร์ติดต่อ 080-05477120
4.นางภัทรวรรณ ยะโกบ เลขานุการกลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน เบอร์ติดต่อ 089-7394147
5.นางสุริยะ สหับดิน ตำแหน่ง กรรมการกลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน เบอร์ติดต่อ 084-6916324
ที่ปรึกษากลุ่ม
1.นายอุหมาด ล่าดี้ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เบอร์ติดต่อ 081-542-1514
2.นางปทุมมาศ โลหะจินดา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน เบอร์ติดต่อ
3.นางเกศวรางค์ สารบัญ ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข เบอร์ติดต่อ 085-077-7917
4.นางสาวนัสนา เต๊ะหมัน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ เบอร์ติดต่อ 089-4623581
5.นางสุกัญญา ลัสมาน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์ติดต่อ 086-0810676

ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหนะนำโรค ในอดีตที่ผ่านมามักมีการระบาดในฤดูฝนเพราะมีแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายมากแต่ปัจจุบันได้มีการระบาดได้ตลอดทั้งปี ปัจจุบันโรคไข้เลือดออก มีการระบาดกระจายทั่วประเทศ ทุกจังหวัด และอำเภอ การกระจายของโรคมีการเปลี่ยนแปลง ตามพื้นที่อยู่ตลอดเวลา ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการแพร่กระจายของโรคมีความซับซ้อนและแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และยังมีส่วนทำให้รูปแบบการเกิดโรคมีความผันแปรในแต่ละปี จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ.2566 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2566) มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก สะสม 79,475 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 120.25 ต่อแสนประชากร ผู้เสียชีวิต 73 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.09 ต่อแสนประชากร จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล โรงพยาบาลสตูลได้รับรายงานผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 14 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 12.3 ต่อประชากรแสนคน พบผู้ป่วยเพศหญิง 8 ราย เพศชาย 6 ราย อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1: 0.7 กลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือกลุ่มอายุ 0-4 ปี,อายุ 5 - 9 ปี และอายุ 10 - 14 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากัน โดยกลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มวัยเรียน จากการเปรียบเทียบผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก ปี 2567 กับค่า Median 5 ปีย้อนหลัง พบว่าเริ่มมีการระบาดตั้งแต่ต้นปี ทางงานระบาดได้เน้นให้พื้นที่ทำตามมาตรการ 3-3-1 อย่างเข้มงวดเมื่อเจอผู้ป่วยมนพื้นที่ (ข้อมูลจาก E1 โรคไข้เลือดออก งานระบาดวิทยา โรงพยาบาลสตูล ณ กุมภาพันธ์ 2567)ซึ่งหากขาดการดำเนินการควบคุมป้องกันอย่างต่อเนื่องก็อาจมีแนวโน้มที่จะพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรายใหม่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการควบคุมป้องกันที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นจะต้องร่วมมือกันทุกๆฝ่าย ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน โรงเรียน มัสยิด วัด อาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน และประชาชนทั่วไป ร่วมมือบูรณาการเพื่อป้องกันควบคุมโรคดังกล่าว
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญในการป้องกันโรค กลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบ้านควน ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการควบคุม ป้องกัน การเกิดโรคที่มียุงเป็นพาหะในเขตพื้นที่ตำบลบ้านควน

ผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออกได้รับการสอบสวนโรค ร้อยละ 100

80.00 100.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

50.00 80.00
3 3.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ประชากรป่วยจากโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 11,321
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพ่นสารเคมี กำจัดยุงตัวแก่ในพื้นที่ตำบลบ้านควน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพ่นสารเคมี กำจัดยุงตัวแก่ในพื้นที่ตำบลบ้านควน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.ควบคุมทำลายตัวแก่โดยการพ่นสารเคมีกำจัดยุง ก่อนการระบาดของโรคและช่วงการระบาดของโรคไข้เลือดออก
2.ดำเนินการควบคุมโรคกรณีการพบผู้ป่วย รัศมี 100 เมตร
3.ดำเนินการควบคุมป้องกันโรคในสถานศึกษาในช่วงก่อนเปิดภาคเรียน และมัสยิด 4.ติดตามและสรุปผลการดำเนินกิจกรรม รายละเอียดงบประมาณ
1.ค่าจ้างเหมาอาสาสมัครพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ในสถานศึกษาช่วงการระบาด โดย การพ่นสารเคมีกำจัดตัวแก่พื้นที่สาธารณะ คือ มัสยิด โรงเรียน ศพด. พื้นที่สาธารณะแห่งๆละ 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ เป็นเงิน 12,000.- บาท
2.ค่าจ้างเหมาพ่นสารเคมีควบคุม ระงับโรค กรณีได้รับแจ้งการป่วยหรือเหตุอื่นๆ จาก รพ.สต .เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.ประชาชนในพื้นที่ เป็นเงิน 35,000.- บาท
3.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการฉีดพ่น เป็นเงิน 3,500.- บาท
4.ค่าผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดยุง จำนวน 2 ขวดๆละ 1,650.- บาท เป็นเงิน 3,300.- บาท
5.ค่าทรายทีมีฟอส จำนวน 6 ถังๆละ 3,000.- บาท เป็นเงิน 18,000.-บาท
6.โลชั่นทากันยุง จำนวน 250 ซองๆละ 10.- บาท เป็นเงิน 2,500.- บาท
7.สเปรย์กำจัดยุง ขนาด 300 มล. จำนวน 60 กระป๋องๆละ 85.- บาท เป็นเงิน 5,100.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
79400.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบ้านควนทั้ง 7 หมู่บ้าน จำนวน 7 ครั้ง
รายละเอียดงบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 7 ครั้งๆละ 35 คนๆละ 30.- บาท เป็นเงิน 7,350.- บาท
2.ค่าป้ายโฟมบอร์ด ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก จำนวน 7 ป้ายๆละ 150.- บาท เป็นเงิน 1,050.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 87,800.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อสามารถควบคุมป้องกันการเกิดโรคที่มียุงลายเป็นพาหะได้
2.เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ เกิดความตระหนักในการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ
3.เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้


>