กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะในพื้นที่ตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5307-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 87,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮอดีย๊ะ ตะหวัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 11321 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหนะนำโรค ในอดีตที่ผ่านมามักมีการระบาดในฤดูฝนเพราะมีแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายมากแต่ปัจจุบันได้มีการระบาดได้ตลอดทั้งปี ปัจจุบันโรคไข้เลือดออก มีการระบาดกระจายทั่วประเทศ ทุกจังหวัด และอำเภอ การกระจายของโรคมีการเปลี่ยนแปลง ตามพื้นที่อยู่ตลอดเวลา ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการแพร่กระจายของโรคมีความซับซ้อนและแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และยังมีส่วนทำให้รูปแบบการเกิดโรคมีความผันแปรในแต่ละปี จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ.2566 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2566) มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก สะสม 79,475 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 120.25 ต่อแสนประชากร ผู้เสียชีวิต 73 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.09 ต่อแสนประชากร จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล โรงพยาบาลสตูลได้รับรายงานผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 14 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 12.3 ต่อประชากรแสนคน พบผู้ป่วยเพศหญิง 8 ราย เพศชาย 6 ราย อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1: 0.7 กลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือกลุ่มอายุ 0-4 ปี,อายุ 5 - 9 ปี และอายุ 10 - 14 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากัน โดยกลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มวัยเรียน จากการเปรียบเทียบผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก ปี 2567 กับค่า Median 5 ปีย้อนหลัง พบว่าเริ่มมีการระบาดตั้งแต่ต้นปี ทางงานระบาดได้เน้นให้พื้นที่ทำตามมาตรการ 3-3-1 อย่างเข้มงวดเมื่อเจอผู้ป่วยมนพื้นที่ (ข้อมูลจาก E1 โรคไข้เลือดออก งานระบาดวิทยา โรงพยาบาลสตูล ณ กุมภาพันธ์ 2567)ซึ่งหากขาดการดำเนินการควบคุมป้องกันอย่างต่อเนื่องก็อาจมีแนวโน้มที่จะพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรายใหม่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการควบคุมป้องกันที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นจะต้องร่วมมือกันทุกๆฝ่าย ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน โรงเรียน มัสยิด วัด อาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน และประชาชนทั่วไป ร่วมมือบูรณาการเพื่อป้องกันควบคุมโรคดังกล่าว
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญในการป้องกันโรค กลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะในพื้นที่ตำบลบ้านควน ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการควบคุม ป้องกัน การเกิดโรคที่มียุงเป็นพาหะในเขตพื้นที่ตำบลบ้านควน

ผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออกได้รับการสอบสวนโรค ร้อยละ 100

80.00 100.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

50.00 80.00
3 3.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ประชากรป่วยจากโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00 0.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 87,800.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมพ่นสารเคมี กำจัดยุงตัวแก่ในพื้นที่ตำบลบ้านควน 0 79,400.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 รณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 8,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อสามารถควบคุมป้องกันการเกิดโรคที่มียุงลายเป็นพาหะได้
2.เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ เกิดความตระหนักในการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ
3.เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2567 16:16 น.