กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่าเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน แรกของชีวิต สู่ครอบครัวคุณภาพ ในปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่าเสา

ชมรมนมแม่เทศบาลตำบลท่าเสา

นางอัมพรศักดี

1.ห้องประชุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเสา2.ศาลาการเปรียญวัดท่ามะไฟ ต.ท่าเสา อ.โพทะเล จ.พิจิตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

1,000 วันแรกของชีวิต นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรก เป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุด ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดยช่วง 270 วัน อยู่ในท้องแม่ แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ให้ลูกกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย เพื่อเป็นการเตรียมสมอง ร่วมกับการพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทย ให้มีคุณภาพ
ผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเสาที่ดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายประกอบด้วย หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์,หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ และหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 94.74 ,89.47 และ 100ซึ่งเป้าหมายกำหนดไว้ ร้อยละ 75 , 75 และ 75 ตามลำดับ ( HDC : 30 กันยายน 2565) หญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดพบภาวะโลหิตจางร้อยละ 3.57ทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 91.43 ผลการคัดกรองพัฒนาการเด็กด้วย DSPM ตามกลุ่มวัย ร้อยละ 90.66ตรวจพัฒนาการเด็กพบสงสัยล่าช้า ร้อยละ 21.43(เป้าหมาย ร้อยละ 20 ) ( HDC : 30 กันยายน 2565)ได้รับการส่งต่อ จำนวน 5 รายและเด็ก 3 ปี มีฟันผุในฟันน้ำนมได้รับการตรวจร้อยละ 83.78พบฟันผุ ร้อยละ 32.26( HDC : 30 กันยายน 2565)
จากสถานการณ์ดังกล่าว พบว่างานพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก เป็นงานที่สำคัญที่จะทำให้เด็กเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพ โดยจะต้องมีกระบวนการดูแลพ่อแม่ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ และการดูแลในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งผลให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย และเด็กมีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน และจำเป็นต้องมีกระบวนการบูรณาการ 4 กระทรวงหลัก เพื่อเป้าหมายเด็กไทยแข็งแรง เก่งดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ตามแนวทางการพัฒนาและอภิบาลระบบสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน เน้นฐานการแก้ปัญหา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และครอบครัวจึงจัดทำโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต สู่ครอบครัวคุณภาพเพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก แม่เกิดรอดลูกปลอดภัย และเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำนมแม่ตำบลท่าเสาในการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-2 ปี

 

0.00
2 เพื่ออบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก อายุ 0-2 ปี ในการดูแลส่งเสริมการดูแลสุขภาพอย่างสมวัยและเหมาะสม

 

0.00
3 เพื่อจัดกิจกรรมประกวดหนูน้อยสุขภาพดี เพื่อสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมสุขภาพในเด็ก 0-2 ปี

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เสนอแผน/กิจกรรม/โครงการ ต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น /ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เขียนโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ /ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 1 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมเเกนนำ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเเกนนำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแกนนำนมแม่เพื่อนำเสนอปัญหา/ อุปสรรค และติดตามการทำงานของแกนนำนมแม่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 4 การอบรม

ชื่อกิจกรรม
การอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำนมแม่ หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0-2 ปี เรื่องมหัศจรรย์  1,000 วัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 5 เยี่ยมหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และทารกแรกเกิด-อายุ 2 ปี

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 1 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลเด็ก อายุ 0-2 ปี
2.เด็กตำบลท่าเสามีฟันผุลดลง
3.เด็กตำบลท่าเสามีโภชนาการสมส่วนและพัฒนาการสมวัยพร้อมเข้าสู่ศูนย์เด็กเล็ก
4.สตรีที่กำลังจะมีบุตรได้รับวิตามินโฟลิกแอซิดก่อนตั้งครรภ์


>