กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน แรกของชีวิต สู่ครอบครัวคุณภาพ ในปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมนมแม่เทศบาลตำบลท่าเสา
วันที่อนุมัติ 30 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัมพร ศักดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเสา อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1,000 วันแรกของชีวิต นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรก เป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุด ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดยช่วง 270 วัน อยู่ในท้องแม่ แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ให้ลูกกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย เพื่อเป็นการเตรียมสมอง ร่วมกับการพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทย ให้มีคุณภาพ
ผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเสาที่ดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายประกอบด้วย หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์,หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ และหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 94.74 ,89.47 และ 100ซึ่งเป้าหมายกำหนดไว้ ร้อยละ 75 , 75 และ 75 ตามลำดับ ( HDC : 30 กันยายน 2565) หญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดพบภาวะโลหิตจางร้อยละ 3.57ทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 91.43 ผลการคัดกรองพัฒนาการเด็กด้วย DSPM ตามกลุ่มวัย ร้อยละ 90.66ตรวจพัฒนาการเด็กพบสงสัยล่าช้า ร้อยละ 21.43(เป้าหมาย ร้อยละ 20 ) ( HDC : 30 กันยายน 2565)ได้รับการส่งต่อ จำนวน 5 รายและเด็ก 3 ปี มีฟันผุในฟันน้ำนมได้รับการตรวจร้อยละ 83.78พบฟันผุ ร้อยละ 32.26( HDC : 30 กันยายน 2565)
จากสถานการณ์ดังกล่าว พบว่างานพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก เป็นงานที่สำคัญที่จะทำให้เด็กเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพ โดยจะต้องมีกระบวนการดูแลพ่อแม่ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ และการดูแลในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งผลให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย และเด็กมีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน และจำเป็นต้องมีกระบวนการบูรณาการ 4 กระทรวงหลัก เพื่อเป้าหมายเด็กไทยแข็งแรง เก่งดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ตามแนวทางการพัฒนาและอภิบาลระบบสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน เน้นฐานการแก้ปัญหา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และครอบครัวจึงจัดทำโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต สู่ครอบครัวคุณภาพเพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก แม่เกิดรอดลูกปลอดภัย และเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำนมแม่ตำบลท่าเสาในการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-2 ปี

 

100.00
2 เพื่ออบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก อายุ 0-2 ปี ในการดูแลส่งเสริมการดูแลสุขภาพอย่างสมวัยและเหมาะสม

 

100.00
3 เพื่อจัดกิจกรรมประกวดหนูน้อยสุขภาพดี เพื่อสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมสุขภาพในเด็ก 0-2 ปี

 

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7,500.00 0 0.00
1 - 30 พ.ย. 65 ขั้นดำเนินการ 0 0.00 -
1 ธ.ค. 65 ขั้นดำเนินการ 0 0.00 -
1 - 28 ก.พ. 66 ประชุมเเกนนำ 0 1,000.00 -
1 - 31 มี.ค. 66 การอบรม 0 6,500.00 -
1 มี.ค. 66 - 1 ส.ค. 66 เยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลเด็ก อายุ 0-2 ปี 2.เด็กตำบลท่าเสามีฟันผุลดลง
3.เด็กตำบลท่าเสามีโภชนาการสมส่วนและพัฒนาการสมวัยพร้อมเข้าสู่ศูนย์เด็กเล็ก
4.สตรีที่กำลังจะมีบุตรได้รับวิตามินโฟลิกแอซิดก่อนตั้งครรภ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2567 00:00 น.