กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมระบบอาหารและโภชนาการ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านโภชนาการเด็กโตสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทรายขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมระบบอาหารและโภชนาการ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านโภชนาการเด็กโตสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทรายขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบบอาหารที่ยั่งยืน คือเป้าหมายการพัฒนาของสหประชาชาติและประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกยุติความหิวโหยโดยการส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร การยกระดับโภชนาการ และการส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี เริ่มเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ถึง สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๗๓ ดังนั้นทั่วโลกจึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนการผลิตอาหารให้มีประสิทธิภาพเพื่อครอบคลุมประชาชนที่ยากจน เปราะบาง ด้อยโอกาส หญิงวัยวุ่น หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ทารก และผู้สูงอายุ ได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการและพอเพียง และเพื่อลดภาวะแคระและผอมแห้งในเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี สำหรับประเทศไทยมีกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖0 – ๒๕๗๙) เป็นทิศทางการพัฒนาระบบอาหารและโภชนาการโดยมีวิสัยทัศน์ว่า “ ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการการ เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อชาวไทยและชาวโลกอย่างยั่งยืน”
สถานการณ์ระบบอาหารและโภชนาการของภาคใต้ พบว่า ภาคใต้เป็นแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจหลัก คือยางพารา ปาล์มน้ำมันและไม้ผล ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของพืชหลักเกือบทุกชนิดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาคใต้และประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ จำนวนปศุสัตว์ในภาพรวมมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ปริมาณสัตว์น้ำ ณ ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี มีจำนวน ๘๔,๗๖๒ ตัน หดตัวจากปีก่อน ร้อยละ ๑๕.๕ เมื่อราคาผลผลิตตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อรายได้ครัวเรือน โดยปี ๒๕๖๒ พบว่า จังหวัดปัตตานี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนสูงสุด คือ ๒๒,๙0๓.๘๔ บาท/ครัวเรือน จังหวัดนราธิวาส ๑๗,๗๑๖ บาท/ครัวเรือน จังหวัด

2

ยะลา คือ ๑๖,๕๘๘.๑๕ บาท/ครัวเรือนและสงขลา คือ๒๖,๗0๓ บาท/ครัวเรือน และสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา (โควิด-๑๙) พบว่าประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ร้อยละ ๘๓.๖ มีรายได้ลดลงและร้อยละ ๗๕ ได้รับผลกระทบด้านการประกอบอาชีพ สำหรับภาวะโภชนาการของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานีและยะลา ปี ๒๕๖๔ พบว่าเด็กมีสภาวะเตี้ยในจังหวัดนราธิวาส ๑๕.๓๗ ยะลา ๑๓.๗๒ ปัตตานี ๑๑.๙๓ ในขณะที่ระดับประเทศพบเพียงร้อยละ ๑0.๕๖ ถือเป็นปัญหาด้านการเจริญเติบโตหรือภาวะทุพโภชนาการเรื้อรัง ของเด็กสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกี่ยวข้องปัจจัยด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม ได้แก่ อาชีพ การศึกษาของแม่และผู้ดูแลเด็ก และรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี ๒๕๖๑ พบว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกลุ่มจังหวัดทีมีรายได้ประชากรอยู่ในกลุ่มต่ำที่สุดของประเทศมาต่อเนื่องยาวนานนับสิบปี ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาพื้นฐานสำคัญที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ในชุมชนมีระบบส่งเสริมโภชนาการที่เป็นรูปธรรม คือ โครงการอาหารกลางวันของนักเรียน โดยมีเป้าหมายให้เด็กนักเรียนได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างพอเพียงเหมาะสมกับวัย แต่จากการศึกษาของสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ผศ.ดร.ลักขณา ไชยมงคล ในช่วงประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอาหารกลางวัน ดังนี้
๑. อาหารกลางวันที่มีการจัดการบริการพลังงาน และสารอาหารหลักพอเพียงตามมาตรฐาน แต่ยังไม่เพียงพอในส่วนของสารอาหารที่ร่างกายต้องการปริมาณน้อยบางชนิด ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี ธาตุเหล็กแคลเซี่ยม ใยอาหาร อาจจะมีสาเหตุมาจากครูยังมีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอในเรื่องการจัดอาหารกลางวันให้ได้มาตรฐาน
๒. ครูและผู้ปรุงอาหารยังมีความรู้ไม่เพียงพอในการบูรณาการความรู้โภชนาการ รวมถึงการจัดบริการอาหารให้มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอตามมาตรฐาน อย่างไรก็ตามครูและผู้ปรุงอาหารมีทัศนคติที่ดีต่อการส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียน นับเป็นโอกาสในการพัฒนา
๓. ศพด. ยังไม่มีการกำหนดนโยบายด้านอาหาร รวมถึงระบบการประเมินตนเองเพื่อการพัฒนา
ต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม เช่นในเรื่องของสถานที่เตรียมและปรุงอาหาร การเก็บรักษาอาหารที่เสร็จแล้วรอการจัดบริการ และสุขลักษณะของผู้ปรุงอาหาร
๔. การเสริมสร้างสมรรถนะของครูและผู้ปรุงอาหาร เช่น การอบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะยังมีจำกัด
การดำเนินงานด้านระบบอาหารและโภชนาการจำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายระดับท้องถิ่นที่บูรณาการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำดังนี้
๑. ต้นน้ำควรคำนึงแหล่งผลิตอาหารที่อยู่ทั้งที่ชุมชนผลิตเองและแหล่งอาหารตามธรรมชาติ
๒. กลางน้ำ ควรคำนึงถึงการกระจายผลผลิตอาหารเพื่อให้คนในชุมชนเข้าถึง
๓. ปลายน้ำ ควรคำนึงถึงความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการของประชาชน ควรมีนโยบายส่งเสริมการบริโภคที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เหมาะสมกับวัย

3
การแก้ไขปัญหาระบบอาหารและโภชนาการต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานระดับท้องถิ่น หน่วยงานรัฐเครือข่ายเกษตรกร กลุ่มต่างๆในชุมชน ร่วมกันออกแบบ กิจกรรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านอาหารและโภชนาการของแต่ละพื้นที่เป้าหมายคือการมีสุขภาวะที่ดีของประชาชนทุกวัย
ซึ่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงามีจำนวนนักเรียน 37 คน ที่ได้รับการชั่งน้ำหนักและพบภาวะโภชนาการบกพร่อง จำนวน 10 คนดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงา จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมระบบอาหารและโภชนาการ เพื่อแก้ปัญหาด้านโภชนาการเด็กโตสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงา เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ครูผู้ดูแลเด็ก แม่ครัว และผู้ปกครอง ได้ทราบถึงความสำคัญ เรื่อง ส่งเสริมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการและสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ ผู้ปกครอง ครูและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แต่ทั้งนี้จะต้องร่วมมือกันหลายอย่าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ

เด็กก่อนวัยเรียน ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ

3.00 42.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก 0 – 4 ปี

เด็กก่อนวัยเรียน มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

3.00 42.00
3 เพื่อยกระดับภาวะโภชนาการในชุมชน โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย

ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก 2- 4 ปี

3.00 42.00
4 เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ ผู้ปกครอง ครูและผู้ดูแลเด็กและ แม่ครัว ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงา มีสุขภาพอนามัยที่ดี เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน

3.00 42.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 42
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5.1 เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก 2 – 4 ปี ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา 5.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ทรายขาว
5.3 ประสานงานเจ้าหน้าด้านโภชนาการ โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลทรายขาว เพื่อเตรียมความพร้อม สถานที่ เด็ก 2-4 ปีและผู้ปกครองในกลุ่มเป้าหมาย ตามวันเวลาที่ออกดำเนินการ
5.4 ประชุมชี้แจงแก่คณะทำงาน
5.5 ดำเนินการตามโครงการ
5.5.1 จัดอบรมผู้ปกครอง 5.5.2 ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก แล้วแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์ อ้างอิง                      การเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 2 – 4 ปี กรมอนามัย

4 ๕.๕.๓ กำหนดนโยบายมาตรฐานอาหารกลางวัน เช่น เมนูอาหารกลางวันเพิ่ม ไข่ ตับ เต้าหู้ ผักและผลไม้ และการใช้วัตถุดิบอาหารกลางวันในชุมชน (ระบบฐานข้อมูล)หรือจากโครงการเกษตรในโรงเรียน ๕.๕.๔ การเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการเด็ก เช่น การชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง ประจำเดือน ๕.๕.๕ การส่งต่อข้อมูลด้านโภชนาการของเด็กเตี้ย เด็กผอม ให้กับผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และสร้างความรู้ ความเข้าใจการเลี้ยงดูเด็ก 5.5.๖ เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงา มีสุขภาพอนามัยที่ดี เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน 5.6 สรุป/ประเมินภาวะโภชนาการและรายงานผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

8.1 เด็กก่อนวัยเรียน ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ
8.2 เด็กก่อนวัยเรียน มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
8.3ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก 2- 4 ปี
8.4เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงา มีสุขภาพอนามัยที่ดี เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน


>