กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทรายขาว รหัส กปท. L2977

อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมระบบอาหารและโภชนาการ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านโภชนาการเด็กโตสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงา
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
3.
หลักการและเหตุผล

ระบบอาหารที่ยั่งยืน คือเป้าหมายการพัฒนาของสหประชาชาติและประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกยุติความหิวโหยโดยการส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร การยกระดับโภชนาการ และการส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี เริ่มเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ถึง สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๗๓ ดังนั้นทั่วโลกจึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนการผลิตอาหารให้มีประสิทธิภาพเพื่อครอบคลุมประชาชนที่ยากจน เปราะบาง ด้อยโอกาส หญิงวัยวุ่น หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ทารก และผู้สูงอายุ ได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการและพอเพียง และเพื่อลดภาวะแคระและผอมแห้งในเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี สำหรับประเทศไทยมีกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖0 – ๒๕๗๙) เป็นทิศทางการพัฒนาระบบอาหารและโภชนาการโดยมีวิสัยทัศน์ว่า “ ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการการ เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อชาวไทยและชาวโลกอย่างยั่งยืน” สถานการณ์ระบบอาหารและโภชนาการของภาคใต้ พบว่า ภาคใต้เป็นแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจหลัก คือยางพารา ปาล์มน้ำมันและไม้ผล ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของพืชหลักเกือบทุกชนิดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาคใต้และประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ จำนวนปศุสัตว์ในภาพรวมมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ปริมาณสัตว์น้ำ ณ ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี มีจำนวน ๘๔,๗๖๒ ตัน หดตัวจากปีก่อน ร้อยละ ๑๕.๕ เมื่อราคาผลผลิตตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อรายได้ครัวเรือน โดยปี ๒๕๖๒ พบว่า จังหวัดปัตตานี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนสูงสุด คือ ๒๒,๙0๓.๘๔ บาท/ครัวเรือน จังหวัดนราธิวาส ๑๗,๗๑๖ บาท/ครัวเรือน จังหวัด

2

ยะลา คือ ๑๖,๕๘๘.๑๕ บาท/ครัวเรือนและสงขลา คือ๒๖,๗0๓ บาท/ครัวเรือน และสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา (โควิด-๑๙) พบว่าประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ร้อยละ ๘๓.๖ มีรายได้ลดลงและร้อยละ ๗๕ ได้รับผลกระทบด้านการประกอบอาชีพ สำหรับภาวะโภชนาการของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานีและยะลา ปี ๒๕๖๔ พบว่าเด็กมีสภาวะเตี้ยในจังหวัดนราธิวาส ๑๕.๓๗ ยะลา ๑๓.๗๒ ปัตตานี ๑๑.๙๓ ในขณะที่ระดับประเทศพบเพียงร้อยละ ๑0.๕๖ ถือเป็นปัญหาด้านการเจริญเติบโตหรือภาวะทุพโภชนาการเรื้อรัง ของเด็กสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกี่ยวข้องปัจจัยด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม ได้แก่ อาชีพ การศึกษาของแม่และผู้ดูแลเด็ก และรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี ๒๕๖๑ พบว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกลุ่มจังหวัดทีมีรายได้ประชากรอยู่ในกลุ่มต่ำที่สุดของประเทศมาต่อเนื่องยาวนานนับสิบปี ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาพื้นฐานสำคัญที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในชุมชนมีระบบส่งเสริมโภชนาการที่เป็นรูปธรรม คือ โครงการอาหารกลางวันของนักเรียน โดยมีเป้าหมายให้เด็กนักเรียนได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างพอเพียงเหมาะสมกับวัย แต่จากการศึกษาของสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ผศ.ดร.ลักขณา ไชยมงคล ในช่วงประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอาหารกลางวัน ดังนี้ ๑. อาหารกลางวันที่มีการจัดการบริการพลังงาน และสารอาหารหลักพอเพียงตามมาตรฐาน แต่ยังไม่เพียงพอในส่วนของสารอาหารที่ร่างกายต้องการปริมาณน้อยบางชนิด ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี ธาตุเหล็กแคลเซี่ยม ใยอาหาร อาจจะมีสาเหตุมาจากครูยังมีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอในเรื่องการจัดอาหารกลางวันให้ได้มาตรฐาน ๒. ครูและผู้ปรุงอาหารยังมีความรู้ไม่เพียงพอในการบูรณาการความรู้โภชนาการ รวมถึงการจัดบริการอาหารให้มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอตามมาตรฐาน อย่างไรก็ตามครูและผู้ปรุงอาหารมีทัศนคติที่ดีต่อการส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียน นับเป็นโอกาสในการพัฒนา ๓. ศพด. ยังไม่มีการกำหนดนโยบายด้านอาหาร รวมถึงระบบการประเมินตนเองเพื่อการพัฒนา ต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม เช่นในเรื่องของสถานที่เตรียมและปรุงอาหาร การเก็บรักษาอาหารที่เสร็จแล้วรอการจัดบริการ และสุขลักษณะของผู้ปรุงอาหาร ๔. การเสริมสร้างสมรรถนะของครูและผู้ปรุงอาหาร เช่น การอบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะยังมีจำกัด การดำเนินงานด้านระบบอาหารและโภชนาการจำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายระดับท้องถิ่นที่บูรณาการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำดังนี้ ๑. ต้นน้ำควรคำนึงแหล่งผลิตอาหารที่อยู่ทั้งที่ชุมชนผลิตเองและแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ๒. กลางน้ำ ควรคำนึงถึงการกระจายผลผลิตอาหารเพื่อให้คนในชุมชนเข้าถึง ๓. ปลายน้ำ ควรคำนึงถึงความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการของประชาชน ควรมีนโยบายส่งเสริมการบริโภคที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เหมาะสมกับวัย

3 การแก้ไขปัญหาระบบอาหารและโภชนาการต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานระดับท้องถิ่น หน่วยงานรัฐเครือข่ายเกษตรกร กลุ่มต่างๆในชุมชน ร่วมกันออกแบบ กิจกรรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านอาหารและโภชนาการของแต่ละพื้นที่เป้าหมายคือการมีสุขภาวะที่ดีของประชาชนทุกวัย
ซึ่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงามีจำนวนนักเรียน 37 คน ที่ได้รับการชั่งน้ำหนักและพบภาวะโภชนาการบกพร่อง จำนวน 10 คนดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงา จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมระบบอาหารและโภชนาการ เพื่อแก้ปัญหาด้านโภชนาการเด็กโตสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงา เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ครูผู้ดูแลเด็ก แม่ครัว และผู้ปกครอง ได้ทราบถึงความสำคัญ เรื่อง ส่งเสริมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการและสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ ผู้ปกครอง ครูและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แต่ทั้งนี้จะต้องร่วมมือกันหลายอย่าง

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ
    ตัวชี้วัด : เด็กก่อนวัยเรียน ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ
    ขนาดปัญหา 3.00 เป้าหมาย 42.00
  • 2. เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก 0 – 4 ปี
    ตัวชี้วัด : เด็กก่อนวัยเรียน มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
    ขนาดปัญหา 3.00 เป้าหมาย 42.00
  • 3. เพื่อยกระดับภาวะโภชนาการในชุมชน โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย
    ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก 2- 4 ปี
    ขนาดปัญหา 3.00 เป้าหมาย 42.00
  • 4. เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ ผู้ปกครอง ครูและผู้ดูแลเด็กและ แม่ครัว ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
    ตัวชี้วัด : เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงา มีสุขภาพอนามัยที่ดี เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน
    ขนาดปัญหา 3.00 เป้าหมาย 42.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก
    รายละเอียด

    5.1 เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก 2 – 4 ปี ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา 5.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ทรายขาว
    5.3 ประสานงานเจ้าหน้าด้านโภชนาการ โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลทรายขาว เพื่อเตรียมความพร้อม สถานที่ เด็ก 2-4 ปีและผู้ปกครองในกลุ่มเป้าหมาย ตามวันเวลาที่ออกดำเนินการ
    5.4 ประชุมชี้แจงแก่คณะทำงาน
    5.5 ดำเนินการตามโครงการ
    5.5.1 จัดอบรมผู้ปกครอง 5.5.2 ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก แล้วแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์ อ้างอิง                      การเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 2 – 4 ปี กรมอนามัย

    4 ๕.๕.๓ กำหนดนโยบายมาตรฐานอาหารกลางวัน เช่น เมนูอาหารกลางวันเพิ่ม ไข่ ตับ เต้าหู้ ผักและผลไม้ และการใช้วัตถุดิบอาหารกลางวันในชุมชน (ระบบฐานข้อมูล)หรือจากโครงการเกษตรในโรงเรียน ๕.๕.๔ การเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการเด็ก เช่น การชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง ประจำเดือน ๕.๕.๕ การส่งต่อข้อมูลด้านโภชนาการของเด็กเตี้ย เด็กผอม ให้กับผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และสร้างความรู้ ความเข้าใจการเลี้ยงดูเด็ก 5.5.๖ เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงา มีสุขภาพอนามัยที่ดี เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน 5.6 สรุป/ประเมินภาวะโภชนาการและรายงานผล

    งบประมาณ 16,550.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 16,550.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

8.1 เด็กก่อนวัยเรียน ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ
8.2 เด็กก่อนวัยเรียน มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
8.3ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก 2- 4 ปี 8.4เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนลังงา มีสุขภาพอนามัยที่ดี เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทรายขาว รหัส กปท. L2977

อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทรายขาว
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทรายขาว รหัส กปท. L2977

อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 16,550.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................