กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา รหัส กปท. L4150

อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะกระดูกหักจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองยะหา
กลุ่มคน
นางสาวนูรยะห์ดอเล๊าะเซ็ง
3.
หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โครงสร้างด้านประชากรของประเทศไทยเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย” (Aged society) ตั้งแต่ ปี 2548 คือ มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึง ร้อยละ 10 และตามการคาดประมาณประชากรของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Complete aged society) เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนสูงถึง ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด และในปี 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super aged society) เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนสูงถึง ร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด สถิติอัตราการเกิดอุบัติการณ์เสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุได้ทวีความรุนแรงและ มีแนวโน้มสูงขึ้น จากข้อมูลมรณบัตร 6 ปีย้อนหลัง (2558-2562) ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ โดย กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค เผยแพร่ข้อมูล ณ วันที่ 15 มกราคม 2564 จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้ม (W00-W19) ในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปต่อประชากรแสนคน ในส่วนภาพรวมทั้งประเทศพบอัตราร้อยละ 11.1, 9.00, 10.2, 11.7 และ 11.84 ตามลำดับ แต่สถิติระดับประเทศ พบว่าประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปีมีสถิติการพลัดตกหกล้มอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และประมาณร้อยละ 50 มักเกิดอุบัติการณ์ซ้ำ รัฐบาลต้องเสียงบประมาณค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก สาเหตุจากความเสื่อมในการทำหน้าที่ของร่างกายตามวัย หรือการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุความสามารถในการมองเห็นลดลง ประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้และการสัมผัส ควบคุมการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของร่างกายทำหน้าที่ผิดปกติ การได้รับยาที่ออกฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ภาวะซึมเศร้า ภาวะเพ้อคลั่ง ความเครียด และความวิตกกังวล ความหวาดกลัวการพลัดตกหกล้ม เป็นต้น (Ignatavicius, 2553) ผู้สูงอายุหลายรายมีการบาดเจ็บของอวัยวะภายใน การบาดเจ็บที่ศีรษะ รวมทั้งการหักของเชิงกราน ต้องพักรักษาในโรงพยาบาลนานกว่าเดิมและบางรายเสียชีวิตในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้สูงอายุวัยปลายมีอัตราการมีโรคประจำตัวสูงขึ้นตามวัยและยิ่งไปกว่านั้น ผู้สูงอายุเกินกว่า ร้อยละ 10 มีปัญหาการขึ้นลงบันได ปัญหาการกลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้ สำหรับผู้สูงอายุวัยปลาย มีร้อยละ 4 ที่ต้องการคนคอยช่วยดูแล (Care Giver) แต่ไม่สามารถจะหาผู้ช่วยเหลือได้เมื่อมีอายุมากขึ้น การใช้ห้องนอน ห้องน้ำและห้องส้วม การมีกระดูกหักจากการหกล้มมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านอายุ เพศหญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี และภาวะผิดปกติของสายตา (ชูชาติ ขันตยาภรณ์, 2555) รวมทั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย ปัจจัยเหล่านี้หากสามารถลดอุบัติการณ์ได้ เพียงแค่มีการป้องกันจะทำให้อัตราการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนลดลง และเพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้ถูกคัดกรองหรือตรวจพบ และนำไปสู่การแก้ไขหรือลดปัจจัยเสี่ยงการล้ม (Modifiable risk factors) เป้าหมายเพื่อผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ไม่หกล้ม กระดูกไม่หัก และเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ทันเวลา ดังนั้น การหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่มีความสำคัญ เนื่องจากผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทั้งด้านจำนวนและอายุขัย กลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะกระดูกหักจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุและเพื่อให้การเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ลดอัตราเกิดภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ และเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเป็นองค์รวมทั้งในภาวะ ปกติ หรือเจ็บป่วยภายใต้การดูแลของทีมสหวิชาชีพ ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1.เพื่อลดอัตราเกิดภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
    ตัวชี้วัด : 1 ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย (ที่ได้รับการประเมินความสามารถในการทรงตัว (TUGT) (จากโปรแกรม Smart Aging) ได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงโดยใช้ Thai FRAT ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 0.00
  • 2. 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ได้รับการประเมินความเสี่ยงภาวะพลัดตกหกล้ม
    ตัวชี้วัด : 2 ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย (ที่ได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงโดยใช้ Thai FRAT) ได้รับการพัฒนาและประเมินสมรรถนะ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 0.00
  • 3. 3.เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ได้รับการ ประเมินและพบว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะพลัดตกหกล้ม ได้รับการดูแลโดยสหสาขาวิชาชีพ
    ตัวชี้วัด : 3.ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม มีการพัฒนาสมรรถนะตนเอง และมีค่าคะแนนการประเมินเพื่อลดความเสี่ยง Thai FRAT เพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ 50
    ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. 1. พัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้กับแกนนำชุมชน จำนวน 30 ราย เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายและแนวทางการดูแลและการดูแลระบบพึ่งพิงแบบไร้รอยต่อ
    รายละเอียด

    1) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน30 คนๆละ1 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 750 บาท (2) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50บาทเป็นเงิน1,500 บาท รวมเป็นเงิน 2,250 บาท

    งบประมาณ 2,250.00 บาท
  • 2. 2.อบรมให้ความรู้ตามและติดตามอาการผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามชุดโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะทางกายผู้สูงอายุ (Thai FRAT score 4 -11 คะแนน) ให้การบริการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยการพัฒนาสมรรถนะเดือน ละครั้ง ในระยะเวลา 5 ครั้ง
    รายละเอียด

    (1) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน30 คนๆละ1 มื้อๆละ 25 บาท × 5วันเป็นเงิน 3,750 บาท (2) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน30 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท × 5วัน เป็นเงิน7,500 บาท (3) ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆ 300 บาท×3 ชม.× 5วัน เป็นเงิน4,500 บาท รวมเป็นเงิน15,750บาท

    งบประมาณ 15,750.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 13 กุมภาพันธ์ 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

พื้นที่รับผิดชอบตำบลยะหา หมู่ที่ 1 2 3 6 และ9

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 18,000.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1 ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง เมื่อพบภาวะเสี่ยง ได้รับการดูแลรักษาสาเหตุ ตามมาตรฐาน 2 ผู้สูงอายุและผู้ดูแล ได้รับความรู้ในการดูแลและปรับสภาพแวดล้อมได้เหมาะสม 3 ไม่พบผู้สูงอายุเสียชีวิตจากภาวะพลัดตกหกล้ม และลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลของครอบครัวและหน่วยบริการ

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา รหัส กปท. L4150

อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา รหัส กปท. L4150

อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 18,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................