กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการป้องกันโรคในช่องปากของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบาง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงเรียนบ้านปากบาง

โรงเรียนบ้านปากบาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ในนักเรียนประถมศึกษา นักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ ๖ - ๑๒ ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันชุดผสม คือยังมีฟันน้ำนมร่วมกับมีฟันแท้ขึ้นใหม่ที่มีลักษณะหลุมร่องลึก ทำความสะอาดได้ยาก เกิดโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบได้ง่าย สาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี จึงก่อให้เกิดโรคฟันผุในเด็กอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ เมื่อมีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพด้านร่างกาย และจิตใจโดยรวมอีกด้วย เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่มีการเรียนรู้ เด็กที่มีสุขภาพดี จะสามารถเรียนรู้ ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ดี และเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป ในทางตรงกันข้าม เด็กที่มีอาการปวดฟันบ่อยมักไม่มีสมาธิในการเรียน ขาดเรียนบ่อย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้และอาจส่งผลกระบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กในอนาคตต่อไปได้ โรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก โดยการฝึกฝนให้เด็กมีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลรักษาความสะอาดช่องปาก และการได้รับการดูแลส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากอย่างเหมาะสม รวมทั้งการได้รับการบำบัดรักษาเมื่อตรวจเจอโรคในระยะแรก จะช่วยให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี ป้องกันการเกิดโรคและการสูญเสียฟันได้ ดังนั้นทางโรงเรียนบ้านปากบาง จึงเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพในช่องปากของนักเรียน ทั้งการมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง การแปรงฟันด้วยตนเองอย่างถูกวิธี และมีการจัดการแปรงฟันตอนกลางวัน จึงได้จัดทำโครงการการป้องกันโรคในช่องปากของนักเรียนขึ้น

0.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะฟันผุของเด็กวัยเรียน (6 ขึ้นไป) ลดลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ไม่มีมีปัญหาฟันผุ

80.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
บุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรม
บุคลากรอื่น 23

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/06/2024

กำหนดเสร็จ 31/10/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตวจสุขภาพช่องปากนักเรียนชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา ตามเฝ้าระวังทันตสุขภาพ โดยครูประจำชั้นบันทึกลงในแบบฟอร์ม

ชื่อกิจกรรม
ตวจสุขภาพช่องปากนักเรียนชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา ตามเฝ้าระวังทันตสุขภาพ โดยครูประจำชั้นบันทึกลงในแบบฟอร์ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางมีฟันผุลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธีแก่นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบาง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธีแก่นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร คิดเป็นเงิน 450 บาท
  2. วิทยากร 2 ท่านรวม 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาทคิดเป็นเงิน 600 x 3 = 1,800 บาท
  3. ชุดอุปกรณ์ดูแลในช่องปาก 2.1 แปรงสีฟัน20 บาท x 200 คน คิดเป็นเงิน 4,000 บาท 2.2 ยาสีฟัน 20 บาท x 200 คน คิดเป็นเงิน 4,000 บาท 2.3 แก้วน้ำพลาสติกมีหู10 บาท x 200 คน คิดเป็นเงิน 2,000 บาท
  4. อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมโตรงการ จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 30 บาท คิดเป็นเงิน30 x 223 = 6,690 บาท
  5. อาหารเที่ยงสำหรับวิทยากร ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 1 มื้อ คิดเป็นเงิน 60 x 23 = 1,380 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มิถุนายน 2567 ถึง 18 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางแปรงฟันอย่างถูกวิธี และสุขภาพช่องปากดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20320.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์การดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน โดยให้นักเรียนแปรงฟันทุกวันหลังอาหารเที่ยง ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ ภายใต้การดูแลของครูประจำชั้นและสภานักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์การดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน โดยให้นักเรียนแปรงฟันทุกวันหลังอาหารเที่ยง ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ ภายใต้การดูแลของครูประจำชั้นและสภานักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางมีฟันผุลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ขั้นติดตามและประเมินผลการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนโดยครูประจำชั้น

ชื่อกิจกรรม
ขั้นติดตามและประเมินผลการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนโดยครูประจำชั้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบาง มีความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,320.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

2. นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางรู้จักการแปรงฟันที่ถูกต้อง

3. นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางมีความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากได้


>