โครงการการป้องกันโรคในช่องปากของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบาง
ชื่อโครงการ | โครงการการป้องกันโรคในช่องปากของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบาง |
รหัสโครงการ | 2567-L5186-02-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านปากบาง |
วันที่อนุมัติ | 9 เมษายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 17 กันยายน 2567 - 17 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 17 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 16,610.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางศกลวรรณ สุขมี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 17 ก.ย. 2567 | 17 ก.ย. 2567 | 16,610.00 | |||
รวมงบประมาณ | 16,610.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | หลักการและเหตุผล ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ในนักเรียนประถมศึกษา นักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ ๖ - ๑๒ ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันชุดผสม คือยังมีฟันน้ำนมร่วมกับมีฟันแท้ขึ้นใหม่ที่มีลักษณะหลุมร่องลึก ทำความสะอาดได้ยาก เกิดโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบได้ง่าย สาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี จึงก่อให้เกิดโรคฟันผุในเด็กอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ เมื่อมีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพด้านร่างกาย และจิตใจโดยรวมอีกด้วย เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่มีการเรียนรู้ เด็กที่มีสุขภาพดี จะสามารถเรียนรู้ ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ดี และเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป ในทางตรงกันข้าม เด็กที่มีอาการปวดฟันบ่อยมักไม่มีสมาธิในการเรียน ขาดเรียนบ่อย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้และอาจส่งผลกระบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กในอนาคตต่อไปได้ โรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก โดยการฝึกฝนให้เด็กมีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลรักษาความสะอาดช่องปาก และการได้รับการดูแลส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากอย่างเหมาะสม รวมทั้งการได้รับการบำบัดรักษาเมื่อตรวจเจอโรคในระยะแรก จะช่วยให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี ป้องกันการเกิดโรคและการสูญเสียฟันได้ ดังนั้นทางโรงเรียนบ้านปากบาง จึงเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพในช่องปากของนักเรียน ทั้งการมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง การแปรงฟันด้วยตนเองอย่างถูกวิธี และมีการจัดการแปรงฟันตอนกลางวัน จึงได้จัดทำโครงการการป้องกันโรคในช่องปากของนักเรียนขึ้น |
0.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพกายที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภช่องปากนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่น โรคฟันผุ ซึ่งเป็นปัญหาในช่องปากพบได้ทั่วไป ก็มีปัจจัยรวมหลายๆอย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือไปจากเชื้อโรคในช่องปาก เช่น อาจมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปากของตัวเอง การอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนรรมต่างๆ ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดได้เช่นกัน การนี้โรงเรียนบ้านปากบาง จึงได้คิดที่จะกระตุ้นความสนใจของเด็กให้หันมาสนใจ และได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันมากขึ้น เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ฟันแท้กำลังงอกขึ้นมาแทนที่สนุก เน้นการมีส่วนร่วมสอดแทรกไปกับความรู้ต่างๆ เพื่อให้เด็กได้รู้สึกว่าเรื่องต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ไกลตัวและยากอย่างที่คิดและเพื่อให้เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปเผยแพร่ยังกลุ่มเพื่อนตลอดจนผู้ใกล้ชิดต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดภาวะฟันผุของเด็กวัยเรียน (6 ขึ้นไป) ลดลง ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ไม่มีมีปัญหาฟันผุ |
80.00 | 5.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 200 | 16,610.00 | 0 | 0.00 | |
10 มิ.ย. 67 - 31 ต.ค. 67 | ขั้นติดตามและประเมินผลการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนโดยครูประจำชั้น | 0 | 0.00 | - | ||
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | ตวจสุขภาพช่องปากนักเรียนชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา ตามเฝ้าระวังทันตสุขภาพ โดยครูประจำชั้นบันทึกลงในแบบฟอร์ม | 0 | 0.00 | - | ||
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมรณรงค์การดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน โดยให้นักเรียนแปรงฟันทุกวันหลังอาหารเที่ยง ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ ภายใต้การดูแลของครูประจำชั้นและสภานักเรียน | 0 | 600.00 | - | ||
17 ก.ย. 67 | อบรมให้ความรู้ฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธีแก่นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบาง | 200 | 16,010.00 | - |
นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางรู้จักการแปรงฟันที่ถูกต้อง
นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางมีความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567 16:32 น.