กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการฝึกและเพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของเด็กบ้านควน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการฝึกและเพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของเด็กบ้านควน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน

นางปทุมมาศ โลหะจินดา ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.ตำบลบ้านควน เบอร์โทร 089-4677379
นางสุพิชชา หมาดสกุล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 086-4884177
นางวัชรี บินสอาด ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 089-9743341
นส.โสภิตรา นารีเปน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 086-9553967
นส.นุสรัตน์ นุ่งอาหลี ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ เบอร์โทร 088-7955154 (ผู้รับผิดชอบหลัก)

สระว่ายน้ำเทศบาลตำบลฉลุง ตำบลฉลุง/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป)ที่ว่ายน้ำไม่ได้และมีโอกาสเสียชีวิตจากการจมน้ำ

 

54.28

องค์การอนามัยโลกรายงานการตกน้ำ จมน้ำจัดเป็นสาเหตุ 1 ใน 10 อันดับแรกจากการเสียชีวิตของเด็กทั่วโลก พบว่า เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำถึงปีละ 135,585 คน เฉลี่ยวันละ372 คน ในประเทศไทยพบว่า เด็กเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำมากถึงปีละ 1,415 คน หรือวันละ 4 คน จึงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทย อายุต่ำกว่า 15 ปี เมื่อเทียบกับการเสียชีวิต จากสาเหตุอื่นๆในทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ และในเขตพื้นที่ตำบลบ้านควน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2565 มีรายงานเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำ เฉลี่ยปีละ 1 คนเนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวมีแหล่งน้ำ ที่เด็กสามารถลงเล่นน้ำได้ อีกทั้งในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำท่วมขังในระดับสูง หากเด็กสามารถว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้จะช่วยป้องกันการจมน้ำได้มากกว่าเด็กที่ไม่สามารถว่ายน้ำได้ถึง 4 เท่าตัว โดยเด็กและผู้ปกครองไม่ตระหนักถึงอันตรายของการเล่นน้ำและไม่รู้วิธีช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ เพราะการว่ายน้ำถือเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญยิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรเรียนรู้เพื่อสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยทางน้ำให้กับชีวิตอีกทั้งการว่ายน้ำยังเป็นการออกกำลังกายที่สามารถใช้อวัยวะในการออกกำลังกายได้ทุกส่วนของร่างกาย
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน ได้เห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการเด็กบ้านควนว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย ประจำปี 2567 นี้ขึ้น เพื่อให้เด็กที่ว่ายน้ำไม่เป็นให้สามารถว่ายน้ำเป็นอย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล เพื่อสร้างเสริมความแข็งแรงของร่างกายพร้อมไปกับการเรียนรู้วิธีช่วยชีวิตคนจากการจมน้ำซึ่งจะเกิดความปลอดภัยทั้งผู้ประสบเหตุและผู้ให้การช่วยเหลือได้เป็นอย่างดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กบ้านควนที่ว่ายน้ำไม่เป็นให้สามารถว่ายน้ำเป็นและเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำ จมน้ำได้

ร้อยละ ของเด็กบ้านควนที่ว่ายน้ำไม่เป็นให้สามารถว่ายน้ำเป็น และเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำ จมน้ำได้

50.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กบ้านควนมีทักษะการว่ายน้ำที่ดีและรู้จักวิธีการช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่นเมื่อประสบเหตุทางน้ำได้อย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล

ร้อยละ ของเด็กบ้านควนมีทักษะการว่ายน้ำที่ดีและรู้จักวิธีการช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่นเมื่อประสบเหตุทางน้ำได้อย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล

50.00 80.00
3 เพื่อลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กบ้านควน

ร้อยละ ของเด็กบ้านควนเสียชีวิตจากการจมน้ำน้อยลง

80.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 จัดทำโครงการตามแผน เพื่อเสนอพิจารณาเห็นชอบ/อนุมัติโครงการ
1.2 ประชุมเจ้าหน้าที่ และ อสม. หมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 เพื่อชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงาน
1.3 ประสานทีมงานและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 ธันวาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการได้รับทราบถึงการจัดทำโครงการในครั้งนี้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ และสอนทักษะการช่วยเหลือตัวเองไม่ให้จมน้ำและการช่วยเหลือเมื่อพบเจอผู้ประสบเหตุทางน้ำเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ และสอนทักษะการช่วยเหลือตัวเองไม่ให้จมน้ำและการช่วยเหลือเมื่อพบเจอผู้ประสบเหตุทางน้ำเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 สอนทักษะการดำน้ำเป่าลม การเตะขา การหมุนแขน การลอยตัวในน้ำ และสอนว่ายน้ำ ท่าลูกหมาตกน้ำ เป็นต้น
2.2 สาธิตการช่วยเหลือคนจมน้ำโดยวิทยากร ด้วยวิธี ตะโกน โยน ยื่น โดยคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเด็กในช่วงอายุ 8-12 ปี ในหมู่บ้านเขตรับผิดชอบ จำนวน 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 2,3,5,6,7 โดยแบ่งหมู่ละ 20 คน จำนวน 100 คน จัดกิจกรรมอบรม จำนวน 1 วัน
กำหนดการ
สถานที่จัดกิจกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
เวลา 09.00 น. - 09.30 น. - ลงทะเบียน
เวลา 09.30 น. - 10.00 น. - เปิดโครงการ โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
เวลา 10.00 น. - 12.00 น. - บรรยาย เรื่อง หลักในการว่ายน้ำ ทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำ และทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำ จมน้ำที่ถูกต้อง
- ความสำคัญของการว่ายน้ำ
- หลักการขอความช่วยเหลือ ด้วยวิธีตะโกน โยน ยื่น
- หลักการฝึกหายใจ และลอยตัวในน้ำ โดยใช้อุปกรณ์ และไม่ใช้อุปกรณ์
- หลักการฝึกว่ายน้ำด้วยท่าต่างๆ เช่น ท่ากรรเชียง ท่าฟรีสไตล์ เป็นต้น
เวลา 12.00 น. - 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 น. - 15.00 น. - การประเมินสถานการณ์
- การประเมินสภาพผู้ป่วยขั้นต้น
- ฝึกปฏิบัติและทดสอบการวัดสัญญาณชีพ
- การฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR)
- การขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ด้วยการโทรแจ้งสายด่วน 1669
*หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.15 น. - 10.30 น. และเวลา 14.15 น. - 14.30 น.

รายละเอียดงบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย คณะทำงาน และวิทยากร จำนวน 105 คน มื้อละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 6,300 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย คณะทำงาน และวิทยากร จำนวน 105 คน มื้อละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 6,300 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 4 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2x4 เมตร ราคาตารางเมตรละ 150 บาท จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

2.1 กลุ่มเป้าหมายมีทักษะดำน้ำ เป่าลม การเตะขา การหมุนแขน การลอยตัวในน้ำ และว่ายน้ำท่าลูกหมาตกน้ำได้ 2.2 กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำได้ โดยวิธีตะโกน โยน ยื่น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16200.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกภาคปฏิบัติทักษะพื้นฐานการว่ายน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตทางน้ำ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกภาคปฏิบัติทักษะพื้นฐานการว่ายน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตทางน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ฝึกทักษะพื้นฐานการว่ายน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ กลุ่มเป้าหมายเด็กในช่วงอายุ 8-12 ปี จำนวน 100 คน โดยแบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 50 คน
- ฝึกปฏิบัติการเอาตัวรอดด้วยวิธี ดำน้ำ เป่าลม การเตะขา การหมุนแขน การลอยตัวในน้ำ การสอนว่ายน้ำท่าลูกหมาตกน้ำ
- ฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือคนจมน้ำ ด้วยวิธี ตะโกน โยน ยื่น พร้อมใช้อุปกรณ์

กำหนดการ สถานที่จัดกิจกรรม สระว่ายน้ำเทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
- รุ่นที่ 1 จำนวน 50 คน (ช่วงเช้า)
เวลา 08.30 น. - 09.00 น. - ลงทะเบียน
เวลา 09.00 น. - 12.00 น. - ฝึกปฏิบัติทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำ ทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และทักษะในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ
- รุ่นที่ 2 จำนวน 50 คน (ช่วงบ่าย)
เวลา 13.00 น. - 13.30 น. - ลงทะเบียน
เวลา 13.30 น. - 16.30 น. - ฝึกปฏิบัติทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำ ทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และทักษะในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ
*หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.15 น. - 10.30 น. และเวลา 14.15 น. - 14.30 น.

รายละเอียดงบประมาณ
- ค่าเช่าสระว่ายน้ำ จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน สำหรับคณะทำงาน และวิทยากร จำนวน 5 คน มื้อละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 300 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับคณะทำงาน และวิทยากร จำนวน 5 คน มื้อละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 300 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน x 2 รุ่น มื้อละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (กลุ่ม) จำนวน 3 คนๆละ 6 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

3.1 กลุ่มเป้าหมายสามารถเอาตัวรอดด้วยวิธี ดำน้ำ เป่าลม การเตะขา การหมุนแขน การลอยตัวในน้ำ การว่ายน้ำท่าลูกหมาตกน้ำได้
3.2 กลุ่มเป้าหมายสามารถช่วยเหลือคนจมน้ำได้ โดยวิธี ตะโกน โยน ยื่น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,600.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวจ่ายกันได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กตำบลบ้านควนมีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้
2. เด็กตำบลบ้านควนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำได้อย่างปลอดภัย


>