กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางกล่ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆในพื้นที่ตำบลบางกล่ำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางกล่ำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกล่ำ

1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกล่ำ2.ศาลาประชาคม หมู่ที่ 1-7 ตำบลบางกล่ำ3.บ้านผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และรัศมีรอบบ้านผู้ป่วย 100 เมตร 4.ที่ว่าการอำเภอบางกล่ำ5.สถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกล่ำ6.องค์การบริหารส่วนตำบลบางกล่ำ7.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบางกล่ำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน รักษา และควบคุมโรคภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) สืบเนื่องจากหลายทศวรรษที่ผ่านมา สภาวะทางสังคม การดำเนินชีวิตของมนุษย์ และสภาวะแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไป จนเกิดโรคติดต่อที่เป็นโรคประจำถิ่น หรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ ซึ่งหมายความรวมถึงโรคติดต่ออุบัติซ้ำ เชื้อก่อโรคที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพ เช่น โรคติดต่อที่ป้องกันด้วยวัคซีน โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก และโรคอุจจาระร่วง เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ โรคติดต่อที่ก่อให้เกิดอันตรายในมนุษย์ มีสาเหตุมาจากสัตว์หรือสัตว์ป่า และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง และบุคคลในครอบครัวที่เหมาะสม
จากสถานการณ์การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา พบว่าตำบลบางกล่ำ มีโอกาสพบผู้ป่วยอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ จากสถิติข้อมูลการระบาด พบว่า ปี 2566 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 28 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 25ธันวาคม 2566) คิดเป็นอัตราป่วย 760.25 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง จำนวน 28 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 760.25 ต่อแสนประชากรพบผู้ป่วยด้วยโรคตาแดง จำนวน 9 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 244.37 ต่อแสนประชากรและผู้ป่วยโรคฉี่หนู จำนวน 4 รายคิดเป็นอัตราป่วย 108.61 ต่อแสนประชากรซึ่งเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (อัตราป่วยต่อแสนประชากรไม่เกิน 50)
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่าตำบลบางกล่ำ ยังพบผู้ป่วยอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำขึ้นทุกปี ดังนั้นทีม SRRT ตำบลบางกล่ำ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดในพื้นที่ได้ ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกล่ำ จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆในพื้นที่ตำบลบางกล่ำ ปี 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่

ป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อลดการเกิด และการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่น ๆในหมู่บ้าน

ลดการเกิด และการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่น ๆในหมู่บ้าน ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการเกิดโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่น ๆ

ให้ประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการเกิดโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่น ๆ ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆในพื้นที่ตำบลบางกล่ำปีงบประมาณ 2567

ชื่อกิจกรรม
โครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆในพื้นที่ตำบลบางกล่ำปีงบประมาณ 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1. ประชุมชี้แจงโครงการ แนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 2. จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุน 3. กิจกรรมอบรมและรณรงค์ไข้เลือดออกในชุมชน 4. กิจกรรมควบคุมป้องกันการระบาดของโรค
5.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน 6.ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป

งบประมาณ งบประมาณเงินอุดหนุน จากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบางกล่ำประจำปี 2567 จำนวน 80,000 บาท รายละเอียดดังนี้ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมกำจัดลูกน้ำยุงลายและอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อในชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 คน x 25 บาท จำนวน ๗เดือน เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าสื่อความรู้แบบไวนิล ขนาด 120 ซม. X 240 ซม.จำนวน 7 ชิ้น ชิ้นละ 600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมป้องกันการระบาดของโรค 1.กิจกรรม พ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยใน วัด 3 แห่ง โรงเรียน 3 แห่ง ศพด. 1 แห่ง(พ่นก่อนโรงเรียนเปิด)และสถานที่ราชการ 4 แห่ง - จ้างเหมาคนพ่นสารเคมีฯ(พ่น 2 ครั้งๆละ 600 บาท (พ่นห่างกัน 7 วัน)เป็นเงิน 13,200 บาท 2.กิจกรรมสอบสวนโรค พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยในกรณีพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (ผู้ป่วย 1 ราย พ่น ๒ ครั้งๆละ 600 บาท พ่นห่างกัน 7 วัน) - จ้างเหมาคนพ่นสารเคมี กรณีมีผู้ป่วยไข้เลือดออก 25 ราย (โดยอ้างอิงข้อมูลจากฐานการระบาดในปี 2566 ที่มีการระบาดสูงสุด จำนวน 28 ราย) รายพ่นรายละ 2 ครั้ง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท -ค่าจัดซื้อสเปรย์ชนิดกระป๋องกำจัดยุง ขนาด 600 ซีซี จำนวน 5 โหลๆละ 1,320 บาทเป็นเงิน6,600บาท ค่าทรายอะเบท (ชนิดซอง500 ซอง) จำนวน 3 ถังๆ ละ 3,000 บาทเป็นเงิน 9,000 บาท -ค่าโลชั่นทากันยุง จำนวน 800 ซองๆละ 5 บาท เป็นเงิน 4,000บาท -น้ำยาเคมีชนิดหมอกควัน จำนวน 1 ขวด ขวดละ 2,500 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปูพรม กรณีเกิดผู้ป่วยติดเนื่องกัน 2 ราย ในรัศมี 100 เมตรเดียวกัน
โดยคิดจากจำนวนหลังคาเรือนของแต่ละหมู่ หลังคาเรือนละ 10 บาท (มีผู้ป่วยไข้เลือดออกติดต่อกันเนื่อง 5 รายในรัศมี 100 เมตรเดียว ใน ม.6 บ้านยวนยาง ปี 2566) *ม.1 บางกล่ำบน จำนวน 329 หลังคาเรือน เป็นเงิน 3,290 บาท ม.2บางกล่ำล่างจำนวน 47 หลังคาเรือน เป็นเงิน 470 บาท ม.3บางกล่ำใต้ จำนวน 64 หลังคาเรือนเป็นเงิน 640 บาท ม.4บางหยี จำนวน 146 หลังคาเรือนเป็นเงิน 1,460 บาท *ม.5บ้านท่าเมรุ จำนวน 170 หลังคาเรือนเป็นเงิน 1,700 บาท *ม.6บ้านยวนยาง จำนวน 201 หลังคาเรือนเป็นเงิน 2,010 บาท ม.7บ้านหนองม่วง จำนวน 83 หลังคาเรือนเป็นเงิน 830 บาท ทั้ง 7 หมู่บ้าน มีทั้งหมด 1,040 หลังเรือน (ข้อมูลจากประชากรกลางปี 2566 ฐาน JHCIH รพ.สต.บางกล่ำ) เป็นเงิน 7,000 บาท * หมู่ที่ 1 หมู่ที่5 และหมู่ที่ 6 มีโอกาสเกิดผู้ป่วยติดเนื่องกัน 2 ราย ในรัศมี 100 เมตรเดียวกันมากที่สุด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 80,000บาท(เงินแปดหมื่นบาทถ้วน) หมายเหตุทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อโรคไข้เลือดออกลดลงในพื้นที่ลดลง
  • ค่าHouse Index และค่าContainer Index ] ลดลงเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการ
  • การปฏิบัติงานป้องกันแก้ไขโรคไข้เลือดออกเป็นผลสำเร็จเกิดความร่วมมืออันดีระหว่างภาคีเครือข่ายกับชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
80000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 80,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีการป้องกัน เฝ้าระวัง และการควบคุมการระบาดขอโรคติดต่อในพื้นที่
2. ลดการเกิด และการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่น ๆในหมู่บ้าน
3. ประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหาการเกิดโรคไข้เลือดออกและ
โรคติดต่ออื่น ๆ


>