กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในกลุมเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ชุมชนเทศบาลตำบลยะรัง ปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในกลุมเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ชุมชนเทศบาลตำบลยะรัง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะรัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง

นางสาวนูรีซันมะแซ
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ชุมชนเทศบาลตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น
เนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำานวนเพิ่มมาก
โดยเฉพาะใน 4 โรคสำคัญคือโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD), โรคเบาหวาน, โรคมะเร็ง
และโรคทางเดินหายใจเรื้อรังเป็น4โรคไม่ติดต่อสำคัญที่เป็นภัยเงียบคร่าชีวิตประชากร
ทั่วโลกถึงร้อยละ 85 ของการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อทั้งหมด
โดยเฉพาะภาวะความดันโลหิตสูงนั้น ไม่เพียงแต่นำไปสู่ทั้ง 4 โรคไม่ติดต่อ
ที่กล่าวมานั้น แต่ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคไตเรื้อรัง (Chronickidney disease: CKD)
โดยร้อยละ 40 ของผู้ป่วยเบาหวาน และ ร้อยละ 20ของผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง
มีโอกาสเกิดไตเรื้อรังได้ในอนาคตต่อไปและยังมีรายงานว่าทั่วโลก มีผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากถึงกว่า
1,000 ล้านคนโดย2 ใน 3 เป็นประชากร ในประเทศกำลังพัฒนาและได้คาดการณ์ว่าในปีพ.ศ.2568(ค.ศ. 2025)
ประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วทั้งโลกจะป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 1.56 พันล้านคนเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย
เนื่องจากมีความชุกและอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการประเมิน
สถานการณ์ผู้ป่วยเบาหวานของ สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF, 2011)
พบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกในปี พ.ศ. 2553จำานวน 366 ล้านคน หรือประมาณ ร้อยละ 8.3
ของประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิต จากโรคเบาหวานถึง 4.6 ล้านคน
และคาดว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น552 ล้านคนใน ปี พ.ศ. 2573 ซึ่งหมายถึง มีมากกว่า 3 คน
ที่ถูกวินิจฉัยว่า เป็นโรคเบาหวานในทุกๆ 10 วินาที สำาหรับประเทศไทยพบว่า
อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานได้เพิ่มขึ้นจาก 277.7
ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ. 2544 เป็น 954.2 ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ. 2553
หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 3.4 เท่าและโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงนอกจากเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ
ยังเป็นสาเหตุในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นตามระบบต่างๆ ของร่างกายที่สำคัญ
ได้แก่หลอดเลือดสมองและหัวใจตาไตและเท้าการดำเนินการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องตระหนัก จากการตรวจคัดกรองประชาชนตำบลยะรัง พบว่า มีกลุ่มเสี่ยง จำนวน 25 คน
ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 70

25.00 18.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 ครั้ง - ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม วิทยากร และผู้ดำเนินการ ม้ือละ 80 บาท จำนวน 25 คน จำนวน 3 วันเป็นเงิน6,000บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม วิทยากร และผู้ดำเนินการ มื้อละ 35 บาท จำนวน 25 คน 3 วัน ๆ ละ 2 มื้อ เป็นเงิน 5,250บาท - ค่าวิทยากรกระบวนการ วันละจำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท 3 วันเป็นเงิน4,500 บาท - ค่าจัดทำคู่มือในการอบรม จำนวน 25 เล่ม ๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน1,250บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ และสามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมถอดบทเรียน และประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมถอดบทเรียน และประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมถอดบทเรียน และประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ - ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม วิทยากร และผู้ดำเนินการ ม้ือละ 80 บาท จำนวน 25 คน จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน  2,000  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม วิทยากร และผู้ดำเนินการ มื้อละ 35 บาท จำนวน 25 คน 1 วัน ๆ ละ 2 มื้อ เป็นเงิน 1,750  บาท - ค่าวิทยากรกระบวนการ วันละจำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท 1 วัน  เป็นเงิน  1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ที่ผ่านการอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,750.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณถั๋วเฉลี่ยตามที่จ่ายจริง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับครอบครัวและชุมชนได้ต่อไป


>