กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในกลุมเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ชุมชนเทศบาลตำบลยะรัง ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L8286-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 22,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีซัน มะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ นายการียา ยือแร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น เนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำานวนเพิ่มมาก โดยเฉพาะใน 4 โรคสำคัญคือโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD), โรคเบาหวาน, โรคมะเร็ง และโรคทางเดินหายใจเรื้อรังเป็น4โรคไม่ติดต่อสำคัญที่เป็นภัยเงียบคร่าชีวิตประชากร ทั่วโลกถึงร้อยละ 85 ของการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อทั้งหมด โดยเฉพาะภาวะความดันโลหิตสูงนั้น ไม่เพียงแต่นำไปสู่ทั้ง 4 โรคไม่ติดต่อ ที่กล่าวมานั้น แต่ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคไตเรื้อรัง (Chronickidney disease: CKD) โดยร้อยละ 40 ของผู้ป่วยเบาหวาน และ ร้อยละ 20ของผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง มีโอกาสเกิดไตเรื้อรังได้ในอนาคตต่อไปและยังมีรายงานว่าทั่วโลก มีผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากถึงกว่า 1,000 ล้านคนโดย2 ใน 3 เป็นประชากร ในประเทศกำลังพัฒนาและได้คาดการณ์ว่าในปีพ.ศ.2568(ค.ศ. 2025) ประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วทั้งโลกจะป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 1.56 พันล้านคนเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย เนื่องจากมีความชุกและอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการประเมิน สถานการณ์ผู้ป่วยเบาหวานของ สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF, 2011) พบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกในปี พ.ศ. 2553จำานวน 366 ล้านคน หรือประมาณ ร้อยละ 8.3 ของประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิต จากโรคเบาหวานถึง 4.6 ล้านคน และคาดว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น552 ล้านคนใน ปี พ.ศ. 2573 ซึ่งหมายถึง มีมากกว่า 3 คน ที่ถูกวินิจฉัยว่า เป็นโรคเบาหวานในทุกๆ 10 วินาที สำาหรับประเทศไทยพบว่า อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานได้เพิ่มขึ้นจาก 277.7 ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ. 2544 เป็น 954.2 ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ. 2553 หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 3.4 เท่าและโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงนอกจากเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ ยังเป็นสาเหตุในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นตามระบบต่างๆ ของร่างกายที่สำคัญ ได้แก่หลอดเลือดสมองและหัวใจตาไตและเท้าการดำเนินการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องตระหนัก จากการตรวจคัดกรองประชาชนตำบลยะรัง พบว่า มีกลุ่มเสี่ยง จำนวน 25 คน ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 70

25.00 18.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,750.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 17,500.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมถอดบทเรียน และประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ 0 5,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับครอบครัวและชุมชนได้ต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2567 00:00 น.