กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง รหัส กปท. L4163

อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
สร้างสุขภาพเปี่ยมสุข ห่างไกลภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง
กลุ่มคน
นางสาวไซนะเซ็งดี ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3.
หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง ทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปีละ 3 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยทั่วโลกสาเหตุการตายด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63 ของสาเหตุการตายของประชากรโลก ปัจจุบันพบว่าอัตราความชุกของ โรคเบาหวานความดันโลหิตสูงเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอรามัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี รวมถึงผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากการจัดลำดับความชุก 10 อันดับโรคของผู้รับบริการพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จัดอยู่ในอันดับที่ 1 และ พบจำนวนสูงสุดในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 60 ปี ขึ้นไป รองลงมาพบในกลุ่มอายุ 40-60 ปี และพบจำนวนน้อยในช่วงอายุ น้อยกว่า40 ปี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พบโรคแทรกซ้อน และยังพบว่ามีผู้ป่วย เบาหวานความดันโลหิตสูงที่ต้องเข้านอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และ ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่ทำให้สูญเสียชีวิตทันที แต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านความสามารถหรือมีความพิการหรือเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ดังนั้นการ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตมีความสำคัญในการควบคุมความรุนแรงของโรค และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยกิจกรรม 3อ3ส. จึงเป็นวิธีการที่สำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถดูแลตนเองและควบคุมโรคได้

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบือมัง มีประชาชนกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 508 ราย ที่เข้ารับการบริการรักษาต่อเนื่องจำนวน 283 ราย คิดเป็นร้อยละ 55.71 สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีจำนวน 224 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.09กลุ่มป่วยโรคเบาหวานทั้งหมดจำนวน 224 ราย ได้รับการตรวจภาวะน้ำตาลในเลือด จำนวน 168 ราย คิดเป็นร้อยละ 75 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำจวน 67 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.91 และยังมีกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หรือและเบาหวานจำนวน 377 ราย ที่ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 194 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.46 ซึ่งยังไม่ได้ผลตามเป้าหมายร้อยละ 80 (ข้อมูลจาก HDC ณ วันที่ 19 มีนาคม 2567) หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ในอนาคต การรักษาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนได้ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยได้จัดโครงการสร้างสุขภาพเปี่ยมสุข ห่างไกลภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิสูงและเบาหวาน โดยเน้นกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
    ตัวชี้วัด : 1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 80 2.กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เรื่องโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมค่าน้ำตาลในเลือดและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้
    ตัวชี้วัด : 1.กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถความคุมระดับน้ำตาลได้ (ค่า DTX แบบงดอาหารน้อยกว่า 126 mg% และแบบไม่งดน้อยกว่า200mg%) ร้อยละ 40 2.กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ( ค่า BP น้อยกว่า 140/90) ร้อยละ 50
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 40.00
  • 3. เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างต่อเนื่อง
    ตัวชี้วัด : 1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลังจากได้รับการเจาะเลือด ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ90
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 90.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกกรมประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะทำงาน
    รายละเอียด

    • ประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะทำงานในการจัดเตรียมโครงการ โดยคัดเลือดคณะทำงานจากอสม.ตำบลบือมัง จำนวน 68 คน และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บือมังจำนวน 2 คน

    งบประมาณ

    ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 70 คน x 1 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท

    งบประมาณ 2,100.00 บาท
  • 2. กิจกรรมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    -ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ

    -คัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน โดยให้นั่งพักอย่างน้อย ๑๕ นาที ก่อนเริ่มตรวจวัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว หาดัชนีมวลกายแจ้งผลให้ผู้ป่วยทราบทันที

    -อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการดูแลตัวเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวนผู้ป่วย 200 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 100 คน

    งบประมาณ
    -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน x 1 มื้อๆละ 70 บาท x 2 วัน เป็นเงิน 14,000 บาท
    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 2 มื้อๆละ 30 บาท x 2 วัน เป็นเงิน 12,000 บาท
    -ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท x 2 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท

    รวมเป็นเงิน 33,200 บาท

    งบประมาณ 33,200.00 บาท
  • 3. ติดตามตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของโรคในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม
    -ลงทะเบียนตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน

    -ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน นั่งพักก่อนอย่างน้อย ๑๕ นาที ก่อนเริ่มตรวจวัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว หาดัชนีมวลกายแจ้งผลให้ผู้ป่วยทราบทันที

    -เจาะเลือดติดตามผลทางห้องปฏิบัติการประจำปีผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตที่รพ.สต.เพื่อส่งตรวจที่โรงพยาบาลแม่ข่ายจำนวน 100 คน โดยวิธีงดน้ำและอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง
    -ตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

    -กรณีพบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเช่น ไต เท้า ให้ทำการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อพบแพทย์และรักษาอย่างต่อเนื่อง

    งบประมาณ
    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 100 คน x 1 มื้อๆละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

    งบประมาณ 3,000.00 บาท
  • 4. ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานและคัดเลือกบุคคลต้นแบบ
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    -ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานและคัดเลือกบุคคลต้นแบบพร้อมมอบใบเกียรติบัตร หมู่ละ 1 คน

    -คืนข้อมูลให้แก่คณะทำงาน

    งบประมาณ

    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 70 คน x 1 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 2,100 บาท

    งบประมาณ 2,100.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลบือมัง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 40,400.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.มีคณะทำงานและแผนในการจัดเตรียมโครงการสร้างสุขภาพเปี่ยมสุข ห่างไกลภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 2.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับความรู้เรื่องโรค การป้องกันและการดูแลตนเองเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 3.ผู้ป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในเรื่อง ๓ อ. ๒ ส.1ฟ 1 น 4.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต และเท้า 5.ตำบลบือมังมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่สามารถควบคุมโรคได้ดี หมู่ละ 1 คน

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง รหัส กปท. L4163

อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง รหัส กปท. L4163

อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 40,400.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................