กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เด็กปฐมวัยเล่นเปลี่ยนโลก ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกาะไทร องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ

1 นางนันท์นภัท รอเกตุ
2 นางสาวจิดาภา มาลีกัน
3 นางจิรวรรณ รอเกตุ

หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกาะไทร อบต.แป-ระ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสภาพปัจจุบันการอบรมเลี้ยงดูเด็กผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการประกอบอาชีพซึ่งบางครอบครัวไม่ได้อยู่กับพ่อและแม่ ในยุคปัจจุบันที่ก้าวทันต่อเทคโนโลยี สื่ออิเล็กทรอนิกส์ มือถือ ในการเล่นและทำกิจกรรมต่างๆ กับเด็กปฐมวัย ร้อยละ 67.30 (กรมอนามัย,2559) สถานการณ์การตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ 2559 – 2561 พบว่า เด็กมีพัฒนาการสมวัยในครั้งแรกมีแนวโน้มลดลง ร้อยละ 86.22ร้อยละ 83.61 และร้อยละ 78.82 ซึ่งไม่สมวัยด้านการเคลื่อนไหว ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก และด้านการใช้ภาษา ส่งผลไปยังสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กไทย ปี 2559 พบว่าเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มี IQ ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ (IQ น้อยกว่า 90 ) อยู่ถึง 31.81 (ไม่ควรเกิน ร้อยละ 25) (สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต , 2559) การเล่นเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ผ่านการเล่น (มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก,2522) ในศตวรรษที่ 21 เป็นช่วงเวลาที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปรวดเร็ว ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่เด็กให้มีทักษะสำหรับการดำรงชีวิตให้ทันต่อโลก และตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(พ.ศ. 2560 – 2579) ให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพในเด็กปฐมวัย กำหนดเป็น ‘ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์”ด้วยการส่งเสริมพัฒนาการและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ผ่านการเล่น เพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการและทักษะที่จำเป็น อีกทั้งแก้ไขปัญหาแนวโน้มการตรวจพบพัฒนาการล่าช้าให้น้อยลง
หากประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ตระหนักในการดูแลเลี้ยงดูเด็กรวมทั้งมีทักษะในการเล่น เพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสม จะสามารถดูแลเด็กที่อยู่ในช่วงปฐมวัยลดโอกาสการคัดกรองพบพัฒนาการล่าช้าในกลุ่มเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงอายุ ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกาะไทรได้ตระหนักถึงความสำคัญที่จะดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กผ่านการเล่น ตามหลักทฤษฎี 3 F ( Family Free Fun ) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม มีทักษะในการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กภายใต้โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยเล่นเปลี่ยนโลก จึงได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ด้วย 3F ให้แก่ ครู ผู้ปกครอง เด็กปฐมวัย ช่วงอายุ 2 - 4 ปี

พัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ด้วย 3F ให้แก่ ครู ผู้ปกครอง เด็กปฐมวัย ช่วงอายุ 2 - 4 ปี

0.00
2 2. เพื่อพัฒนา ครู ผู้ปกครอง เด็กปฐมวัย ช่วงอายุ 2 - 4 ปี ให้มีทักษะเพิ่มมากขึ้นในการส่งเสริมพัฒนาการแต่ละช่วงอายุ ผ่านการเล่น และให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นได้

พัฒนา ครู ผู้ปกครอง เด็กปฐมวัย ช่วงอายุ 2 - 4 ปี มีทักษะเพิ่มมากขึ้นในการส่งเสริมพัฒนาการแต่ละช่วงอายุ  ผ่านการเล่น  และให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นได้

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัว

ส่งเสริมกิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัว

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การละเล่นพื้นบ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13760.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมด้านศิลปะ ด้วยวัสดุเหลือใช้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมด้านศิลปะ ด้วยวัสดุเหลือใช้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดปะใบไม้ และวัสดุเหลือใช้ ตามจินตนาการ
  • กะลาสวยงาม ประดิษฐ์สื่อ
  • ปืนกาวพร้อมกาวแท่ง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6430.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,190.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ได้พัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ด้วย 3F ให้แก่ ครู ผู้ปกครอง เด็กปฐมวัยช่วงอายุ 2 - 4 ปี
2. ได้พัฒนากลุ่มเป้าหมายมีทักษะเพิ่มมากขึ้นในการส่งเสริมพัฒนาการแต่ละช่วงอายุผ่านการเล่นอย่างอิสระและให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นได้
3. ได้ส่งเสริมกิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัว


>