กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและพัฒนาการบริการงานอนามัยแม่และเด็ก ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

รพ.สต.ตำบลบ้านควน

นางปทุมมาศ โลหะจินดา ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.ตำบลบ้านควน เบอร์โทร 089-4677379
นางสุพิชชา หมาดสกุล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 086-4884177
นางวัชรี บินสอาด ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 089-9743341
นส.โสภิตรา นารีเปน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 086-9553967(ผู้รับผิดชอบหลัก)
นส.นุสรัตน์ นุ่งอาหลี ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ เบอร์โทร 088-7955154

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

72.30
2 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์

 

28.57

การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยในระยะยาวเพื่อก้าวไปสู่ความมั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายรวมถึงการมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีความพร้อมทางด้านจิตใจ และสติปัญญา ซึ่่ง 2,500 วันแรกของชีวิต เป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองเกิดเป็นโครงข่ายเส้นใย ประสาทนับล้านโครงข่ายเป็นผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำ นอกจากนี้การเจริญเติบโตด้านร่างกายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน อีกทั้งยังเป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่างๆ ส่งผลต่อระบบภูมิต้านทานโรคระบบเผาพลาญ ระบบทางเดินอาหารของร่างกายให้สมบูรณ์
2,500 วันแรกของชีวิตคือ ช่วงเวลาตั้งแต่การปฏิสนธิ และตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด (270 วัน) เด็กอายุ 0-6 เดือน (180 วัน) เด็กอายุ 6 เดือน-2 ปี (550 วัน) และเด็กอายุ 2-5 ปี (1,500 วัน) กระบวนการพัฒนาการทางร่างกาย ทางสมอง อารมณ์และสังคม ส่งผลต่อทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ภาวะเตี้ย ภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการไม่สมวัย เนื่องจากเป็นช่วงที่มีกระบวนการสร้างเซลล์สมอง โดยการเพิ่มเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด การได้รับโภชนาการที่เหมาะสมร่วมกับกระบวนการ กิน นอน กอด เล่น เล่า จะทำให้ทารกเจริญเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงในที่สุด ผลการดำเนินงานคุณภาพด้านแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน จาก HDC ในปี พ.ศ. 2566 พบประเด็นเกี่ยวข้องที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก ได้แก่ 1) การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ได้ร้อยละ 72.30 (เกณฑ์ร้อยละ 75) 2) การฝากครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ได้ร้อยละ 61.53 (เกณฑ์ร้อยละ 75) 3) หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ได้ร้อยละ 28.57 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 15)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาการบริการงานอนามัยแม่และเด็ก ปี 2567 และดำเนินการพัฒนาระบบบริการอนามัยแม่และเด็กในคลินิกบริการและเครือข่ายให้มีมาตรฐานและต่อเนื่อง เพื่อการดูแลสตรีตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด - 5 ปี ให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ มีสติปัญญาและศักยภาพที่ดีต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์เร็ว ฝากครรภ์คุณภาพ ฝากก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละ 75 ของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

72.30 75.00
2 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด การเตรียมตัวคลอดและหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80ของหญิงตั้งครรภ์และสามี/ญาติ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด การเตรียมตัวคลอดและหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

50.00 90.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด/เสี่ยงซีดได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม

ร้อยละ 100 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม

43.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สามี/ญาติของหญิงตั้งครรภ์ 20
หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง 20
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 90

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์การฝากครรภ์เร็ว ฝากครรภ์คุณภาพ ฝากก่อน 12 สัปดาห์

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์การฝากครรภ์เร็ว ฝากครรภ์คุณภาพ ฝากก่อน 12 สัปดาห์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์การฝากครรภ์เร็ว ฝากครรภ์คุณภาพ ฝากก่อน 12 สัปดาห์ ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
1. ป้ายประชาสัมพันธ์
2. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายในหมู่บ้าน
3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่
งบประมาณ
-ป้ายไวนิล ขนาด 2x3 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท x 2 แผ่น เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 75 ของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 2 อบรม/ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามี/ญาติ ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่

ชื่อกิจกรรม
อบรม/ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามี/ญาติ ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรม 2 รุ่น รุ่นละ 20 คน โดยกำหนดให้มีการอบรมในวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 และ วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ซึ่งมีรายละเอียดการอบรมดังนี้

กำหนดการอบรม/ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามี/ญาติ ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาการบริการงานอนามัยแม่และเด็ก ปี 2567

08.30 น. – 09.00 น. หญิงตั้งครรภ์และสามี/ญาติ ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม 09.00 น. - 09.30 น. ผู้เข้ารับการอบรมทำแบบทดสอบก่อนการอบรมให้ความรู้
09.30 น. – 10.00 น. อบรมตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่โดยให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ โภชนาการ/อาหารทดแทน การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
10.00 น. – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 น. – 12.00 น. อบรมตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่โดยให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ โภชนาการ/อาหารทดแทน การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด(ต่อ)
12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 น. – 15.00 น. การเตรียมตัวคลอดและการปฏิบัติตัวหลังคลอด พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติการดูแลตนเองในระยะต่างๆตามไตรมาส
15.00 น. – 15.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.30 น. – 16.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถาม-ตอบปัญหา/ข้อซักถาม
16.00 น. – 16.30 น. สรุปประเด็นสำคัญการประชุมและทำแบบทดสอบหลังการอบรมให้ความรู้
*หมายเหตุ กำหนดการประชุมอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน x 2 รุ่น x 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,400 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน x 2 รุ่น x 30 บาท x จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์และสามี/ญาติ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ โภชนาการ/อาหารทดแทน การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด การเตรียมตัวคลอดและหลังคลอดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 3 การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มที่ 1 : หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด/เสี่ยงซีด
1. ให้ความรู้รายบุคคลแก่กลุ่มเป้าหมาย+มอบเอกสารความรู้เกี่ยวกับภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์
2. มอบไข่ไก่แก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด/เสี่ยงซีด
3. ตรวจ/ติดตามการตรวจทางห้องปฏิบัติการ(ค่าความเข้มข้นเลือด) ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด/เสี่ยงซีด

กลุ่มที่ 2 : หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักน้อย/หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น
1. ให้ความรู้รายบุคคลแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักน้อย/หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น
2. มอบนมรสจืดแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักน้อย/หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น 3. ชั่งน้ำหนัก/ติดตามแนวโน้มการเพิ่มน้ำหนักของหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักน้อย/หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการฝากครรภ์ในแต่ละครั้ง

งบประมาณ
1.ไข่ไก่แก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด/เสี่ยงซีด จำนวน 10 คน x 30 ฟอง x 5 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
2.นมรสจืดแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักน้อย/หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น จำนวน 10 คน x 30 กล่อง x 12 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5100.00

กิจกรรมที่ 4 พัฒนา ฟื้นฟูความรู้และทักษะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานอนามัยแม่และเด็ก

ชื่อกิจกรรม
พัฒนา ฟื้นฟูความรู้และทักษะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานอนามัยแม่และเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการจัดอบรมพัฒนา ฟื้นฟูความรู้และทักษะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานอนามัยแม่และเด็ก จำนวน 90 คน
ในวันที่ 12 มิถุนายน 2567 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน
08.30 น. – 09.00 น. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านลงทะเบียนเข้ารับการอบรม
09.00 น. - 09.30 น. ผู้เข้ารับการอบรมทำแบบทดสอบก่อนการอบรมให้ความรู้
09.30 น. – 09.45 น. ผอ.รพ.สต.กล่าวเปิดการประชุมพร้อมรายงานสถานการณ์การดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก
09.45 น. – 10.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.00 น. – 12.00 น. อบรมการดูแลติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ปกติ/ที่มีความเสี่ยง การส่งต่อข้อมูลหญิงตั้งครรภ์คลอด การติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอด
12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 น. – 14.00 น. อบรมการบันทึกข้อมูลในแอพลิเคชั่น สมาร์ทอสม.
14.00 น. -15.00 น. อบรมและฝึกปฏิบัติการพิสูจน์ตัวตนในการขอ Authen Code
15.00 น. – 15.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.30 น. – 16.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถาม-ตอบปัญหา/ข้อซักถาม
16.00 น. – 16.30 น. สรุปประเด็นสำคัญการประชุมและทำแบบทดสอบหลังการอบรมให้ความรู้
*หมายเหตุ กำหนดการประชุมอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 90 คน x 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,400 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 90 คน x 30 บาท x จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,400 บาท
3.ค่าวิทยากรจำนวน 1 ท่าน x 3 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานอนามัยแม่และเด็กเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,300.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ฝากครรภ์เร็วและฝากครรภ์คุณภาพและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ได้
2.หญิงตั้งครรภ์และสามี/ญาติสามารถดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


>