กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตรับผิดชอบรพ.สต.บ้านทุ่งนารี ปี ๒๕๖๗

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตรับผิดชอบรพ.สต.บ้านทุ่งนารี ปี ๒๕๖๗

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

ชมรมป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ รพ.สต.บ้านทุ่งนารี

1.นางสมจิตร รอดรวยรื่น
2.นายวีรชัย พงศ์กิจเจริญ
3.นายอำนวย คงมี
4.นายเอก รุ่งกลิ่น
5.นางวิภาดา แก้วพิบูลย์

ประชาชน หมู่ที่ ๑ , ๓ และ ๕ ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านทุ่งนารี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

4.00

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยในปัจจุบัน และยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก จังหวัดพัทลุง ข้อมูลตั้งแต่ วันที่ ๑ มกราคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก สะสมจำนวน ๒,๒๓๙ รายและมีรายงานผู้เสียชีวิต ๑ ราย โดยกลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือ กลุ่มอายุ ๑๐ - ๑๔ ปี รองลงมา คือ ๕ - ๙ ปี อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ นักเรียน รองลงมาคือ ในปกครอง ซึ่งปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง จำเป็นอย่างยิ่งในการให้ประชาชนในชุมชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือเมื่อเกิดการระบาดของโรค จึงได้จัดทำโครงการป้องกันไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตรับผิดชอบรพ.สต.บ้านทุ่งนารี ปี ๒๕๖๗ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ตำบลทุ่งนารี ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก สามารถป้องกันและตัวเองตนเองได้

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

80.00 2400.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน

50100000.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 72
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการ และชี้แจงคณะทำงานในการดำเนินโครงการป้องกันไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งนารี ปี 2567

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการ และชี้แจงคณะทำงานในการดำเนินโครงการป้องกันไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งนารี ปี 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
    จำนวน 45 คน x 1 มื้อ x 25 บาท = 1,125 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 45 คน
    x 1 มื้อ x 70 บาท = 3,150 บาท รวม 4,275 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4275.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกการป้องกันและดูแลตนเอง ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งนารี ปี ๒๕๖7

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกการป้องกันและดูแลตนเอง ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งนารี ปี ๒๕๖7
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
    จำนวน 72 คน x 2 มื้อ x 25 บาท = 3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 72 คน
    x 1 มื้อ x 70 บาท = 5,040 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ = 2,975 บาท รวม 11,615 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11615.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมลงสุ่มสำรวจลูกน้ำลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมลงสุ่มสำรวจลูกน้ำลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน x 1 มื้อ x 25 บาท x 3 ครั้ง  = 1,125 บาท
  • ไวนิลรณรงค์ไข้เลือดออก จำนวน 4 แผ่น x 500 บาท = 2,000 บาท รวม 3,125 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3125.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสรุปผลการลงสุ่มสำรวจ ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการและมอบรางวัลแก่ชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสรุปผลการลงสุ่มสำรวจ ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการและมอบรางวัลแก่ชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
    จำนวน 45 คน x 1 มื้อ x 25 บาท = 1,125 บาท
  • กรอบสำหรับใส่เกียรติบัตร จำนวน 3 ชิ้น x 100 บาท = 300 บาท รวม 1,425  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1425.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,440.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ไม่มีแหล่ง
เพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่ได้
2.อัตราป่วยจากโรคไข้เลือดออกลดลงและอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออกไม่มี
3.ประชาชนมีความตระหนักและให้ความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


>