กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งพลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งพลา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งพลา

1.นางแมะซะ วิชา
2.นางประคิน หนูอยู่ไพร
3.นายประทีบ เนียมบุญ
4.นายธเนสร์ คงสีทอง
5.นางสมพิศ เรืองเพ็ง

ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาสถานการณ์โรคไข้เลือดออกระดับจังหวัดปัตตานี จากระบบเฝ้าระวังโรค (รง.506) ในปี พ.ศ. 2566 อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566 ลดลงร้อยละ 15 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5ปืงบประมาณ (2565-2566) พบมีผู้ป่วยทั้งหมด 317 ราย อัตราป่วย 51.72 ต่อประชากรแสนคน โดยกลุ่มเสี่ยงพบในเด็กกลุ่มวัยเรียน อายุ 5 – 9 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด 668.97 ต่อประชากรแสนคนอายุ 10 – 14 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด 560.38 ต่อประชากรแสนคน และอายุ 0-4 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด 448.56 ต่อประชากรแสนคน
ในอำเภอโคกโพธิ์ ปี2566 พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 51 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 86.43 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนด(50/แสนประชากร) และในตำบลทุ่งพลาในปี 2566 เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคมของทุกปี ในปี 2566 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 222.72 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนด (50/แสนประชากร) และในการควบคุมโรคไข้เลือดออกทุกครั้ง ก็ต้องใช้ทีมควบคุมโรคไข้เลือดออก ซึ่งปัจจุบันยังมีไม่เพียงพอ จึงต้องสร้างทีมให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อให้เกิดความครอบคลุมทุกหมู่บ้าน และสร้างทีมให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ต่อไป การแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลทุ่งพลาจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันถ่วงทีที่เกิดโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ทีมควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลทุ่งพลา มีความรู้ และทักษะในการควบคุมโรคไข้เลือดออก ได้อย่างมีคุณภาพ

วัดผลจากทักษะการปฏิบัติและการเข้าร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ในวันฝึกอบรม (เป้าหมาย ร้อยละ100)

0.00 100.00
2 เพื่อให้ทีมควบคุมโรคสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเมินจากการควบคุมโรคและวิธีการพ่นหมอกควัน ในแต่ละครั้ง ที่ออกควบคุมโรคไข้เลือดออก(เป้าหมาย ร้อยละ 100)

0.00 100.00
3 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียน ชุมชน และวัด มัสยิด

อัตราการพบแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโดยค่า HI และCI=0 (ร้อยละ) 5 แห่ง

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 57
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมทักษะและให้ความรู้แก่แกนนำและทีมควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
อบรมทักษะและให้ความรู้แก่แกนนำและทีมควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 57 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,420 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 57 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน 3,990 บาท
ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ค่าน้ำยาพ่นหมอกควัน ขนาด 1 ลิตร จำนวน 3 ขวดๆละ 800 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ค่าหน้ากากป้องกันสารเคมีใส่ปฏิบัติงาน จำนวน 5 ชุดๆละ 100 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ค่าชุดป้องกันสารเคมีใส่ปฏิบัติงาน จำนวน 5 ชุดๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ค่าทรายกำจัดยุงลาย 2 ถังๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการพ่นหมอกควัน เป็นเงิน 3,000 บาท
ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 57 คนๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,280 บาท
ป้ายไวนิลโครงการฯ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำได้รับความรู้ในการปฏิบัติงานและมีเครื่องมือในการปฏิบัติหน้าที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29910.00

กิจกรรมที่ 2 การออกปฏิบัติของทีมควบคุมโรคในโรงเรียน จำนวน 4 โรงเรียน 1 ศพด

ชื่อกิจกรรม
การออกปฏิบัติของทีมควบคุมโรคในโรงเรียน จำนวน 4 โรงเรียน 1 ศพด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รร.สมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ 2.รร.บ้านเกาะตา
3.รร.ซอลีฮียะห์ 4.รร.วัดอรัญวาสิการาม
5.ศพด.ตำบลทุ่งพลา
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 10 คน ๆ มื้อละ 60 บาท x 5 วัน เป็นเงิน 3000 บาท
ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง จำนวน 10 คน ๆ จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท x 5 วัน เป็นเงิน 3500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้โรงเรียนและศพด มีการป้องและเฝ้าระวังลูกน้ำยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,410.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทีมควบคุมโรคไข้เลือดออก มีความรู้และทักษะการควบคุมโรค ที่มีประสิทธิภาพ
2.ลดการระบาดต่อเนื่องของโรคไข้เลือดออกได้


>