กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2979-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งพลา
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 36,410.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมพร ตันธิวุฒ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 57 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาสถานการณ์โรคไข้เลือดออกระดับจังหวัดปัตตานี จากระบบเฝ้าระวังโรค (รง.506) ในปี พ.ศ. 2566 อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566 ลดลงร้อยละ 15 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5ปืงบประมาณ (2565-2566) พบมีผู้ป่วยทั้งหมด 317 ราย อัตราป่วย 51.72 ต่อประชากรแสนคน โดยกลุ่มเสี่ยงพบในเด็กกลุ่มวัยเรียน อายุ 5 – 9 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด 668.97 ต่อประชากรแสนคนอายุ 10 – 14 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด 560.38 ต่อประชากรแสนคน และอายุ 0-4 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด 448.56 ต่อประชากรแสนคน ในอำเภอโคกโพธิ์ ปี2566 พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 51 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 86.43 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนด(50/แสนประชากร) และในตำบลทุ่งพลาในปี 2566 เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคมของทุกปี ในปี 2566 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 222.72 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนด (50/แสนประชากร) และในการควบคุมโรคไข้เลือดออกทุกครั้ง ก็ต้องใช้ทีมควบคุมโรคไข้เลือดออก ซึ่งปัจจุบันยังมีไม่เพียงพอ จึงต้องสร้างทีมให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อให้เกิดความครอบคลุมทุกหมู่บ้าน และสร้างทีมให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ต่อไป การแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลทุ่งพลาจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันถ่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ทีมควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลทุ่งพลา มีความรู้ และทักษะในการควบคุมโรคไข้เลือดออก ได้อย่างมีคุณภาพ

วัดผลจากทักษะการปฏิบัติและการเข้าร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ในวันฝึกอบรม (เป้าหมาย ร้อยละ100)

0.00 100.00
2 เพื่อให้ทีมควบคุมโรคสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเมินจากการควบคุมโรคและวิธีการพ่นหมอกควัน ในแต่ละครั้ง ที่ออกควบคุมโรคไข้เลือดออก(เป้าหมาย ร้อยละ 100)

0.00 100.00
3 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียน ชุมชน และวัด มัสยิด

อัตราการพบแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโดยค่า HI และCI=0 (ร้อยละ) 5 แห่ง

0.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36,410.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมทักษะและให้ความรู้แก่แกนนำและทีมควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 29,910.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 การออกปฏิบัติของทีมควบคุมโรคในโรงเรียน จำนวน 4 โรงเรียน 1 ศพด 0 6,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทีมควบคุมโรคไข้เลือดออก มีความรู้และทักษะการควบคุมโรค ที่มีประสิทธิภาพ 2.ลดการระบาดต่อเนื่องของโรคไข้เลือดออกได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2567 00:00 น.