กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนบ้านยานิงวิถีใหม่ ห่างไกลโรค NCDs

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

โรงพยาบาลเจาะไอร้อง

ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

โรคความดันและเบาหวานมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยจากการตรวจร่างกาย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 ปี 2562 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 14 ล้านคน(ร้อยละ 25.4) เท่ากับว่า 1 ใน 4 ของคนไทย ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 48.8) ไม่ทราบว่าตนเองป่วย พร้อมกันนั้นยังพบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวานถึง 5 ล้านคน (ร้อยละ9.5) 1 ใน3 ของคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน (ร้อยละ 30.6) ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวานมาก่อนและมีเพียง1ใน 4 คน (ร้อยละ 26.3) เท่านั้น ที่สามารถ ควบคุมโรคได้ โรงพยาบาลเจาะไอร้อง สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบแนวโน้มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูง รายใหม่ต่อแสนประชากร เขตตำบลจวบ ตั้งแต่ ปี 2562-2566พบ 960.19, 670.54, 800.00, 664.26 และ 665.69 ตามลำดับ และ อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ต่อแสนประชากร เขตตำบลจวบ ตั้งแต่ ปี 2562-2566 พบ397.32 ,302.56 ,329.90 , 352.63 และ373.44 ตามลำดับ และการควบคุมโรคเบาหวานได้ดียังมีจำนวนน้อย จากข้อมูลร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมโรคน้ำตาลได้ดี เขตตำบลจวบ ปี 2562-2566 พบ 29.32, 23.14, 16.72, 21.68 และ 18.15 (ข้อมูล HDC จังหวัดนราธิวาส)
ชุมชนบ้านยานิง หมู่ที่ 2 ต.จวบ เป็นชุมชน เขตตำบลจวบ อ.เจาะไอร้อง จ. นราธิวาส ประกอบด้วย 437 หลังคาเรือนประชากรอยู่จริงทั้งหมด2,123 คน แบ่งเป็น ผู้ชาย1,031 คน ผู้หญิง1,092คน กลุ่มอายุ แรกเกิด-8 ปี จำนวน 336 คน9-14ปี จำนวน 292 คน 15-34ปี จำนวน 754 คน 35-59ปี จำนวน 662 คน และ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 203คน (ข้อมูลจากการสำรวจจริงของอสม. วันที่ 28 เดือนกันยายน 2567) พบผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนจำนวน 210 ราย คิดเป็น ร้อยละ 9.89 ของ ประชากรทั้งหมด แบ่งเป็นโรคความดันโลหิตสูง พบมากสุด จำนวน 128 รายคิดเป็นร้อยละ 60.95 รองลงมา โรคเบาหวาน จำนวน 62 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.52โรคหอบ จำนวน8 ราย พบผู้ที่มีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ โรคเส้นเลือดสมอง2 ราย โรคหัวใจ 4 ราย โรคไต6 รายและจากการเก็บข้อมูลสถิติอัตราการขาดนัดในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังใน หมู่บ้านยานิง ตำบลจวบ มี สูงถึง ร้อยละ 66.5 สาเหตุภาพรวมส่วนใหญ่มาจากการขาดความรู้เรื่องโรคคิดว่าไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องรับประทานยา และถ้ามารับบริการโรงพยาบาลต้องใช้เวลารอคอยนาน ทำให้ต้องขาดงาน ไม่เฉพาะตัวคนไข้ แต่รวมถึงผู้ดูแลด้วย
ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพการบริการ เป็นอีก 1 บทบาทที่จำเป็น ในการดูแลและจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการ ลดปัจจัยเสี่ยง ลดโรค รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลเจาะไอร้องจึงสนใจทำโครงการชุมชนบ้านยานิงวิถีใหม่ห่างไกลโรคNCD ส่งเสริมการมีส่วนร่วมการดูแลสุขภาพตัวเองและครอบครัว เน้นการจัดการตัวเองของชุมชนที่เหมาะสมตามบริบท และมีทีมสุขภาพเป็นที่ปรึกษา นอกจากนี้เครือข่ายชุมชนเช่น อสม. ผู้นำชุมชน อบต. อำเภอ ก็มีส่วนร่วมในการดูแลด้านสุขภาพชองชุมชนด้วย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงานและจัดทำแผนงาน/กิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแต่งตั้งคณะทำงานและจัดทำแผนงาน/กิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาทx 46 คน = 2,760บ.
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆละ25บาท x 1 วัน x 46 คน = 2,300บ.
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการชุมชนบ้านยานิงวิถีใหม่ ห่างไกล NCDs ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร จำนวน 1ป้าย = 720 บาท
  • รวมงบประมาณ กิจกรรมที่ 1 ทั้งสิ้น5,780 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สามารถลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้
  2. สามารลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5780.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาทักษะอสม. ม.2 ต.จวบ จำนวน 25 คน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาทักษะอสม. ม.2 ต.จวบ จำนวน 25 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาทx 25 คน = 1,500บ.
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆละ25บาท x 1 วัน x 25 คน = 1,250บ.
  • ค่าป้ายไวนิลกิจกรรมพัฒนาทักษะอสม. ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร จำนวน 1ป้าย= 720 บาท
  • รวมงบประมาณ กิจกรรมที่2 ทั้งสิ้น 3,470 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สามารถลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้
  2. สามารลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3470.00

กิจกรรมที่ 3 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน กลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 250 คน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน กลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 250 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 1 มื้อๆละ25บาท x 1 วัน x 250คน = 6,250บ.
  • ค่าป้ายไวนิลคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประจำปี 2567 ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร จำนวน 1ป้าย = 720 บาท
  • รวมงบประมาณ กิจกรรมที่2 ทั้งสิ้น 6,970 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สามารถลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้
  2. สามารลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6970.00

กิจกรรมที่ 4 คลินิกยานิงซีฮัต (ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี เวลา 7.30-15.00น.)

ชื่อกิจกรรม
คลินิกยานิงซีฮัต (ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี เวลา 7.30-15.00น.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สมุดทะเบียนผู้ป่วยจำนวน 4 เล่ม x 27 บาท= 108บาท
  • ปากกา จำนวน 20 ด้าม x5 บาท = 100 บาท
  • ไม้บรรทัด จำนวน 4 ด้าม x25 บาท = 100 บาท
  • กระดานไวท์บอร์ด ขนาด 60x90 ซม.x1 แผ่น = 365 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลคลินิกยานิงซีฮัต ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร จำนวน 1ป้าย = 720 บาท รวมงบประมาณ กิจกรรมที่2 ทั้งสิ้น 1,393 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สามารถลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้ 2.สามารลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1393.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,613.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้
2.สามารลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง


>