กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า

ตำบลเกาะสะบ้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 มีการตรวจพบว่ามีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีสารอันตราย

 

70.00
2 มีการตรวจพบว่ามีสารปนเปื้อนในอาหารสด ที่จำหน่ายชุมชน

การอุปโภค และบริโภคที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนมีสุขภาพดี การบริโภคที่ไม่เหมาะสมนำไปสู่การเจ็บป่วย เช่น เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เป็นต้น โรคเหล่านี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในระดับต้นของประเทศ ปัญหาการบริโภคในปัจจุบัน และเกิดในทุกส่วนของการบริโภค ตั้งแต่ ความด้อยคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งมอบที่เกิดจากผู้ผลิต มุ่งหมายแต่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว ประกอบกับผู้บริโภคขาดข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ในการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ หรือบริการทำให้พฤติการณ์การบริโภคมีปัญหาเพิ่มมากขึ้นไปอีก เช่น การใช้ยาในทางที่ผิด ถูกเอารัดเอาเปรียบในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการ ทำให้ได้รับอันตราย หรือเสียเปรียบโดยไม่รู้เท่าทัน ประกอบกับการคุ้มครองด้านการบริโภคของประเทศยังไม่มีความชัดเจนเป็นเอกภาพ ยิ่งทำให้ปัญหาการบริโภคเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ อีกทั้งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป้าหมายที่จะมุ่งสร้างหลักประกัน และความมั่นคงการมีสุขภาพที่ดีแก่ประชาชน โดยกำหนดเป็นนโยบาย และเป็นภารกิจระดับชาติที่อยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรด้านสุขภาพที่รวมพลังสังคมเพื่อประชาชนสุขภาพดี” และมีเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข หัวข้อที่ 1 P&P Excellence (การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ และความปลอดภัยด้านอาหาร และลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคติดต่อไม่เรื้อรัง) หัวข้อที่ 3 Governance Excellence (ความมั่นคงด้านยาและเวชภัณฑ์และการคุ้มครองผู้บริโภค) สอดคล้องกับการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขตามนโยบายรัฐบาล ข้อ 5 การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพของประชาชน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชนมิให้ได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นห่างไกลต้องได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และตรวจสอบ ติดตาม คุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในสถานที่จำหน่าย ในปี พ.ศ.2565 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า จึงได้สร้างเสริมศักยภาพชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการงานคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และมีประสิทธิภาพภายใต้การบริการแบบมีส่วนร่วม โดยจัดตั้งศูนย์แจ้งเดือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ที่มีกลไกเฝ้าระวังติดตามตรวจสอบผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการรับเรื่องราวร้องทุกข์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบล และการสร้างเสริมศักยภาพของผู้บริโภคในชุมชน โดยร่วมมือกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 จัดอบรมแกนนำอสม.นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ที่ช่วยขับเคลื่อนศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า มีแกนนำอสม.นักวิทย์ จำนวน 16 คน ผ่านการอบรมจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 จำนวน 4 คน มีการทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำจากร้านขายอาหารในชุมชนจำนวน 16 ตัวอย่าง พบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 3 ตัวอย่าง จึงให้อสม.นักวิทย์ที่รับผิดชอบในพื้นที่แจ้งไปยังเจ้าของร้านและแนะนำการเลือกซื้อน้ำมัน พร้อมลงผลการทดสอบในหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพของกรมวิทย์ With you เพื่อเฝ้าระวังให้ประชาชนทราบต่อไป จากข้อมูลข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์แจ้งเตือนภัยเฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน โดยการพัฒนาและสร้างศักยภาพศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลตนเอง โดยอาศัยข้อมูลจาก อสม.นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน รวมทั้งเพิ่มศักยภาพ อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยสุขภาพในชุมชน ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้เป็นการดำเนินงานต่อยอดและขยายผล เพื่อให้การดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

80.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียน การจำหน่ายอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีสารอันตรายในร้านขายของชำ ร้านอาหารและแผงลอย

ไม่พบการจำหน่ายอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีสารอันตรายในร้านขายของชำ ร้านอาหารและแผงลอย

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการประชุมชี้แจงคณะกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการประชุมชี้แจงคณะกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมชี้แจงคณะกรรมการศูนย์เตือนภัยเฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน เพื่อขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่จำนวน 27 คน ประกอบด้วย - อสม.นักวิทย์ 16 คน
- จนท.รพ.สต 2 คน
- ตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน 8 คน
- อบต.เกาะสะบ้า 1 คน

ครั้งที่ 1 วันที่ 25 มีนาคม 2567เรื่อง แนวทางการดำเนินงานศูนย์เตือนภัยฯ ครั้งที่ 2 วันที่ 24 มิถุนายน 2567เรื่อง ติดตามการดำเนินงาน และผลการดำเนินงาน 1.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 วันๆละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท x 27 คน รวมเป็นเงิน 1350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมวางแนการดำเนินงานและติดตามผลการดำเนินงาน ผลลัพท์ : มีศูนย์เฝ้าระวังเตือนภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร (สารปนเปื้อน 4 ชนิด ) น้ำดื่มน้ำแข็ง และน้ำมันทอดซ้ำ เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร (สารปนเปื้อน 4 ชนิด ) น้ำดื่มน้ำแข็ง และน้ำมันทอดซ้ำ เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เก็บตัวอย่างอาหาร และน้ำมันทอดซ้ำจากร้านค้าในพื้นที่โดย อสม.นักวิทย์

2.การทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร (สารปนเปื้อน 4 ชนิด) และโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็งจากร้านขายอาหาร แผงลอยในชุมชนโดยอสม.นักวิทย์ และอย.น้อยโรงเรียนบ้านบ่อน้ำส้มได้แก่
- สารฟอกขาว
- สารบอแรกซ์
- สารกันรา
- ฟอร์มาลิน
ในแผงขายอาหารสด จำนวน 4 ร้าน ได้แก่ - นายชัยยุทธฟุ้งกุศลมงคล - นางสาวกาญจนีไชยทอง - นายพงศ์ปรามินทร์ทองรักษ์ - นางสาวนฤมลแก้วเกาะสะบ้า ร้านอาหารและแผงลอย จำนวน 7 ร้าน ได้แก่ - ร้านฟิลด์คาเฟ่ - นางอลิษาพันชล - นางชัญญาภัคกันทา - นางทิพย์วรรณถาวรสุทธิ์ - นางสาวอนุสราขะหงี - นางสุกัลยาเจ๊ะสะแม - นางสุไรด๊ะหวันหวัง

3.การทดสอบสารโพลาร์ ในน้ำมันทอดซ้ำจำนวน 10 ร้าน ได้แก่
- นางระพีพรมากละเอียดไก่ทอด - นางประคองเวียงหงค์ ไก่ทอด - นายวีระยุทธ์หมุดเด็น ไก่ทอด - นางสุดาจันทร์จิตร ลูกชิ้น - นางรอมีเย๊าะยาเล ไก่ทอด - นางอุษาส์แก้วเกาะบ้าลูกชิ้น - นางกัลยาดนหมาน ไก่ทอด - นางลดามณี ชลมุณี ลูกชิ้น - นางอรุณ สูสมแก้วปาท่องโก๋ - น.ส.อนุสราขะหงีลูกชิ้น

1.1. ค่าชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร 4 ชนิด จำนวน 1 ชุดๆละ 1,625 บาทเป็นเงิน 1,625 บาท 1.2 ค่าชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็งจำนวน 1 ชุดๆละ 800 บาท เป็นเงิน 800 บาท 1.3 ค่าชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 1 ชุดๆละ 1,125 บาทเป็นเงิน 1,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : ไม่พบสารปนเปื้อน 4 ชนิด โคลิฟอร์มในน้ำ  น้ำแข็ง และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ผลลัพธ์ : ไม่พบผู้ป่วยและการร้องเรียนปัญหาจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3550.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการทดสอบสารอันตรายเบื้องต้นในผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการทดสอบสารอันตรายเบื้องต้นในผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจ ตรวจร้านชำประจำปี โดยเจ้าหน้าที่รพ.สต. และอสม.นักวิทย์ในแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 38 ร้าน
2.เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรังสำรวจการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3.นำตัวอย่างที่ได้จากการสำรวจมาทำการตรวจหาสารปนเปื้อน 4.การทดสอบสารอันตรายเบื้องต้นในเครื่องสำอาง โดยอสม.นักวิทย์ และอย.น้อยโรงเรียนบ้านบ่อน้ำส้ม ได้แก่
- สารสเตียรอยด์ในเครื่องสำอาง จำนวน 5 ตัวอย่าง - สารปรอท จำนวน 5 ตัวอย่าง - สารไฮโดรควิโนน จำนวน 5 ตัวอย่าง - กรดวิตามินเอ จำนวน 5 ตัวอย่าง 5.การทดสอบสารอันตรายเบื้องต้นในยาแผนโบราณ ได้แก่ - สารสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ จำนวน 5 ตัวอย่าง

ร้านขายของชำ และในชุมชน จำนวน 16 ตัวอย่าง ได้แก่ - ร้านค้าชุมชนหมู่ 1 - นางละเมียดทองรักษ์ - นางเฉลียวหนูทอง - นางวรรณวดีพัดทะนี - นางกุลยาอาญาพิทักษ์ - นายชัยยุทธฟุ้งกุศลมงคล - นางรูฮานีโน๊ะสุธรรม - น.ส.สุมินตราโน๊ะสุธรรม - นางกลิ่นทองเพ็ชรคง - นายวิชชุเดชหนูจันทร์ - นายรัตนภูเบศแก้วเกาะสะบ้า - นางดวงตาแซ่ตั้น - นางไอรยาจันทรจิตจริงใจ - นางฐานิสร์เปี่ยมศักดิ์ - นางกรรณิกาแก้วมาก - นางอารีวัลย์แก้วเกาะสะบ้า

1.1. ค่าชุดทดสอบสารสารอันตรายในเครื่องสำอาง จำนวน 1 ชุดๆ ละ 1,284 บาท 1.2 ค่าชุดทดสอบสารสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ จำนวน 5 ชุดๆละ 189 บาทเป็นเงิน 945 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : ไม่พบสารอันตรายในอยา และเครื่องสำอาง ผลลัพธ์ : ไม่พบผู้ป่วยและการร้องเรียนจากปัญหาการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2229.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,129.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีศูนย์แจ้งเตือนภัยเฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2.ไม่พบสารปนเปื้อนในร้านอาหาร แผงลอย และแผงขายอาหารสด และไม่พบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นอันตรายในร้านขายของชำ


>