กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ(โรคไข้เลือดออก)2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า

ตำบลเกาะสะบ้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากตำบลเกาะสะบ้าสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับเชิงเขาอากาศค่อนข้างชื้นและโรคติดต่อที่พบบ่อยมีโรคสุกใส โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วงและโรคไข้เลือดออก แต่ในส่วนของตำบลเกาะสะบ้าโรคติดต่อที่เป็นปัญหามากจากการ ทำ SRM(ประชาคม)คือโรคไข้เลือดออกและเป็นโรคที่มีอัตราป่วยสูงมากในปี 2559 ถึง 383.65 /แสน ปชก.และลดลงมาในปี 2560 เป็น 112.80 /แสน ปชก. เพิ่มขึ้นในปี 2563 และในปี 2566 พบผู้ป่วยจำนวนหลายราย และยังเป็นปัญหาที่สำคัญของตำบลเกาะสะบ้า
โรคนี้ยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย และเป็นนโยบายที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขในการที่จะลดอัตราการป่วยและตายจากโรคนี้ให้หมดไป ในพื้นที่อำเภอเทพาจะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้เป็นประจำทุกๆ ปีในส่วนของตำบลเกาะสะบ้า พบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ทุกปีเช่นเดียวกันสำหรับในปี2566 ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยจำนวน 25ราย คิดเป็นอัตราป่วย 415.83 /แสน ปชก.และคาดว่าในปี 2567 จะเป็นปีที่ระบาดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลเกาะสะบ้า โดยเน้นให้ลดอัตราป่วยหรือจนกว่าจะไม่พบผู้ป่วยเลย รพ.สต.เกาะสะบ้าอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการ“ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก” เพื่อลดปัญหาอัตราป่วยของประชากรให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และเพื่อสร้างนิสัยการป้องกันโรคย่อมดีกว่าการแก้ไขเมื่อมีโรคเกิดขึ้นแล้ว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุให้ต่ำกว่าเกณฑ์

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ไม่เกิน 50ต่อแสน ปชก.

49.90 50.00
2 ไม่พบอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก=0

0.00 0.00
3 เพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหาโรคไช้เลือดออก โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือน

จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ 10 (ค่า HI (House Index)ไม่เกินร้อยละ 10)

9.18 10.00
4 เพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหาโรคไช้เลือดออก โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานที่สาธารณะ

จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายในที่สาธารณะ(วัด,โรงเรียน,มัสยิด,ศูนย์ตาดีกา,ศุูนย์เด็กเล็ก.สถานที่ราชการ)มีค่า=0 (ค่า CI (Contain Index)=0)

3.46 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 378
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,091
กลุ่มวัยทำงาน 3,563
กลุ่มผู้สูงอายุ 980
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำและเสนอโครงการแก่ กองทุน สปสช.ตำบลเกาะสะบ้า พร้อมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
จัดทำและเสนอโครงการแก่ กองทุน สปสช.ตำบลเกาะสะบ้า พร้อมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการจาก กองทุน สปสช.อบต.เกาะสะบ้า -ชี้แจงรายละเอียดโครงการที่ได้รับอนุมัติ แก่ผู้นำชุมชน ประชาชนในพื่นที่ ตามกลุ่มวัยที่เกี่ยวข้อง -ไม่มีงบประมาณและค่าใช่้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 27 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับทราบรายละเอียดโครงการ

-ประชาชนแต่ละกลุ่มวัย ได้รับทราบบทบาทและหน้าที่่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์สำหรับใช้ในการควบคุมยุงลาย
ประเภทวัสดุ -ทรายอะเบส จำนวน 3 ถัง × 4,800 บาท     เป็นเงิน   14,400    บาท -น้ำยาพ่นยุง  ขนาดบรรจุ 1 ลิตร จำนวน 6 ขวด × 1,700 บาท   เป็นเงิน   10,200    บาท -เสปรย์ฉีดยุง ขนาดบรรจุ 300 มล.จำนวน 10 โหล × 900 บาท เป็นเงิน   9,000    บาท -โลชั่นทากันยุง   แบบซองจำนวน  1,500 ซอง × 6 บาท  เป็นเงิน   9,000    บาท -ค่าวัสดุ หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง(50 ชิ้น/กล่อง)  จำนวน  20 กล่อง × 420 บาท     เป็นเงิน    8,400     บาท -ถุงมือ ยาง จำนวน 20 กล่อง × 200 บาท  เป็นเงิน    4,000    บาท -ถุงดำ ขนาด 2836 นิ้ว (14 ใบ/แพ็ค)จำนวน 30 แพ็ค × 55 บาท   เป็นเงิน    1,650    บาท -น้ำมันเครื่องยนต์ 2 จังหวะ จำนวน 1 ลิตร × 140 บาท เป็นเงิน    140    บาท -น้ำมันเบนซิล 95 จำนวน 90  ลิตร ×40 บาท (ราคา ณ วันที่ 25 ก.ย.66)เป็นเงิน 3,600    บาท -น้ำมันดีเซล จำนวน   100  ลิตร × 30 บาท (ราคา ณ วันที่ 25 ก.ย.66)   เป็นเงิน    3,000    บาท แผ่นป้ายไวนิลให้ความรู้โรคไข้เลือดออก ขนาด 1.22.4 เมตร จำนวน   9   ผืน × 576 บาท เป็นเงิน    5,184   บาทสองบาทถ้วน ) หมายเหตุ   ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 68,574  บาท (เงินหกหมื่นแปดพันห้าร้อยเจ็ดสิบสี่บาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

วัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอในการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
68574.00

กิจกรรมที่ 3 ทำกิจกรรมบิกคลีนนิ่ง พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานที่สาธารณะ เช่นโรงเรียน ,วัด.มัสยิด.ศูนย์เด็กเล็กและศูนย์ตาดีกาประจำมัสยิด

ชื่อกิจกรรม
ทำกิจกรรมบิกคลีนนิ่ง พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานที่สาธารณะ เช่นโรงเรียน ,วัด.มัสยิด.ศูนย์เด็กเล็กและศูนย์ตาดีกาประจำมัสยิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-รพ.สต.เกาะสะบ้า ร่วมกับ อสม.,หมู่บ้าน,วัด,มัสยิด โรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กทุกโรง ในพื้นที่ทุกแห่งร่วมกันจัดกิจกรรมวันรณรงค์ไข้เลือดออก(Big Cleaning Day) •  ในโรงเรียน ครูและนักเรียนจัดกิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ฯ มุ่งเน้นวิธีทางกายภาพโดย -ตรวจอาคารเรียน,ห้องน้ำและบริเวณอาคารเรียนไม่ให้มีแหล่งน้ำที่ยุงลายจะวางไข่หรือเกาะพักได้  และกำจัดลูกน้ำทิ้งทุกแห่งที่พบด้วยวิธีการ 1.ขัดล้าง ระบายน้ำทิ้ง จากภาชนะเก็บน้ำในห้องน้ำนักเรียนและครู 2.ล้างและเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ของห้องเรียน 3.ปิดฝาตุ่มน้ำให้มิดชิด 4.คว่ำ ฝัง เผา เศษภาชนะต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อมิให้เป็นที่รองรับน้ำ  เช่น กระป๋อง ยางรถ ยนต์  กะลามะพร้าว เป็นต้น 5.จัดห้องเรียนให้มีแสงสว่างพอเพียง มีการระบายอากาศที่ดี โดยเฉพาะห้องเรียนเด็กเล็ก     6.ให้สุขศึกษานักเรียน ระวังอย่าให้ยุงกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางวัน 7.การใช้มาตการ 5 ป. 1 ข. มาใช้ปราบยุงลาย คือ ป.ที่ 1 ปิด ฝาโอ่งหรือภาชนะขังน้ำให้มิดชิด ป.ที่ 2 เปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน เช่นน้ำในแจกัน โอ่งน้ำใช้ จานรองขาตู้กับข้าว ป.ที่ 3 ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะด้วยปลาหางนกยูงที่กินลูกน้ำยุง ป.ที่ 4 ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน และ ป.ที่ 5 ขอให้เจ้าของบ้านเรือนลงมือปฏิบัติเองจนเป็นนิสัยไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ และมาตรการ 1 ข. คือการขัด ล้างภาชนะก่อนเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกสัปดาห์ เพื่อกำจัดไข่ยุงที่เกาะอยู่ภายในภาชนะ    8.พ่นหมอกควันในโรงเรียนโรงเรียน,ศูนย์ตาดีกาประจำมัสยิด และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเปิดเทอมหรือหลังเปิดเทอม •  ในชุมชน หมู่บ้าน รวมวัด,มัสยิดและค่ายทหาร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับ อสม.,ทหาร,ผู้นำชุมชนและประชาชนทั่วไป  ร่วมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกหลังคาเรือน  เน้นวิธีทางกายภาพ  โดยการตรวจอาคาร ห้องน้ำรอบๆบริเวณบ้านไม่ให้มีแหล่งน้ำที่ยุงลายจะวางไข่ได้ วิธีการกำจัดลูกน้ำโดยการ 1.  ปิดฝาตุ่มให้มิดชิด และเมื่อเติมน้ำหรือตักน้ำแล้วต้องปิดฝาให้มิดชิดทุกครั้งเลย 2.  ล้างและเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ 3  ขัดล้างระบายน้ำทิ้ง จากภาชนะเก็บน้ำในห้องน้ำ  คว่ำ ฝัง เผา เศษภาชนะต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อมิให้เป็นที่รองรับน้ำ  เช่น กระป๋อง ยางรถยนต์  กะลามะพร้าว เป็นต้น      4.  ใส่เกลือแกงหรือน้ำส้มสายชู,ผงซักฟอกในจานรองขาตู้กันมด               5.  ให้สุขศึกษาประชาชน ระวังอย่าให้โดนยุงกัด โดยเฉพาะในเวลากลางวัน      6.  ให้ อสม.สำรวจลูกน้ำยุงลาย หาค่า HI,CI ในเขตรับผิดชอบ  โดยหมู่บ้านใดที่พบผู้ป่วย จะสำรวจทุก      สัปดาห์ และหมู่บ้านที่ไม่มีผู้ป่วย สำรวจทุก 4  สัปดาห์ -ไม่มีงบประมาณและค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2567 ถึง 17 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บ้าน, วัด.มัสยิด.ศูนย์เด็กเล็กและศูนย์ตาดีกาประจำมัสยิด ปลอดจากแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ควบคุมและกำจัดโรคไข้เลือดออก กรณีเกิดเคสผู้ป่วยในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ควบคุมและกำจัดโรคไข้เลือดออก กรณีเกิดเคสผู้ป่วยในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-กรณีมีเคสผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชน แจกยาทากันยุงแก่ผู้ป่วย,สเปร์พ่นยุงและผู้อาศัยในบ้านเดียวกันร่วมทั้งพ่นหมอกควัน ทุกหลังคาเรือนในรัศมี 100 เมตรจากบ้านผู้ป่วย สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย จนค่า HI/CI มีค่าเท่ากับ 0

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ไม่มี่การระบาดของโรคไข้เลือดออก -ค่าHI/CI ในชุมชน มีค่าเท่ากับ 0

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินโครงการ รายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณ -ทำเอกสาร ส่งให้กองทุน สปสช.ตำบลเกาะสะบ้า

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเอกสารเป็นรูปเล่ม สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 68,574.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2567 ลดลง
2. อัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2567 เป็นศูนย์
3. องค์กรชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องมีการดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพทุกหลังคาเรือน
4. ดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านลดลงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้


>