กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า รหัส กปท. L5188

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ(โรคไข้เลือดออก)2567
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า
3.
หลักการและเหตุผล

เนื่องจากตำบลเกาะสะบ้าสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับเชิงเขาอากาศค่อนข้างชื้นและโรคติดต่อที่พบบ่อยมีโรคสุกใส โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วงและโรคไข้เลือดออก แต่ในส่วนของตำบลเกาะสะบ้าโรคติดต่อที่เป็นปัญหามากจากการ ทำ SRM(ประชาคม)คือโรคไข้เลือดออกและเป็นโรคที่มีอัตราป่วยสูงมากในปี 2559 ถึง 383.65 /แสน ปชก.และลดลงมาในปี 2560 เป็น 112.80 /แสน ปชก. เพิ่มขึ้นในปี 2563 และในปี 2566 พบผู้ป่วยจำนวนหลายราย และยังเป็นปัญหาที่สำคัญของตำบลเกาะสะบ้า
โรคนี้ยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย และเป็นนโยบายที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขในการที่จะลดอัตราการป่วยและตายจากโรคนี้ให้หมดไป ในพื้นที่อำเภอเทพาจะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้เป็นประจำทุกๆ ปีในส่วนของตำบลเกาะสะบ้า พบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ทุกปีเช่นเดียวกันสำหรับในปี2566 ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยจำนวน 25ราย คิดเป็นอัตราป่วย 415.83 /แสน ปชก.และคาดว่าในปี 2567 จะเป็นปีที่ระบาดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลเกาะสะบ้า โดยเน้นให้ลดอัตราป่วยหรือจนกว่าจะไม่พบผู้ป่วยเลย รพ.สต.เกาะสะบ้าอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการ“ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก” เพื่อลดปัญหาอัตราป่วยของประชากรให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และเพื่อสร้างนิสัยการป้องกันโรคย่อมดีกว่าการแก้ไขเมื่อมีโรคเกิดขึ้นแล้ว

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุให้ต่ำกว่าเกณฑ์
    ตัวชี้วัด : อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ไม่เกิน 50ต่อแสน ปชก.
    ขนาดปัญหา 49.90 เป้าหมาย 50.00
  • 2. ไม่พบอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก
    ตัวชี้วัด : อัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก=0
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 0.00
  • 3. เพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหาโรคไช้เลือดออก โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือน
    ตัวชี้วัด : จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ 10 (ค่า HI (House Index)ไม่เกินร้อยละ 10)
    ขนาดปัญหา 9.18 เป้าหมาย 10.00
  • 4. เพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหาโรคไช้เลือดออก โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานที่สาธารณะ
    ตัวชี้วัด : จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายในที่สาธารณะ(วัด,โรงเรียน,มัสยิด,ศูนย์ตาดีกา,ศุูนย์เด็กเล็ก.สถานที่ราชการ)มีค่า=0 (ค่า CI (Contain Index)=0)
    ขนาดปัญหา 3.46 เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. จัดทำและเสนอโครงการแก่ กองทุน สปสช.ตำบลเกาะสะบ้า พร้อมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่าย
    รายละเอียด

    -จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการจาก กองทุน สปสช.อบต.เกาะสะบ้า -ชี้แจงรายละเอียดโครงการที่ได้รับอนุมัติ แก่ผู้นำชุมชน ประชาชนในพื่นที่ ตามกลุ่มวัยที่เกี่ยวข้อง -ไม่มีงบประมาณและค่าใช่้จ่าย

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. จัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในโครงการ
    รายละเอียด

    จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์สำหรับใช้ในการควบคุมยุงลาย
    ประเภทวัสดุ -ทรายอะเบส จำนวน 3 ถัง × 4,800 บาท  เป็นเงิน  14,400    บาท -น้ำยาพ่นยุง  ขนาดบรรจุ 1 ลิตร จำนวน 6 ขวด × 1,700 บาท  เป็นเงิน  10,200    บาท -เสปรย์ฉีดยุง ขนาดบรรจุ 300 มล.จำนวน 10 โหล × 900 บาท เป็นเงิน  9,000    บาท -โลชั่นทากันยุง  แบบซองจำนวน  1,500 ซอง × 6 บาท เป็นเงิน  9,000    บาท -ค่าวัสดุ หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง(50 ชิ้น/กล่อง)  จำนวน  20 กล่อง × 420 บาท  เป็นเงิน    8,400    บาท -ถุงมือ ยาง จำนวน 20 กล่อง × 200 บาท  เป็นเงิน    4,000    บาท -ถุงดำ ขนาด 2836 นิ้ว (14 ใบ/แพ็ค)จำนวน 30 แพ็ค × 55 บาท  เป็นเงิน    1,650    บาท -น้ำมันเครื่องยนต์ 2 จังหวะ จำนวน 1 ลิตร × 140 บาท เป็นเงิน    140    บาท -น้ำมันเบนซิล 95 จำนวน 90  ลิตร ×40 บาท (ราคา ณ วันที่ 25 ก.ย.66)เป็นเงิน 3,600    บาท -น้ำมันดีเซล จำนวน  100  ลิตร × 30 บาท (ราคา ณ วันที่ 25 ก.ย.66)  เป็นเงิน    3,000    บาท แผ่นป้ายไวนิลให้ความรู้โรคไข้เลือดออก ขนาด 1.22.4 เมตร จำนวน  9  ผืน × 576 บาท เป็นเงิน    5,184  บาทสองบาทถ้วน ) หมายเหตุ  ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 68,574  บาท (เงินหกหมื่นแปดพันห้าร้อยเจ็ดสิบสี่บาทถ้วน)

    งบประมาณ 68,574.00 บาท
  • 3. ทำกิจกรรมบิกคลีนนิ่ง พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานที่สาธารณะ เช่นโรงเรียน ,วัด.มัสยิด.ศูนย์เด็กเล็กและศูนย์ตาดีกาประจำมัสยิด
    รายละเอียด

    -รพ.สต.เกาะสะบ้า ร่วมกับ อสม.,หมู่บ้าน,วัด,มัสยิด โรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กทุกโรง ในพื้นที่ทุกแห่งร่วมกันจัดกิจกรรมวันรณรงค์ไข้เลือดออก(Big Cleaning Day) •  ในโรงเรียน ครูและนักเรียนจัดกิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ฯ มุ่งเน้นวิธีทางกายภาพโดย -ตรวจอาคารเรียน,ห้องน้ำและบริเวณอาคารเรียนไม่ให้มีแหล่งน้ำที่ยุงลายจะวางไข่หรือเกาะพักได้  และกำจัดลูกน้ำทิ้งทุกแห่งที่พบด้วยวิธีการ 1.ขัดล้าง ระบายน้ำทิ้ง จากภาชนะเก็บน้ำในห้องน้ำนักเรียนและครู 2.ล้างและเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ของห้องเรียน 3.ปิดฝาตุ่มน้ำให้มิดชิด 4.คว่ำ ฝัง เผา เศษภาชนะต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อมิให้เป็นที่รองรับน้ำ  เช่น กระป๋อง ยางรถ ยนต์  กะลามะพร้าว เป็นต้น 5.จัดห้องเรียนให้มีแสงสว่างพอเพียง มีการระบายอากาศที่ดี โดยเฉพาะห้องเรียนเด็กเล็ก    6.ให้สุขศึกษานักเรียน ระวังอย่าให้ยุงกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางวัน 7.การใช้มาตการ 5 ป. 1 ข. มาใช้ปราบยุงลาย คือ ป.ที่ 1 ปิด ฝาโอ่งหรือภาชนะขังน้ำให้มิดชิด ป.ที่ 2 เปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน เช่นน้ำในแจกัน โอ่งน้ำใช้ จานรองขาตู้กับข้าว ป.ที่ 3 ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะด้วยปลาหางนกยูงที่กินลูกน้ำยุง ป.ที่ 4 ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน และ ป.ที่ 5 ขอให้เจ้าของบ้านเรือนลงมือปฏิบัติเองจนเป็นนิสัยไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ และมาตรการ 1 ข. คือการขัด ล้างภาชนะก่อนเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกสัปดาห์ เพื่อกำจัดไข่ยุงที่เกาะอยู่ภายในภาชนะ    8.พ่นหมอกควันในโรงเรียนโรงเรียน,ศูนย์ตาดีกาประจำมัสยิด และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเปิดเทอมหรือหลังเปิดเทอม •  ในชุมชน หมู่บ้าน รวมวัด,มัสยิดและค่ายทหาร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับ อสม.,ทหาร,ผู้นำชุมชนและประชาชนทั่วไป  ร่วมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกหลังคาเรือน  เน้นวิธีทางกายภาพ  โดยการตรวจอาคาร ห้องน้ำรอบๆบริเวณบ้านไม่ให้มีแหล่งน้ำที่ยุงลายจะวางไข่ได้ วิธีการกำจัดลูกน้ำโดยการ 1.  ปิดฝาตุ่มให้มิดชิด และเมื่อเติมน้ำหรือตักน้ำแล้วต้องปิดฝาให้มิดชิดทุกครั้งเลย 2.  ล้างและเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ 3  ขัดล้างระบายน้ำทิ้ง จากภาชนะเก็บน้ำในห้องน้ำ  คว่ำ ฝัง เผา เศษภาชนะต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อมิให้เป็นที่รองรับน้ำ  เช่น กระป๋อง ยางรถยนต์  กะลามะพร้าว เป็นต้น      4.  ใส่เกลือแกงหรือน้ำส้มสายชู,ผงซักฟอกในจานรองขาตู้กันมด              5.  ให้สุขศึกษาประชาชน ระวังอย่าให้โดนยุงกัด โดยเฉพาะในเวลากลางวัน      6.  ให้ อสม.สำรวจลูกน้ำยุงลาย หาค่า HI,CI ในเขตรับผิดชอบ  โดยหมู่บ้านใดที่พบผู้ป่วย จะสำรวจทุก      สัปดาห์ และหมู่บ้านที่ไม่มีผู้ป่วย สำรวจทุก 4  สัปดาห์ -ไม่มีงบประมาณและค่าใช้จ่าย

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 4. ควบคุมและกำจัดโรคไข้เลือดออก กรณีเกิดเคสผู้ป่วยในชุมชน
    รายละเอียด

    -กรณีมีเคสผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชน แจกยาทากันยุงแก่ผู้ป่วย,สเปร์พ่นยุงและผู้อาศัยในบ้านเดียวกันร่วมทั้งพ่นหมอกควัน ทุกหลังคาเรือนในรัศมี 100 เมตรจากบ้านผู้ป่วย สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย จนค่า HI/CI มีค่าเท่ากับ 0

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 5. สรุปผลการดำเนินโครงการ
    รายละเอียด

    สรุปผลการดำเนินโครงการ รายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณ -ทำเอกสาร ส่งให้กองทุน สปสช.ตำบลเกาะสะบ้า

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลเกาะสะบ้า

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 68,574.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2567 ลดลง
  2. อัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2567 เป็นศูนย์
  3. องค์กรชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องมีการดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพทุกหลังคาเรือน
  4. ดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านลดลงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า รหัส กปท. L5188

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า รหัส กปท. L5188

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 68,574.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................