กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบัว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและพัฒนาความปลอดภัยและปัจจัยเสี่ยงด้านอาหาร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบัว

แกนนำคุ้มครองผู้บริโภคตำบลท่าบัว

นางจริญญา ขำวงษ์ และคณะ

ตำบลท่าบัว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในเขตตำบลท่าบัวมีร้านขายของชำ จำนวน 43 ร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 30 ร้าน ร้านจำหน่ายสุรา 43 ร้าน ร้านจำหน่ายบุหรี่ 38 ร้าน ร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง 11 ร้าน และตลาดนัดจำนวน 5 แห่ง ที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารที่มีจำหน่ายในร้านขายของชำ เนื่องจากพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชนส่วนใหญ่อยู่ห่างไกลจากตลาดสด ไม่สะดวกในการเดินทางไปซื้อของในตลาด จึงจำเป็นต้องซื้อหาจากร้านขายของชำที่อยู่ใกล้บ้าน ในปีงบประมาณ 2566 จากการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารในร้านขายของชำและร้านอาหาร จำนวน 37 ร้าน และ 1 ร้าน ตามลำดับได้รับการตรวจมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 100 และผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 90 เนื่องจากในบางร้านส่วนประกอบที่นำมาประกอบอาหารไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เช่น จากการทดสอบชุดตรวจสารฟอร์มาลีนในหมึกกรอบเย็นตาโฟ ให้ผลบวกดังนั้น เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายที่อยู่ในอาหารได้รับการป้องกัน ดูแล เฝ้าระวังอาหารที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่นให้มีความปลอดภัยและมีคุณภาพในการบริโภคอาหาร แกนนำคุ้มครองผู้บริโภคตำบลท่าบัวและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบัวได้ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้ที่เกี่ยวข้องในงานคุ้มครองผู้บริโภคในเขตพื้นที่ตำบลท่าบัวให้มีความรู้ความเข้าใจ และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์การดำเนินการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 4 ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลีน สารกันรา สารฟอกขาวเข้าใจถึงขั้นตอนการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกร, ผู้บริโภค ตลอดจนการแปลผลการตรวจและสามารถแนะนำการปฏิบัติตนเพื่อล้างสารเคมีออกจากร่างกายได้อย่างถูกต้องทั้งนี้เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับประชาชนในการเลือกซื้ออาหารและควบคุมดูแลความปลอดภัยในอาหาร และยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีสุขภาพดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่สนใจ ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดและมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรล้างพิษ
2 เพื่อแผงลอยจำหน่ายอาหาร, ร้านชำ,ตลาดนัด, ร้านจำหน่ายสุรา, ร้านจำหน่ายบุหรี่, ร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง ได้รับการตรวจสารปนเปื้อนและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
3 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารมีความรู้ความเข้าเรื่องมาตรฐานร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1 เจาะเลือดตรวจหาสารพิษตกค้างในกระแสเลือด ในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พร้อมให้ความรู้การใช้สมุนไพรล้างสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
1 เจาะเลือดตรวจหาสารพิษตกค้างในกระแสเลือด ในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พร้อมให้ความรู้การใช้สมุนไพรล้างสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การอบรมให้ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ 2.สอนสาธิตการใช้สมุนไพรล้างสารพิษ 3.สอนสาธิตการอบสมุนไพรล้างสารพิษ
งบประมาณ 1. ค่าอาหาร 1 มื้อๆละ 50 บาท และอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาท การอบรมเชิงปฏิบัติการเกษตรกรและผู้บริโภคปลอดภัย ส่งเสริมการใช้สมุนไพรล้างสารพิษ จำนวน 100 คนๆละ 100 เป็นเงิน 10,000 บาท 2. ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 ท่าน 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท 1 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท 3. ค่าวัสดุการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด เป็นเงิน 2,025 บาท     3.1 ชุดทดสอบโคลีนเอสเตอเรสในเลือด จำนวน 3 ชุด (ชุดละ 100 แผ่น) ๆ ละ 675 บาท เป็นเงิน 2,025 บาท 4. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาดกว้าง 1.2 เมตร ยาว 2.5 เมตร ตร.ม.ละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16075.00

กิจกรรมที่ 2 2. อบรมฟื้นฟูแกนนำคุ้มครองผู้บริโภคตำบลท่าบัว

ชื่อกิจกรรม
2. อบรมฟื้นฟูแกนนำคุ้มครองผู้บริโภคตำบลท่าบัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

บัว เรื่องการตรวจมาตรฐานแผงลอยจำหน่ายอาหาร, ร้านอาหาร, ร้านชำ, ตลาดนัด, ร้านจำหน่ายสุรา, ร้านจำหน่ายบุหรี่, ร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง และตรวจสารปนเปื้อนในอาหารที่มีจำหน่ายในร้านขายของชำ พร้อมทั้งให้คำแนะนำเพิ่มเติม งบประมาณ 1. ค่าอาหาร 1 มื้อๆละ 50 บาท และอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาท อบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูแกนนำคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 27 คนๆละ 100 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,700 บาท 2. ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 ท่าน 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท 1 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท 3. ค่าวัสดุโครงการ      3.1 ค่าป้ายโฟมบอร์ด Clean Food Good Taste ขนาด A4 จำนวน 24 อันๆละ 60 บาท เป็นเงิน 1,440 บาท
4. ค่าวัสดุการตรวจสารปนเปื้อน เป็นเงิน   7,870 บาท     4.1 ชุดตรวจสารบอแรกซ์ จำนวน 1 ชุดๆละ 220 บาท  เป็นเงิน 220 บาท     4.2 ชุดตรวจสารฟอร์มาลีน จำนวน 20 ชุดๆละ 50 บาท  เป็นเงิน 1,000 บาท     4.3 ชุดตรวจสารกันรา จำนวน 1 ชุดๆละ 250  บาท  เป็นเงิน 250 บาท     4.4 ชุดตรวจสารฟอกขาว จำนวน 1 ชุดๆละ 150  บาท  เป็นเงิน 150 บาทท     4.5 ชุดตรวจสารฆ่าแมลง จำนวน 2 ชุดๆ ละ 1,250 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท     4.6 ชุดตรวจ SI-2   จำนวน 150  ชุดๆละ25 บาท  เป็นเงิน 3,750 บาท         รวมเป็นเงิน 15,610 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันหกร้อยสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15610.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,685.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แผงลอยจำหน่ายอาหาร, ร้านชำ, ตลาดนัด, ร้านจำหน่ายสุรา, ร้านจำหน่ายบุหรี่, ร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
2. ประชาชนที่เข้าร่วมตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดมีความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรล้างพิษและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง


>