กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบัว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัสสู่ 2,500 วัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบัว

แกนนำอนามัยแม่และเด็กตำบลท่าบัว

นางบุญเอื้อย รักสนิท และคณะ

ตำบลท่าบัว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากนโยบาย Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และทิศทางหนึ่งคือ การยกระดับคุณค่ามนุษย์ พัฒนาคนไทยให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21” ควบคู่กับการเป็น “คนไทย 4.0 ในโลกที่หนึ่ง” โดยมีการกำหนดคุณลักษณะของคนไทย 4.0 คือ คนไทย มี IQ เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 100 ภายใน 5 ปี และร้อยละ 70 ของเด็กไทย มีคะแนน EQ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ในปี 2559 กรมสุขภาพจิต ได้ดำเนินการสำรวจสถานการณ์ความฉลาดทางสติปัญญา (ไอคิว: IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว : EQ) เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 23,641 คน พบว่า เด็กมีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 98.2 ซึ่งสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในปี 2554 เฉลี่ยอยู่ที่ 94 แต่สิ่งที่ต้องชวนคิดชวนคุยกันให้มากขึ้นนั้นคือ ยังพบเด็กที่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์บกพร่องหรือต่ำกว่า 70 ถึงร้อยละ 5.8 สูงกว่ามาตรฐานสากล (ไม่ควรเกินร้อยละ 2) สำหรับจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 1 จากข้อมูลสำรวจ ปี 2554 พบว่า มีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 101.40 และปี 2559 มีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 100.55
ใน 1,000 วันแรกของชีวิต นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรก เป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุด ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดยช่วง 270 วัน อยู่ในท้องแม่ แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ให้ลูกกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย เพื่อเป็นการเตรียมสมอง ร่วมกับการพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทย ให้มีคุณภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพเด็กให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจ มีสติปัญญาและศักยภาพที่ดี
ในช่วง 1000วันแรกของชีวิต
2. เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ครอบครัว ชุมชนและสังคมตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลและเอาใจใส่ต่อสุขภาพของสตรี ตั้งครรภ์และเด็กอายุ 0-2 ปี
ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
1. ร้อยละ 90 ของเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ
2. ร้อยละ 80 เด็ก ผู้ปกครองมีความรู้ ทัศนคติในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-2 ปี
3. ร้อยละ 65 ของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ < 12 สัปดาห์
4. ร้อยละ 75 หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพ ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์
5. ร้อยละ 85 ของเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 43
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 12
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำในชุมชน เพื่อกำหนดแนวทาง/กิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำในชุมชน เพื่อกำหนดแนวทาง/กิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำในชุมชน เพื่อกำหนดแนวทาง/กิจกรรม     7.1.1 ค่าอาหาร 1 มื้อๆละ 50 บาท และอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาท จัดประชุมเพื่อหาแนวทางการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วันที่ตำบลท่าบัว จำนวน 43 คนๆ ละ 100 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 4,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4300.00

กิจกรรมที่ 2 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูวิชาการแกนนำแม่และเด็ก

ชื่อกิจกรรม
2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูวิชาการแกนนำแม่และเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูวิชาการแกนนำแม่และเด็ก    1. ค่าอาหาร 1 มื้อๆละ 50 บาท และอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาท การอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูวิชาการแกนนำแม่และเด็ก จำนวน
           26 คนๆ ละ 100 บาท 1วัน เป็นเงิน 2,600 บาท
       2. ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 ท่าน 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,600        รวมเป็นเงิน 6,200 บาท (หกพันสองร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโภชนาศึกษาหญิงตั้งครรภ์และการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นพ่อแม่คุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโภชนาศึกษาหญิงตั้งครรภ์และการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นพ่อแม่คุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโภชนาศึกษาหญิงตั้งครรภ์และการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นพ่อแม่คุณภาพ     3.1 ค่าอาหาร 1 มื้อๆละ 50 บาท และอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาท อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโภชนาศึกษาหญิงตั้งครรภ์และการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นพ่อแม่คุณภาพจำนวน 12 คนๆ ละ 100 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท 7.3.2 ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 ท่านๆ ละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 4 .4 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องเตรียมความพร้อมอาหารมื้อแรกของลูกร่วมกับนมแม่

ชื่อกิจกรรม
.4 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องเตรียมความพร้อมอาหารมื้อแรกของลูกร่วมกับนมแม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องเตรียมความพร้อมอาหารมื้อแรกของลูกร่วมกับนมแม่ 4.1 ค่าอาหาร 1 มื้อๆละ 50 บาท และอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาทอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องเตรียมความพร้อมอาหารมื้อแรกของลูกร่วมกับนมแม่ จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท 4.2 ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 ท่านๆ ละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูแลฟัน ในผู้ปกครองเด็ก 0 - 2 ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูแลฟัน ในผู้ปกครองเด็ก 0 - 2 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูแลฟัน ในผู้ปกครองเด็ก 0 - 2 ปี
   5.1. ค่าอาหาร 1 มื้อๆละ 50 บาท และอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาท กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูแลฟัน ในเด็ก 0 - 2 ปี จำนวน 30 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
   5.2 ค่าหนังสือนิทานในการส่งเสริมพัฒนาการลูกตามวัย (0 - 2 ปี) โดยการเล่า จำนวน 20 เล่มๆ ละ 125 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท   5.3 ค่าชุดตรวจพัฒนาการเด็ก จำนวน 1 ชุด ชุดละ 4,500 บาท   5.4 ค่าชุดสาธิตแปรงสีฟันสำหรับเด็ก จำนวน 40 อันๆละ 42บาท เป็นเงิน 1,260 บาท   5.5 ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 ท่าน 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14860.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมจัดทำมุมส่งเสริมการเรียนรู้ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดทำมุมส่งเสริมการเรียนรู้ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

6 กิจกรรมจัดทำมุมส่งเสริมการเรียนรู้ผู้ปกครอง
7.6.1 ค่าโต๊ะรวมเก้าอี้ในการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 1 ชุด ชุดละ 5,000 บา รวมเป็นเงิน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,960.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 .เด็กอายุ 0-2 ปี ได้รับนมแม่และอาหารที่เหมาะสมตามวัย
2 .เด็กอายุ 0-2 ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการและมีพัฒนาการที่สมวัย
3 .เด็กอายุ 0-2 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นแก้ไข/ส่งต่อ
4. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจครรภ์และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ตามมาตรฐาน


>