กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัสสู่ 2,500 วัน
รหัสโครงการ L340725672001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ แกนนำอนามัยแม่และเด็กตำบลท่าบัว
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 39,960.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางบุญเอื้อย รักสนิท
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบัว อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 29 ม.ค. 2567 31 ส.ค. 2567 39,960.00
รวมงบประมาณ 39,960.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 43 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 12 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากนโยบาย Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และทิศทางหนึ่งคือ การยกระดับคุณค่ามนุษย์ พัฒนาคนไทยให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21” ควบคู่กับการเป็น “คนไทย 4.0 ในโลกที่หนึ่ง” โดยมีการกำหนดคุณลักษณะของคนไทย 4.0 คือ คนไทย มี IQ เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 100 ภายใน 5 ปี และร้อยละ 70 ของเด็กไทย มีคะแนน EQ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ในปี 2559 กรมสุขภาพจิต ได้ดำเนินการสำรวจสถานการณ์ความฉลาดทางสติปัญญา (ไอคิว: IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว : EQ) เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 23,641 คน พบว่า เด็กมีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 98.2 ซึ่งสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในปี 2554 เฉลี่ยอยู่ที่ 94 แต่สิ่งที่ต้องชวนคิดชวนคุยกันให้มากขึ้นนั้นคือ ยังพบเด็กที่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์บกพร่องหรือต่ำกว่า 70 ถึงร้อยละ 5.8 สูงกว่ามาตรฐานสากล (ไม่ควรเกินร้อยละ 2) สำหรับจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 1 จากข้อมูลสำรวจ ปี 2554 พบว่า มีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 101.40 และปี 2559 มีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 100.55 ใน 1,000 วันแรกของชีวิต นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรก เป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุด ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดยช่วง 270 วัน อยู่ในท้องแม่ แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ให้ลูกกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย เพื่อเป็นการเตรียมสมอง ร่วมกับการพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทย ให้มีคุณภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 39,960.00 0 0.00
??/??/???? 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูวิชาการแกนนำแม่และเด็ก 0 6,200.00 -
29 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำในชุมชน เพื่อกำหนดแนวทาง/กิจกรรม 0 4,300.00 -
29 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโภชนาศึกษาหญิงตั้งครรภ์และการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นพ่อแม่คุณภาพ 0 4,800.00 -
29 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 .4 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องเตรียมความพร้อมอาหารมื้อแรกของลูกร่วมกับนมแม่ 0 4,800.00 -
29 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูแลฟัน ในผู้ปกครองเด็ก 0 - 2 ปี 0 14,860.00 -
29 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมจัดทำมุมส่งเสริมการเรียนรู้ผู้ปกครอง 0 5,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 .เด็กอายุ 0-2 ปี ได้รับนมแม่และอาหารที่เหมาะสมตามวัย
2 .เด็กอายุ 0-2 ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการและมีพัฒนาการที่สมวัย
3 .เด็กอายุ 0-2 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นแก้ไข/ส่งต่อ 4. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจครรภ์และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ตามมาตรฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2567 00:00 น.