กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบัว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนตำบลท่าบัว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบัว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบัว

นางสาวแสงเดือน ณ จอม และคณะ

ตำบลท่าบัว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในยุคปัจจุบัน ประชาชนเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพได้รวดเร็วขึ้น หนึ่งในนั้น คือ โรคจิตเภท ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญโรคหนึ่งของประเทศไทยที่พบมากถึงร้อยละ ๑ ของประชากรทั่วไป และมีอาการกำเริบถึงร้อยละ ๕๐ – ๗๐ ซึ่งการกำเริบของโรคทางจิตเวชมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมของประเทศชาติ เนื่องจากรัฐจะต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จัดเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงมีอัตราการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ต้องใช้งบประมาณในการดูแลสูง อีกทั้งต้องอาศัยผู้ดูแลให้คอยช่วยจัดยาและจัดการชีวิตประจำวันของผู้ป่วยอยู่ตลอด
รวมทั้ง ต้องเสียเวลาในการประกอบอาชีพ และขาดรายได้ เนื่องจากต้องพาผู้ป่วยไปรับการรักษาบ่อยครั้ง และเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตของตนเองร่วมด้วยส่วนใหญ่ อาการกำเริบของผู้ป่วยจิตเวชนั้น เกิดจากการที่ผู้ป่วยกินยาไม่ต่อเนื่อง , ญาติขาดความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและขาดทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ตลอดจน ผู้ป่วยจิตเภทเองยังไม่ตระหนักรู้ถึงอาการเจ็บป่วยของตนเอง รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า และขาดทักษะที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบัว มีผู้ป่วยจิตเภทที่อยู่ในการดูแลในปี ๒๕๖6 จำนวน 13 คน ขาดยาและมีอาการกำเริบ ในปี 2566 จำนวน 5 ราย และในต้นปี 2567 พบผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 1 ราย มีอาการกำเริบเพราะขาดยาและไม่เข้ารับการรักษาเช่นกัน จากการวิเคราะห์พบว่าการกำเริบมาจากสาเหตุผู้ป่วยมารับการรักษาไม่ต่อเนื่อง มีการกินยาไม่ถูกต้อง ไม่ยอมกินยาและญาติผู้ป่วยไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลจากปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนตำบลท่าบัว ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับบริการต่อเนื่องในชุมชน ลดอาการกำเริบหรือการกลับมาเป็นซ้ำเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและลดภาระของญาติซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับบริการต่อเนื่องในชุมชน ลดอาการกำเริบหรือการกลับมาเป็นซ้ำ
2. เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและลดภาระของญาติ
ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
1. ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับการดูแลต่อเนื่องในชุมชน ร้อยละ 80
2. ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังไม่มีอาการกำเริบหรือการกลับมาเป็นซ้ำ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 52
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 13
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูความรู้ และวางแผนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ในกลุ่ม แกนนำสุขภาพBuddy, ญาติคนไข้ และผู้นำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูความรู้ และวางแผนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ในกลุ่ม แกนนำสุขภาพBuddy, ญาติคนไข้ และผู้นำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหาร 1 มื้อๆละ 50 บาท และอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาท ในการอบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูความรู้ และวางแผนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ในกลุ่ม แกนนำสุขภาพBuddy, ญาติคนไข้ และผู้นำชุมชน จำนวน 65 คน คนละ 100 บาท เป็นเงิน 6,500 บาท
  2. ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 ท่าน 5 ชม.ๆ ละ 600 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมออกเยี่ยมผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมออกเยี่ยมผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมออกเยี่ยมผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง 13 คน ทั้งหมด 6 ครั้ง (เดือนละครั้ง)
  1. ค่าพาหนะเหมาจ่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 7 คันๆละ 100 บาท จำนวน 6 วัน
เป็นจำนวนเงิน 4,200 บาท 2 ค่าวัสดุโครงการ    2.1 ค่าถ่ายเอกสารแบบบันทึกติดตามการรับประทานยาในผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง      จำนวน 400 แผ่นๆละ 1 หน้าๆ ละ 0.75 บาท เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังสามารถดูแลตัวเอง
2. ญาติผู้ป่วยมีความรู้ มีทักษะที่จะดูแลผู้ป่วยจิตเวชส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ ไม่มีอาการกำเริบ


>