กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนตำบลท่าบัว
รหัสโครงการ L340725671005
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบัว
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 14,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแสงเดือน ณ จอม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบัว อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 29 ม.ค. 2567 31 ส.ค. 2567 14,000.00
รวมงบประมาณ 14,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 52 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 13 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในยุคปัจจุบัน ประชาชนเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพได้รวดเร็วขึ้น หนึ่งในนั้น คือ โรคจิตเภท ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญโรคหนึ่งของประเทศไทยที่พบมากถึงร้อยละ ๑ ของประชากรทั่วไป และมีอาการกำเริบถึงร้อยละ ๕๐ – ๗๐ ซึ่งการกำเริบของโรคทางจิตเวชมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมของประเทศชาติ เนื่องจากรัฐจะต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จัดเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงมีอัตราการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ต้องใช้งบประมาณในการดูแลสูง อีกทั้งต้องอาศัยผู้ดูแลให้คอยช่วยจัดยาและจัดการชีวิตประจำวันของผู้ป่วยอยู่ตลอด รวมทั้ง ต้องเสียเวลาในการประกอบอาชีพ และขาดรายได้ เนื่องจากต้องพาผู้ป่วยไปรับการรักษาบ่อยครั้ง และเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตของตนเองร่วมด้วยส่วนใหญ่ อาการกำเริบของผู้ป่วยจิตเวชนั้น เกิดจากการที่ผู้ป่วยกินยาไม่ต่อเนื่อง , ญาติขาดความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและขาดทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ตลอดจน ผู้ป่วยจิตเภทเองยังไม่ตระหนักรู้ถึงอาการเจ็บป่วยของตนเอง รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า และขาดทักษะที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบัว มีผู้ป่วยจิตเภทที่อยู่ในการดูแลในปี ๒๕๖6 จำนวน 13 คน ขาดยาและมีอาการกำเริบ ในปี 2566 จำนวน 5 ราย และในต้นปี 2567 พบผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 1 ราย มีอาการกำเริบเพราะขาดยาและไม่เข้ารับการรักษาเช่นกัน จากการวิเคราะห์พบว่าการกำเริบมาจากสาเหตุผู้ป่วยมารับการรักษาไม่ต่อเนื่อง มีการกินยาไม่ถูกต้อง ไม่ยอมกินยาและญาติผู้ป่วยไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลจากปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนตำบลท่าบัว ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับบริการต่อเนื่องในชุมชน ลดอาการกำเริบหรือการกลับมาเป็นซ้ำเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและลดภาระของญาติซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,000.00 0 0.00
29 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูความรู้ และวางแผนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ในกลุ่ม แกนนำสุขภาพBuddy, ญาติคนไข้ และผู้นำชุมชน 0 9,500.00 -
31 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมออกเยี่ยมผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง 0 4,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังสามารถดูแลตัวเอง
  2. ญาติผู้ป่วยมีความรู้ มีทักษะที่จะดูแลผู้ป่วยจิตเวชส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ ไม่มีอาการกำเริบ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2567 00:00 น.