กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลอดโรคปลอดภัยบริโภคผักปลอดสารพิษ ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

รพ.สต.บ้านโหล๊ะเร็ด ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

-

หมู่ที่ 3 ,5 และ 8 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

93.33
2 ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

 

50.00
3 จำนวนร้านชำผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน

 

17.00

การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมไปถึงการจัดหาและเลือกที่จะรับประทานอาหารจากอดีตที่มีการจัดหาวัสดุอาหารมาดำเนินการปรุง การประกอบอาหารเองที่บ้านหรือในครัวเรือน ในปัจจุบันมีการจัดตั้งแผงลอยจำหน่ายอาหารไว้บริการอาหารปรุงสำเร็จแก่ประชาชน สะดวกต่อการเลือกซื้อมาเพื่อการบริโภคทั้งในครัวเรือนหรือการจัดเลี้ยงอาหารในรูปแบบต่างๆ มากมาย ดังนั้นการควบคุมดูแลให้การประกอบกิจการ การจัดบริการอาหารโดยสถานประกอบการด้านอาหารเป็นไปอย่างเหมาะสม เน้นสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค จึงเป็นงานสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในสถานประกอบการด้านอาหาร ประเภท แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร และร้านชำในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ด รวม 18 ร้าน ซึ่งร้านที่ผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ มีจำนวน 17 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 44.44 และไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 1 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 5.56 และการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในโรงเรียน ทั้ง 2 โรง จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องมุ่งเน้นส่งเสริมให้มีการพัฒนาและยกระดับสถานประกอบการดังกล่าวให้เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้โดยการตรวจแนะนำสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การพัฒนาตัวผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ในการเลือกซื้อและการจัดบริการอาหารที่สะอาดปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร จากการดำเนินงานใน ปี 2566 ประชาชนรับการตรวจหาสารเคมีในเลือดจำนวน 75 คน พบปลอดภัย 5 คน ร้อยละ 6.67 มีความเสี่ยง 18 คน ร้อยละ 24.00 และไม่ปลอดภัย 52 คน ร้อยละ 69.33 ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ดได้เล็งเห็นถึงความสำคัญความปลอดภัยด้านอาหารและสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร จึงได้จัดทำโครงการปลอดโรคปลอดภัย บริโภคผักปลอดสารพิษลดเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐาน

99.33 70.00
2 เพิ่มครัวเรือนที่ทำเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

ร้อยละของครัวเรือนที่ทำเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

50.00 65.00
3 ร้านชำผ่านเกณฑ์คุณภาพเพิ่มขึ้น

จำนวนร้านชำผ่านเกณฑ์คุณภาพ

17.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจและประเมินร้านชำคุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและประเมินร้านชำคุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสำรวจร้านชำคุณภาพในพื้นที่ จำนวน 18 ร้าน โดยลงสำรวจโดยเจ้าหน้าที่และอสม. ในพื้นที่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 20 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านชำผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ 100%

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้แก้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 70 คน
- ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 4,900 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
- ค่าวัสดุเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 2,500 บาท และค่าวัสดุการแพทย์2,100บาท2.ประเมินผลร้านชำหลังการอบรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรมและตรวจเลือดไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ผลลัพธ์ กลุ่มเป้าหมายทราบผลการตรวจและปรับการบริโภค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13900.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามผลเลือดกลุ่มเสี่ยงโดยการตรวจซ้ำ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามและตรวจซ้ำ ผลลัพธ์ กลุ่มเสี่ยงตระหนักถึงการเลือกบริโภค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. จำนวนเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชลดลง/ปริมาณการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพลดลง
2. ครัวเรือนในชุมชนทำเกษตรกรแบบปลอดภัย/อินทรีย์เพิ่มขึ้น
3. ร้านชำผ่านเกณฑ์คุณภาพทุกร้าน


>