กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลอดโรคปลอดภัยบริโภคผักปลอดสารพิษ ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3367-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโหล๊ะเร็ด ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 13,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุขวิทย์ มานันตพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 3,5 และ 8 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย
93.33
2 ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์
50.00
3 จำนวนร้านชำผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน
17.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมไปถึงการจัดหาและเลือกที่จะรับประทานอาหารจากอดีตที่มีการจัดหาวัสดุอาหารมาดำเนินการปรุง การประกอบอาหารเองที่บ้านหรือในครัวเรือน ในปัจจุบันมีการจัดตั้งแผงลอยจำหน่ายอาหารไว้บริการอาหารปรุงสำเร็จแก่ประชาชน สะดวกต่อการเลือกซื้อมาเพื่อการบริโภคทั้งในครัวเรือนหรือการจัดเลี้ยงอาหารในรูปแบบต่างๆ มากมาย ดังนั้นการควบคุมดูแลให้การประกอบกิจการ การจัดบริการอาหารโดยสถานประกอบการด้านอาหารเป็นไปอย่างเหมาะสม เน้นสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค จึงเป็นงานสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในสถานประกอบการด้านอาหาร ประเภท แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร และร้านชำในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ด รวม 18 ร้าน ซึ่งร้านที่ผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ มีจำนวน 17 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 44.44 และไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 1 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 5.56 และการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในโรงเรียน ทั้ง 2 โรง จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องมุ่งเน้นส่งเสริมให้มีการพัฒนาและยกระดับสถานประกอบการดังกล่าวให้เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้โดยการตรวจแนะนำสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การพัฒนาตัวผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ในการเลือกซื้อและการจัดบริการอาหารที่สะอาดปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร จากการดำเนินงานใน ปี 2566 ประชาชนรับการตรวจหาสารเคมีในเลือดจำนวน 75 คน พบปลอดภัย 5 คน ร้อยละ 6.67 มีความเสี่ยง 18 คน ร้อยละ 24.00 และไม่ปลอดภัย 52 คน ร้อยละ 69.33 ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ดได้เล็งเห็นถึงความสำคัญความปลอดภัยด้านอาหารและสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร จึงได้จัดทำโครงการปลอดโรคปลอดภัย บริโภคผักปลอดสารพิษลดเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐาน

99.33 70.00
2 เพิ่มครัวเรือนที่ทำเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

ร้อยละของครัวเรือนที่ทำเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

50.00 65.00
3 ร้านชำผ่านเกณฑ์คุณภาพเพิ่มขึ้น

จำนวนร้านชำผ่านเกณฑ์คุณภาพ

17.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,900.00 0 0.00
1 พ.ย. 66 - 20 มิ.ย. 67 สำรวจและประเมินร้านชำคุณภาพ 0 0.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือด 0 13,900.00 -
3 มิ.ย. 67 - 30 ส.ค. 67 ติดตามผลกลุ่มเสี่ยง 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จำนวนเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชลดลง/ปริมาณการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพลดลง
  2. ครัวเรือนในชุมชนทำเกษตรกรแบบปลอดภัย/อินทรีย์เพิ่มขึ้น
  3. ร้านชำผ่านเกณฑ์คุณภาพทุกร้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2567 16:01 น.