กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทะนง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพในพื้นที่ตำบลทะนง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทะนง

ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลทะนง

นางสุภาพรนาคพงษ์

ตำบลทะนงอำเภอโพทะเลจังหวัดพิจิตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการเฝ้าระวังสินค้าสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน และการออกตรวจสถานประกอบการในพื้นที่ตำบลทะนงปี 25656พบว่ามีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่มีสารอันตรายจำหน่ายยาชุด สินค้าหมดอายุเกลือที่ไม่ได้มาตรฐานมีสารไอโอดีนต่ำ ยังคงมีจำหน่ายอยู่ในพื้นที่ ส่วนหนึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภค ทำให้ไม่มีการตื่นตัวในการป้องกันตนเอง ทำให้ผู้ประกอบการไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและนำผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่มีสารอันตรายมาจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง และประชาชนขาดความรู้ในเรื่องของอันตรายจากการใช้ยาชุดว่ามีอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะเมื่อใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งยาชุดสามารถหาซื้อได้ง่ายในร้านชำในหมู่บ้าน ชาวบ้านใช้ยาชุดหรือยาลูกกลอนในการรักษาอาการปวดเมื่อยโดยชาวบ้านเรียกว่ายากระจายเส้น
ในพื้นที่ตำบลทะนง จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลร้านค้าร้านชำ ร้านค้าแผงลอย และร้านเสริมสวย มีจำนวนร้านทั้งหมด 118 ร้าน แบ่งออกเป็น ร้านชำ 60 ร้าน ร้านแผงลอย 29 ร้าน และร้านเสริมสวย 29 ร้าน ร้านที่ผ่านการอบรมผู้ประกอบการร้านค้าและร้านค้าแผงลอยแล้ว จำนวน 44 ร้าน และร้านที่ยังไม่ได้เข้าร่วมการอบรมผู้ประกอบการร้านค้าและร้านค้าแผงลอย จำนวน 74 ร้าน แบ่งออกเป็น ร้านชำ 46 ร้าน ร้านแผงลอย 16 ร้าน และร้านเสริมสวย 12 ร้าน
ดังนั้นเพื่อการดำเนินการงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ตำบลทะนงอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อเพิ่มความรู้ในเรื่องการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย และสิทธิผู้บริโภค สารปนเปื้อน 5 ชนิด มาตรฐานเกลือไอโอดีน แก่แกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน อสม.น้อย ผู้ประกอบการร้านค้า ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลทะนงจึงได้จัดทำโครงการการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพในพื้นที่ตำบลทะนง ปี 2567 ขึ้นโดยมีการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนให้มีส่วนร่วมในการออกตรวจมาตรฐานร้านค้าและแนะนำพัฒนาสถานประกอบการในชุมชนให้ได้มาตรฐานพัฒนาฐานข้อมูลและสนับสนุนข้อมูลวิชาการต่างๆ เช่นสิทธิของผู้บริโภคความรู้เบื้องต้นเกี่ยวข้องการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาอาหารเครื่องสำอางสถานพยาบาลการโฆษณาและฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพให้กับประชาชนในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อให้คณะกรรมการงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบลมีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานอย่าง ต่อเนื่อง
2 เพื่อให้อสม. อสม.น้อย ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้ามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลือก ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย สิทธิผู้บริโภค มาตรฐานโรงครัว/โรงอาหารในโรงเรียน การใช้ยาที่ปลอดภัยในชุมชน
3 เพื่อติดตามตรวจมาตรฐานร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาดนัด ร้านชำ และแหล่งกระจายยาในพื้นที่ตำบล
4 เพื่อตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้บริโภคในพื้นที่ตำบลทะนง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการชมรมคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการชมรมคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง(1มื้อ) 44 คน x 25 บาท x 2 ครั้ง      เป็นเงิน   2,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบลมีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรม แกนนำอสม. ผู้นำชุมชน, คกก.คบ, ผู้ประกอบการร้านค้า แผงลอยจำหน่ายอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรม แกนนำอสม. ผู้นำชุมชน, คกก.คบ, ผู้ประกอบการร้านค้า แผงลอยจำหน่ายอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหาร(1มื้อ)และอาหารว่าง(2มื้อ) 50 คน x 100 บาท       เป็นเงิน   5,000 บาท
  • ค่าวิทยากร 1 คน 6 ชม.ๆละ 600 บาท      เป็นเงิน   3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำ อสม. คกก.คบ ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอย มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง  การเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย สิทธิผู้บริโภค มาตรฐานโรงครัว/โรงอาหารในโรงเรียน การใช้ยาที่ปลอดภัยในชุมชน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ตรวจมาตรฐานร้านค้าในพื้นที่ พร้อมให้คำแนะนำในการพัฒนามาตรฐานร้านค้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ตรวจมาตรฐานร้านค้าในพื้นที่ พร้อมให้คำแนะนำในการพัฒนามาตรฐานร้านค้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร และตรวจมาตรฐานร้านค้า โดยเจ้าหน้าที่ แกนนำ อสม.      คกก.คบ. ผู้นำชุมชนที่ผ่านการอบรมแล้ว ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ - ตรวจร้านชำ - ตรวจร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร - ตรวจตลาดนัด - สุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 5 ชนิด - ตรวจเกลือไอโอดีน - ร้านเสริมสวยและร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง ค่าวัสดุ   - ชุดตรวจบอแรกซ์ 1 กล่อง กล่องละ 220 บาท    เป็นเงิน     220 บาท   - ชุดตรวจสารกันรา 1 กล่อง กล่องละ 250 บาท    เป็นเงิน     250 บาท   - ชุดทดสอบน้ำดื่ม (อ 11) 10 ชุด ชุดละ 45 บาท    เป็นเงิน     450 บาท   - ชุดทดสอบสารฟอกขาว 1 กล่อง กล่องละ 150 บาท  เป็นเงิน     150 บาท   - ชุดทดสอบสารฟอร์มาลีน 10 กล่อง กล่องละ 50 บาท  เป็นเงิน     500 บาท   - ค่าจ้างเหมารถจักรยานยนต์ 22 คัน ๆละ 200 บาท x 3 วัน    เป็นเงิน 13,200 บาท   - ค่าจ้างเหมาทำสติ๊กเกอร์สุรา,ยาสูบ 100 แผ่นๆละ 2.80 บาท  (สติ๊กเกอร์สุรา ขนาด3012, สติ๊กเกอร์ยาสูบ ขนาด2712)          เป็นเงิน  2,080  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่ทุกประเภทได้รับการตรวจประเมินมาตรฐานทุกร้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16850.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดสารเคมีในเลือด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดสารเคมีในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหาร(1มื้อ)และอาหารว่าง(2มื้อ)ของกลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคที่มีสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย 70 คน x 100 บาท    เป็นเงิน   7,000 บาท
  • ชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในผัก 1 ชุด ชุดละ 1,250 บาท  เป็นเงิน   1,250 บาท
  • ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร (SI 2) 250 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน   6,250 บาท
  • ชุดทดสอบสารพิษตกค้างในกระแสเลือด cholinesterase 10 ชุด ๆละ 520 บาท    เป็นเงิน   5,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งผลให้สารเคมีในเลือดลดลงอยู่ในระดับปกติหรือปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 คณะกรรมการงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบลมีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
2 แกนนำ อสม. คกก.คบ ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอย มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย สิทธิผู้บริโภค มาตรฐานโรงครัว/โรงอาหารในโรงเรียน การใช้ยาที่ปลอดภัยในชุมชน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3 ผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่ทุกประเภทได้รับการตรวจประเมินมาตรฐานทุกร้าน
4 กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งผลให้สารเคมีในเลือดลดลงอยู่ในระดับปกติหรือปลอดภัย


>