กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ตำบลตันหยงลุโละ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ

ตำบลตันหยงลุโละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ขณะนี้พบการแพร่ระบาดของโรคไอกรนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น โดยที่จังหวัดปัตตานีข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. - 19 ธ.ค. 66 พบผู้ป่วยเข้านิยามโรคไอกรนทั้งหมด จำนวน 126 ราย เป็นผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 126 ราย อัตราป่วย 0.126 ต่อแสนประชากร เป็นผู้ป่วยเข้าข่าย จำนวน 16 ราย และเป็นผู้ป่วยสงสัย จำนวน 15 ราย พบผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 2 ราย เป็นเด็กทารกอายุ 18 วันมีภูมิลำเนา ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เสียชีวิตจากภาวะปอดอักเสบขณะรักษาตัวที่โรงพยาบาลปัตตานี ติดมาจากครอบครัวขณะนี้รักษาผู้ป่วยในครอบครัวหมดแล้ว ปัจจุบันพบผู้ป่วยกระจายตัวอยู่ใน 12 อำเภอ คือ อำเภอเมืองปัตตานี 29 ราย,อำเภอโคกโพธิ์ 3 ราย,อำเภอหนองจิก 7 ราย,อำเภอปะนาเระ 5 ราย,อำเภอมายอ 9 ราย,อำเภอทุ่งยางแดง 12 ราย,อำเภอสายบุรี 6 ราย,อำเภอไม้แก่น 6 ราย,อำเภอยะหริ่งทั้งนี้ยังมีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในหลายอำเภอโดยไม่มีความเชื่อมโยงกัน ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลตันหยงลุโละ จึงมีความประสงค์จะจัดทำโครงการรณรงค์และป้องกันโรคไอกรน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไอกรน เป็นแนวทางในการป้องกันโรคและสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ในกรณีเกิดโรคไอกรน และสามารถป้องกันเพื่อไม่ให้เชื้อติดต่อ ไปสู่บุคคลอื่น
โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ และเกิดอาการไอ ที่มีลักษณะพิเศษคือ ไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้นจนเด็กหายใจไม่ทัน จึงหยุดไอและมีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียง วู๊ป (Whooping cough) สลับกันไปกับการไอเป็นชุดๆ จึงมีชื่อเรียกว่า “โรคไอกรน” บางครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน โรคไอกรนเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม รดกันโดยตรง ผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะติดเชื้อและเกิดโรคเกือบทุกราย โรคนี้พบได้บ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัว ซึ่งมีการติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ (carrier) หรือมีอาการไม่มาก โรคไอกรนเป็นได้กับทารกตั้งแต่เดือนแรก ทั้งนี้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านมายังลูกไม่ได้หรือได้น้อยมาก ในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราตายสูง ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีและเป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน โดยทั่วไปแล้ว โรคนี้เป็นได้ทุกอายุ ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่ในวัยหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่อาจไม่มีอาการ หรือไม่มีอาการแบบไอกรนส่วนใหญ่จึงไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน ในประเทศไทยอุบัติการณ์ของโรคไอกรนลดลง ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มระดับความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก อย่างไรก็ดียังพบโรคนี้ได้ประปรายในชนบท และพบในเด็กอายุเกิน 5 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน พบการระบาดเป็นครั้งคราวในเด็กนักเรียนชั้นประถม ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 6-20 วัน
จากสถานการณ์โรคไอกรนพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง กรณีระบาด ปี 2556 พบผู้ป่วยยืนยันทั้งหมด จำนวน 324 คน โดยจังหวัดที่พบผู้ป่วยมาที่สุด คือ จังหวัดปัตตานี จำนวน 194 คน รองลงมา จังหวัดนราธิวาส จำนวน 76 คน จังหวัดยะลา จำนวน 52 คน และจังหวัดสงขลา จำนวน 2 คน ตามลำดับ เปอร์เซ็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุด คือ จังหวัดนราธวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี คิดเป็นร้อยละ 2.63, 1.92, 1.03 ตามลำดับ สาเหตุที่มีผู้ป่วยเกิดโรคไอกรนพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เนื่องจากเด็กที่อายุ แรกเกิด-4 ปี ไม่ได้รับวัคซีนตามเกนฑ์อายุที่ควรจะได้รับวัคซีน
จากสถานการณ์โรคไอกรน (ข้อมูลตั้งแต่ 1 กันยายน 2566 ถึง วันที่ 15 มกราคม 2567) ที่พบบ่อย 7-10 วัน ถ้าสัมผัสโรคมาเกิน 3 สัปดาห์แล้วไม่มีอาการ แสดงว่าไม่ติดโรค ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคไอกรนในระบบรายงานสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 จำนวน 93 ราย เสียชีวิต 1 ราย สำหรับเขตสุขภาพที่ 12 พบผู้ป่วยยืนยัน 81 ราย แบ่งเป็น ปัตตานี 54 ราย นราธิวาส 25 ราย และตรัง 2 ราย เสียชีวิต 1 ราย ใน จ.ปัตตานี กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ ต่ำกว่า 1 ปี ร้อยละ 54.70 และอายุ 1-4 ปี ร้อยละ 11.50 โดยพบว่าผู้ป่วยไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคไอกรนและฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ซึ่งจากปัญหาการระบาดของโรคไอกรนข้างต้นสามารถอธิบายได้ว่า จังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่เสี่ยงที่อาจจะเกิดการระบาดของโรคไอกรนได้ เนื่องจากอำเภอใกล้เคียงที่ติดกับจังหวัดปัตตานี มีผู้ป่วยติดเชื้อแล้ว
จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ ในปี 2566รพ.สต. ตันหยงลุโละ มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 297 คน ซึ่งมีเด็กที่ต้องได้รับวัคซีนให้มีความครอบคลุมตามเกณฑ์ อายุทั้ง 4 ไตรมาส จำนวน 50 คน แยกเป็น เด็กอายุครบ 1 ปี, 2 ปี, 3 ปี และ 5 ปี จำนวน 10 คน, 12 คน, 7 คน และ21 คน ตามลำดับ เด็กที่มารับวัคซีนตากเกณฑ์อายุ คิดเป็นร้อยละ 14.71 , 17.39 , 8.97 และ 25.61ตามลำดับ
จากการจัดบริการคลินิกเด็กดี 4 ครั้งต่อเดือน มีการนัดเด็กอายุ 0-5 ปี ประมาณเดือนละ 15 - 20 คน แต่ยังพบอัตราการมารับวัคซีนไม่ตรงตามนัด 120 ครั้งต่อปีเฉลี่ยเดือนละ 10 ครั้ง ซึ่งเสี่ยงต่อการรับวัคซีนไม่ตรงตามเกณฑ์อายุ และไม่ครบตามความครอบคลุม ซึ่งจากการสำรวจพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่ผู้ปกครองยังไม่ตระหนัก ไม่เข้าใจถึงการระบาด และความรุนแรงของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน รวมไปถึงการได้รับข่าวสารที่ผิดๆเกี่ยวกับยาวัคซีนแต่ละชนิดจากโซเซียลเน็ตเวิร์ค ส่งผลทำให้มีการติดตามแบบ เชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อภาระงาน และส่งผลต่อความครอบคลุมในการรับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ ทั้งนี้เพื่อให้เริ่มเกิดความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนที่ถูกต้องจึงเน้นในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลให้เพิ่มความครอบคลุมในการรับวัคซีนในอนาคต รวมไปถึงการป้องกันอัตราป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ จึงได้จัดโครงการรณรงค์และป้องกันโรคไอกรน ปี 2567 นี้ขึ้น
จากรายงานเด็กอายุครบ 0-2 ปีที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ในปีงบประมาณ 2567 ตำบลตันหยงลุโละ มีอัตราร้อยละ 13.64,22.22 และเมื่อประเมิน “การได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์” รายบุคคลพบว่า จากเด็กที่ได้รับการประเมิน ทั้งหมด 141 คน ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ แค่ 19 คน คิดเป็นร้อยละ 13.47 จากข้อมูลข้างต้นที่ครอบคลุม จะเห็นได้ว่า เด็กในตำบลตันหยงลุโละมีปัญหาเรื่องการไม่รับวัคซีน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแล ส่งเสริม ป้องกันในเรื่องดังกล่าว โดยตำบลตันหยงลุโละ ณ วันที่ 12 ธันวาคม2566มีเด็กที่เป็นเป้าหมาย ทั้งหมด 141 คน ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และป้องกันโรคไอกรนและดำเนินกิจกรรมสอดคล้องกับนโยบายสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี เพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชน และเพิ่มศักยภาพของทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน และผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กในตำบลตันหยงลุโละมีสุขภาพดี แข็งแรง ไม่เป็นโรคหรือเสียชีวิตด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
อย่างไรก็ตามแม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ระดับภาคและเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10 ที่กำหนดไว้ว่า ภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ได้เล็งเห็นความสำคัญของนโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กไทยอายุ 0-5 ปี ทุกคน ที่ต้องได้รับให้ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนแก่เด็กนั้นเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรง ปลอดจากโรค ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาด้านความคิดและการเรียนรู้ของเด็ก ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการ โดยสิ่งสำคัญคือการจัดบริการด้วยความสะดวก ปลอดภัย และต้องให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในป้องกันการเกิดอัตราป่วย อัตราตาย และการระบาดในพื้นที่ด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน อาทิเช่น โรคหัด โรคคอตีบ โรคไอกรน เป็นต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมากขึ้น

ร้อยละ 90 ประชาชนมีความตระหนักรู้ เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบชุดตามเกณฑ์

0.00
2 เพื่อให้เด็กอายุ 0 – 5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบชุดตามเกณฑ์อายุ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็กและผู้ดูแลเด็ก 60
เด็กอายุ 0-5 ปี 200

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์และประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์และประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลรณรงค์ (ขนาด 1*3 เมตร) จำนวน 3 ผืน x 750  บาท  เป็นเงิน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2250.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประชาสัมพันธ์ กลุ่มผู้นำ อสม. และผู้ปกครองเด็ก จำนวน 60 คน (หมู่ละ 20 คน)

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประชาสัมพันธ์ กลุ่มผู้นำ อสม. และผู้ปกครองเด็ก จำนวน 60 คน (หมู่ละ 20 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บาท x 1 มื้อ x 60 คน  (หมู่ละ 20 คน) เป็นเงิน 1,500  บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน  เป็นเงิน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2250.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้กลุ่มผู้ปกครองเด็กและผู้ดูแลเด็กจำนวน 72 คน (หมู่ละ 24 คน)

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กลุ่มผู้ปกครองเด็กและผู้ดูแลเด็กจำนวน 72 คน (หมู่ละ 24 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 72 คน (หมู่ละ 24 คน) เป็นเงิน  3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 1 มื้อ x 72 คน (หมู่ละ 24 คน) เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 3 ชั่วโมง x 600 บาท  เป็นเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตาม/เยี่ยมบ้านโดยทีมตำบลกรณีวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ จำนวน 15 คน (หมู่ละ 5 คน)

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม/เยี่ยมบ้านโดยทีมตำบลกรณีวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ จำนวน 15 คน (หมู่ละ 5 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บาท x 1 มื้อ x 4 ครั้ง x 15 คน  (หมู่ละ 5 คน)  เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กตำบลตันหยงลุโละได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 90
2. เด็กที่ขาดวัคซีนได้รับการเยี่ยมบ้าน/ติดตาม


>