กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ รหัส กปท. L3012

อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ตำบลตันหยงลุโละ ปีงบประมาณ 2567
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ
3.
หลักการและเหตุผล

ขณะนี้พบการแพร่ระบาดของโรคไอกรนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น โดยที่จังหวัดปัตตานีข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. - 19 ธ.ค. 66 พบผู้ป่วยเข้านิยามโรคไอกรนทั้งหมด จำนวน 126 ราย เป็นผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 126 ราย อัตราป่วย 0.126 ต่อแสนประชากร เป็นผู้ป่วยเข้าข่าย จำนวน 16 ราย และเป็นผู้ป่วยสงสัย จำนวน 15 ราย พบผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 2 ราย เป็นเด็กทารกอายุ 18 วันมีภูมิลำเนา ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เสียชีวิตจากภาวะปอดอักเสบขณะรักษาตัวที่โรงพยาบาลปัตตานี ติดมาจากครอบครัวขณะนี้รักษาผู้ป่วยในครอบครัวหมดแล้ว ปัจจุบันพบผู้ป่วยกระจายตัวอยู่ใน 12 อำเภอ คือ อำเภอเมืองปัตตานี 29 ราย,อำเภอโคกโพธิ์ 3 ราย,อำเภอหนองจิก 7 ราย,อำเภอปะนาเระ 5 ราย,อำเภอมายอ 9 ราย,อำเภอทุ่งยางแดง 12 ราย,อำเภอสายบุรี 6 ราย,อำเภอไม้แก่น 6 ราย,อำเภอยะหริ่งทั้งนี้ยังมีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในหลายอำเภอโดยไม่มีความเชื่อมโยงกัน ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลตันหยงลุโละ จึงมีความประสงค์จะจัดทำโครงการรณรงค์และป้องกันโรคไอกรน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไอกรน เป็นแนวทางในการป้องกันโรคและสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ในกรณีเกิดโรคไอกรน และสามารถป้องกันเพื่อไม่ให้เชื้อติดต่อ ไปสู่บุคคลอื่น โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ และเกิดอาการไอ ที่มีลักษณะพิเศษคือ ไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้นจนเด็กหายใจไม่ทัน จึงหยุดไอและมีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียง วู๊ป (Whooping cough) สลับกันไปกับการไอเป็นชุดๆ จึงมีชื่อเรียกว่า “โรคไอกรน” บางครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน โรคไอกรนเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม รดกันโดยตรง ผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะติดเชื้อและเกิดโรคเกือบทุกราย โรคนี้พบได้บ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัว ซึ่งมีการติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ (carrier) หรือมีอาการไม่มาก โรคไอกรนเป็นได้กับทารกตั้งแต่เดือนแรก ทั้งนี้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านมายังลูกไม่ได้หรือได้น้อยมาก ในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราตายสูง ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีและเป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน โดยทั่วไปแล้ว โรคนี้เป็นได้ทุกอายุ ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่ในวัยหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่อาจไม่มีอาการ หรือไม่มีอาการแบบไอกรนส่วนใหญ่จึงไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน ในประเทศไทยอุบัติการณ์ของโรคไอกรนลดลง ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มระดับความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก อย่างไรก็ดียังพบโรคนี้ได้ประปรายในชนบท และพบในเด็กอายุเกิน 5 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน พบการระบาดเป็นครั้งคราวในเด็กนักเรียนชั้นประถม ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 6-20 วัน จากสถานการณ์โรคไอกรนพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง กรณีระบาด ปี 2556 พบผู้ป่วยยืนยันทั้งหมด จำนวน 324 คน โดยจังหวัดที่พบผู้ป่วยมาที่สุด คือ จังหวัดปัตตานี จำนวน 194 คน รองลงมา จังหวัดนราธิวาส จำนวน 76 คน จังหวัดยะลา จำนวน 52 คน และจังหวัดสงขลา จำนวน 2 คน ตามลำดับ เปอร์เซ็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุด คือ จังหวัดนราธวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี คิดเป็นร้อยละ 2.63, 1.92, 1.03 ตามลำดับ สาเหตุที่มีผู้ป่วยเกิดโรคไอกรนพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เนื่องจากเด็กที่อายุ แรกเกิด-4 ปี ไม่ได้รับวัคซีนตามเกนฑ์อายุที่ควรจะได้รับวัคซีน จากสถานการณ์โรคไอกรน (ข้อมูลตั้งแต่ 1 กันยายน 2566 ถึง วันที่ 15 มกราคม 2567) ที่พบบ่อย 7-10 วัน ถ้าสัมผัสโรคมาเกิน 3 สัปดาห์แล้วไม่มีอาการ แสดงว่าไม่ติดโรค ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคไอกรนในระบบรายงานสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 จำนวน 93 ราย เสียชีวิต 1 ราย สำหรับเขตสุขภาพที่ 12 พบผู้ป่วยยืนยัน 81 ราย แบ่งเป็น ปัตตานี 54 ราย นราธิวาส 25 ราย และตรัง 2 ราย เสียชีวิต 1 ราย ใน จ.ปัตตานี กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ ต่ำกว่า 1 ปี ร้อยละ 54.70 และอายุ 1-4 ปี ร้อยละ 11.50 โดยพบว่าผู้ป่วยไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคไอกรนและฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ซึ่งจากปัญหาการระบาดของโรคไอกรนข้างต้นสามารถอธิบายได้ว่า จังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่เสี่ยงที่อาจจะเกิดการระบาดของโรคไอกรนได้ เนื่องจากอำเภอใกล้เคียงที่ติดกับจังหวัดปัตตานี มีผู้ป่วยติดเชื้อแล้ว จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ ในปี 2566รพ.สต. ตันหยงลุโละ มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 297 คน ซึ่งมีเด็กที่ต้องได้รับวัคซีนให้มีความครอบคลุมตามเกณฑ์ อายุทั้ง 4 ไตรมาส จำนวน 50 คน แยกเป็น เด็กอายุครบ 1 ปี, 2 ปี, 3 ปี และ 5 ปี จำนวน 10 คน, 12 คน, 7 คน และ21 คน ตามลำดับ เด็กที่มารับวัคซีนตากเกณฑ์อายุ คิดเป็นร้อยละ 14.71 , 17.39 , 8.97 และ 25.61ตามลำดับ
จากการจัดบริการคลินิกเด็กดี 4 ครั้งต่อเดือน มีการนัดเด็กอายุ 0-5 ปี ประมาณเดือนละ 15 - 20 คน แต่ยังพบอัตราการมารับวัคซีนไม่ตรงตามนัด 120 ครั้งต่อปีเฉลี่ยเดือนละ 10 ครั้ง ซึ่งเสี่ยงต่อการรับวัคซีนไม่ตรงตามเกณฑ์อายุ และไม่ครบตามความครอบคลุม ซึ่งจากการสำรวจพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่ผู้ปกครองยังไม่ตระหนัก ไม่เข้าใจถึงการระบาด และความรุนแรงของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน รวมไปถึงการได้รับข่าวสารที่ผิดๆเกี่ยวกับยาวัคซีนแต่ละชนิดจากโซเซียลเน็ตเวิร์ค ส่งผลทำให้มีการติดตามแบบ เชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อภาระงาน และส่งผลต่อความครอบคลุมในการรับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ ทั้งนี้เพื่อให้เริ่มเกิดความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนที่ถูกต้องจึงเน้นในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลให้เพิ่มความครอบคลุมในการรับวัคซีนในอนาคต รวมไปถึงการป้องกันอัตราป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ จึงได้จัดโครงการรณรงค์และป้องกันโรคไอกรน ปี 2567 นี้ขึ้น จากรายงานเด็กอายุครบ 0-2 ปีที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ในปีงบประมาณ 2567 ตำบลตันหยงลุโละ มีอัตราร้อยละ 13.64,22.22 และเมื่อประเมิน “การได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์” รายบุคคลพบว่า จากเด็กที่ได้รับการประเมิน ทั้งหมด 141 คน ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ แค่ 19 คน คิดเป็นร้อยละ 13.47 จากข้อมูลข้างต้นที่ครอบคลุม จะเห็นได้ว่า เด็กในตำบลตันหยงลุโละมีปัญหาเรื่องการไม่รับวัคซีน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแล ส่งเสริม ป้องกันในเรื่องดังกล่าว โดยตำบลตันหยงลุโละ ณ วันที่ 12 ธันวาคม2566มีเด็กที่เป็นเป้าหมาย ทั้งหมด 141 คน ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และป้องกันโรคไอกรนและดำเนินกิจกรรมสอดคล้องกับนโยบายสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี เพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชน และเพิ่มศักยภาพของทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน และผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กในตำบลตันหยงลุโละมีสุขภาพดี แข็งแรง ไม่เป็นโรคหรือเสียชีวิตด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
อย่างไรก็ตามแม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ระดับภาคและเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10 ที่กำหนดไว้ว่า ภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ได้เล็งเห็นความสำคัญของนโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กไทยอายุ 0-5 ปี ทุกคน ที่ต้องได้รับให้ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนแก่เด็กนั้นเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรง ปลอดจากโรค ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาด้านความคิดและการเรียนรู้ของเด็ก ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการ โดยสิ่งสำคัญคือการจัดบริการด้วยความสะดวก ปลอดภัย และต้องให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในป้องกันการเกิดอัตราป่วย อัตราตาย และการระบาดในพื้นที่ด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน อาทิเช่น โรคหัด โรคคอตีบ โรคไอกรน เป็นต้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมากขึ้น
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ประชาชนมีความตระหนักรู้ เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบชุดตามเกณฑ์
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อให้เด็กอายุ 0 – 5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
    ตัวชี้วัด : เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบชุดตามเกณฑ์อายุ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. รณรงค์และประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
    รายละเอียด
    • ค่าป้ายไวนิลรณรงค์ (ขนาด 1*3 เมตร) จำนวน 3 ผืน x 750  บาท  เป็นเงิน 750 บาท
    งบประมาณ 2,250.00 บาท
  • 2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประชาสัมพันธ์ กลุ่มผู้นำ อสม. และผู้ปกครองเด็ก จำนวน 60 คน (หมู่ละ 20 คน)
    รายละเอียด
    • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บาท x 1 มื้อ x 60 คน  (หมู่ละ 20 คน) เป็นเงิน 1,500  บาท
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน  เป็นเงิน 750 บาท
    งบประมาณ 2,250.00 บาท
  • 3. อบรมให้ความรู้กลุ่มผู้ปกครองเด็กและผู้ดูแลเด็กจำนวน 72 คน (หมู่ละ 24 คน)
    รายละเอียด
    • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 72 คน (หมู่ละ 24 คน) เป็นเงิน  3,600 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 1 มื้อ x 72 คน (หมู่ละ 24 คน) เป็นเงิน 3,600 บาท
    • ค่าสมนาคุณวิทยากร 3 ชั่วโมง x 600 บาท  เป็นเงิน 1,800 บาท
    งบประมาณ 9,000.00 บาท
  • 4. ติดตาม/เยี่ยมบ้านโดยทีมตำบลกรณีวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ จำนวน 15 คน (หมู่ละ 5 คน)
    รายละเอียด
    • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บาท x 1 มื้อ x 4 ครั้ง x 15 คน  (หมู่ละ 5 คน)  เป็นเงิน 1,500 บาท
    งบประมาณ 1,500.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลตันหยงลุโละ

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 15,000.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. เด็กตำบลตันหยงลุโละได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 90
    1. เด็กที่ขาดวัคซีนได้รับการเยี่ยมบ้าน/ติดตาม
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ รหัส กปท. L3012

อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ รหัส กปท. L3012

อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 15,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................