กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโล๊ะหะลอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตลาดนัดสุขภาพตำบลตะโละหะลอปี2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโล๊ะหะลอ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละหะลอ

1.นางนาปีสะ เซะบากอ
2.นางหามีด๊ะ อาแว
3.นางซอบารียะ ยูโซ๊ะ
4.นางซารีพ๊ะ สาและดิง
5.นายอภินันท์ ซา

ตำบลตะโละหะลอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและรอบด้านได้ส่งผลให้เกิดกระแสการบริโภคนิยม วัตถุนิยม และการดำเนินชีวิตที่ขาดความตระหนักถึงผลเสียที่ทำให้เกิดการบั่นทอนสุขภาพและเกิดภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย

 

50.00
2 จากสถานการณ์การเกิดโรคจากวิถีชีวิตที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมและขาดความสมดุลโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองและโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด

 

50.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญในการสร้างสุขภาพที่ดีของประชาชนในพื้นที่

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ด้านสุขภาพร้อยละ60

50.00 60.00
2 เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ที่ถูกต้อง และเกิดทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว ให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

1.กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ60 2.กลุ่มเป้าหมายเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส ร้อยละ60

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 29/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1 ประชุมคณะทำงาน(ครั้งที่1แบ่งบทบาทหน้าที่) (ครั้งที่2 สรุปผลการดำเนินงาน)

ชื่อกิจกรรม
1 ประชุมคณะทำงาน(ครั้งที่1แบ่งบทบาทหน้าที่) (ครั้งที่2 สรุปผลการดำเนินงาน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ประชุมคณะทำงาน
ค่าอาหาร 30 คน x 50 บาท x2 ครั้งเป็นเงิน 3,000 บาท ค่าอาหารว่าง 30 คน x 30 บาท x 2มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ชัดเจน 2.เกิดแผนการดำเนินงานอย่างน้อย1แผน 3.มีผู้เข้าร่วมประชุมอย่างน้อย30 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 2 2 มหกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
2 มหกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มหกรรมสุขภาพ ค่าอาหาร 170 คน x 50 บาท x1วัน เป็นเงิน 8,500 บาท ค่าอาหารว่าง 170คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,250 บาท ค่าวิทยากร 1,000 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ ค่าอุปกรณ์สาธิตกีฬาพื้นบ้าน 2,000 บาท ค่าจัดซุ้มเพื่อสุขภาพ 1,000 บาท x 6 ซุ้ม เป็นเงิน 6,000 บาท ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 3 x 9 เมตร เป็นเงิน 2700 บาท ค่าเช่าเครื่องเสียง 5500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 กรกฎาคม 2567 ถึง 29 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม170คน 2.กลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างน้อยร้อยละ80 3.กลุ่มเป้าหมายสามารถแนะนำบุคคลในครอบครัวในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพได้ร้อยละ70 4..กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก3อ2สร้อยละ50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพและการตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
2.ประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องและเกิดทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว ให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
3.ประชาชนรู้จักการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบตัว(ปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี)ไม่ให้เกิดมลพิษและสร้างสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ เพื่อให้ปราศจากพาหะนำโรค
4.ประชาชนสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างพฤติกรรมที่ดีในชุมชน


>