กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาอาการคัน หมู่ที่ 1 - 4 และหมู่ที่ 8 ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาอาการคัน หมู่ที่ 1 - 4 และหมู่ที่ 8 ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ

หมู่ที่ 1 - 4 และหมู่ที่ 8

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาการคัน (Pruritus) เป็นกลุ่มอาการทางผิวหนังที่พบได้บ่อย และมักนำไปสู่การแกะเกา โดยผู้ป่วยที่มีอาการคันอาจมีผื่นผิวหนังร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ อาการคันอาจเป็นเพียงเฉพาะที่หรือเป็นทั่วทั้งตัว และอาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ เช่น ทำให้เสียสมาธิ รบกวนการทำงาน การนอน หรือส่งผลเสียทางด้านจิตใจ ในผู้ป่วยที่มีการแกะเกามาก อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนบริเวณผิวหนังตามมาได้ด้วย ในปี พ.ศ.2566 พบผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอด้วยโรคผิวหนัง จำนวน 279 คน คิดเป็นร้อยละ 3.78
ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขได้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อหาวิธีการป้องกันและแก้ปัญหาในพื้นที่ เห็นว่าสบู่สมุนไพรก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถลดและแก้ปัญหาโรคผิวหนังของประชาชนได้ นอกจากสบู่สมุนไพรจะช่วยลดแบคทีเรีย ช่วยขจัดสิ่งสกปรกได้แล้วนั้น สบู่สมุนไพรยังสามารถช่วยลดอาการละคายเคืองที่เกิดจากการใช้สารเคมีได้อีกด้วย ทั้งนี้ให้ประชาชนที่เข้ารับการอบรมได้นำความรู้ไปเผยแพร่สู่ชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีปัญหาโรคผิวหนังลดลง

ประชาชนในพื้นที่มีปัญหาโรคผิวหนังลดลง ร้อยละ  20

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะประสบการณ์เกี่ยวกับการทำสบู่

ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการผลิตและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่อง สมุนไพร และปฏิบัติการทำผลิตภัณฑ์แก้คัน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่อง สมุนไพร และปฏิบัติการทำผลิตภัณฑ์แก้คัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดจ้างทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*2 เมตร ๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 700 บาท
  2. ค่าจ้างเหมาประกอบอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
  3. ค่าจัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ในการผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงกัด เช่น ภาชนะบรรจุภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ทำผลิตภัณฑ์ป้องกันยุง เป็นเงิน 5,350 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ขั้นตอนการผลิตและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวันได้
2. ประชาชนที่ได้รับการอบรมมีความรู้แพทย์แผนไทย สามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้


>