กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาอาการคัน หมู่ที่ 1 - 4 และหมู่ที่ 8 ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
รหัสโครงการ 67-L2476-2-025
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 7,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมาซนิง อาบ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาการคัน (Pruritus) เป็นกลุ่มอาการทางผิวหนังที่พบได้บ่อย และมักนำไปสู่การแกะเกา โดยผู้ป่วยที่มีอาการคันอาจมีผื่นผิวหนังร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ อาการคันอาจเป็นเพียงเฉพาะที่หรือเป็นทั่วทั้งตัว และอาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ เช่น ทำให้เสียสมาธิ รบกวนการทำงาน การนอน หรือส่งผลเสียทางด้านจิตใจ ในผู้ป่วยที่มีการแกะเกามาก อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนบริเวณผิวหนังตามมาได้ด้วย ในปี พ.ศ.2566 พบผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอด้วยโรคผิวหนัง จำนวน 279 คน คิดเป็นร้อยละ 3.78
ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขได้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อหาวิธีการป้องกันและแก้ปัญหาในพื้นที่ เห็นว่าสบู่สมุนไพรก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถลดและแก้ปัญหาโรคผิวหนังของประชาชนได้ นอกจากสบู่สมุนไพรจะช่วยลดแบคทีเรีย ช่วยขจัดสิ่งสกปรกได้แล้วนั้น สบู่สมุนไพรยังสามารถช่วยลดอาการละคายเคืองที่เกิดจากการใช้สารเคมีได้อีกด้วย ทั้งนี้ให้ประชาชนที่เข้ารับการอบรมได้นำความรู้ไปเผยแพร่สู่ชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีปัญหาโรคผิวหนังลดลง

ประชาชนในพื้นที่มีปัญหาโรคผิวหนังลดลง ร้อยละ  20

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะประสบการณ์เกี่ยวกับการทำสบู่

ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการผลิตและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7,300.00 1 7,300.00
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้เรื่อง สมุนไพร และปฏิบัติการทำผลิตภัณฑ์แก้คัน 0 7,300.00 7,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ขั้นตอนการผลิตและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวันได้
  2. ประชาชนที่ได้รับการอบรมมีความรู้แพทย์แผนไทย สามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2567 00:00 น.